สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย ขานรับนโยบายรัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่
สร้ายรายได้แบบยั่งยืน อัดฉีดเงินวิจัย ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก ไข่ผำ หรือ คาเวียร์มรกต ตอบโจทย์กระแสคนรักสุขภาพทั่วโลก
อาหารแห่งอนาคต (Future Food) เป็นแนวคิดในอุตสาหกรรมอาหารโลกที่มีความหลากหลาย ทั้งรูปลักษณ์และกระบวนการผลิต โดยมุ่งเน้นกระบวนการผลิตอาหารที่เหมาะสมกับโลกในระยะข้างหน้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดภาวะโลกร้อน และการสร้างระบบอาหารอย่างยั่งยืน
แนวคิดด้านสุขภาพและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันกลายเป็นประเด็นที่อุตสาหกรรมอาหารให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น
อันเป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่สร้างความตื่นตัวต่อการรักษาสุขภาพและสุขอนามัยทั่วโลก
การปรับเปลี่ยนของวิถีชีวิต ความต้องการ และการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้บริโภค
ล้วนส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอาหารและอาหารแห่งอนาคต
โดยผู้บริโภคให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ที่เสริมสารอาหารและโภชนาการ อาหารประเภท functional
ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อระบบย่อยและดูดซึมอาหาร สะท้อนจากมูลค่าตลาดของอาหารกลุ่มดังกล่าวที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง
ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า ภายหลังจาก สวก. ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงผลักดันและขับเคลื่อนพัฒนางานวิจัย
โดยการสนับสนุนทุนวิจัย 2
สถาบันการศึกษา คือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.ภญ.รัตติรส คนการณ์ โครงการ
ผลิตภัณฑ์เม็ดสารสกัดไข่น้ำเพื่อเสริมโปรตีนและกรดไขมันโอเมกา และ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร.วนิดา ปานอุทัย โครงการ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนเสริมสุขภาพจากผำเพื่อเพิ่มมูลค่าและศักยภาพการใช้ทรัพยากรชุมชน เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งพบว่า
ไข่ผำเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ไข่ผำจึงถูกยกให้เป็น Super
Food หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น Super ของ Super
เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนชั้นเยี่ยม เพราะกิน 1 ได้ประโยชน์ถึง 3 คือ ประโยชน์ที่ 1 มีโปรตีนสูง ประโยชน์ที่ 2 มีโอเมกา 3 และ 6 สูง และประโยชน์ที่ 3 มีคลอโรฟีลสูง
รศ.ดร.ภญ.รัตติรส
คนการณ์(หัวหน้าโครงการวิจัย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวเสริมถึง
คุณประโยชน์ในไข่ผำ ครั้งนี้ว่า ในไข่ผำพบกรดอะมิโนที่จำเป็นและไม่จำเป็นครบทุกชนิด
โดยกรดอะมิโนจำเป็นที่พบมากสุด 3 อันดับแรก
คือ ไลซีน ฟีนิลอะลานีน ลิวซีน (ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบประสาท)
และเมื่อมีการวิเคราะห์กรดไขมันของไข่ผำแห้งพบว่า
มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันอิ่มตัวประมาณ 2 เท่า
และยังพบกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายต้องการอีก 2 ชนิด คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6
ในปริมาณที่สูง ในงานวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการยกระดับวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านสู่การเป็นอาหารแห่งอนาคต “ไข่ผำ” สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน
ดร.วิชาญ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า
“ไข่ผำ” เป็น 1 ในพืชน้ำที่อยู่ในยุทธศาสตร์นโยบายการขับเคลื่อนใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในด้านอาหารแห่งอนาคต (Future
Food) เป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่มาแรงและถูกกล่าวถึงเป็นวงกว้าง ภาคอุตสาหกรรมอาหารต่างให้ความสนใจ
และยังได้พูดถึงตลาด Future Food ที่มีตัวเลขน่าสนใจไว้ด้วยว่า
เป็นอนาคตที่ดีของเกษตรกรและอุตสาหกรรมอาหาร เพราะจากข้อสรุปของงานวิจัยและแนวโน้มอนาคตการเติบโตด้านการตลาด
ของ Future Food โดยการส่งออกของไทย ปี 2564 มีมูลค่า 115,490 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7 % คิดเป็นสัดส่วน 10 %
ของการส่งออกอาหารในภาพรวม ส่วนช่วง 7 เดือนแรกปี 2565 มีมูลค่าส่งออก 95,592 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44 % สัดส่วน 12 % ของการส่งออกอาหารในภาพรวมของไทย
ช่วง 7 เดือนแรก ประกอบด้วย อาเซียน สัดส่วน 37 % สหรัฐฯ 18 % สหภาพยุโรป 11 % จีน
10.9 % และออสเตรเลีย 4 % ซึ่งคาดการณ์อัตราการเติบโตของอาหาร Future Food ในปี 2025 จะมีการเติบโตสูงถึง 51%
คุณจิรวัฒน์
จารุวัฒน์ภาคิน กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท เดอะ พอสสิเบิ้ล จำกัด
หนึ่งในผู้ประกอบการ กล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ว่า
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรองรับจากผลงานวิจัยทำให้สามารถสร้างตัวตนทางการตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค เช่นงานวิจัยไข่ผำ
ที่ตนสามารถต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โปรตีนชงพร้อมดื่มจากผำซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มรักสุขภาพ
/ กลุ่มผู้สูงอายุ / กลุ่มผู้ป่วยพักฟื้น ที่ต้องการเสริมโปรตีนที่เป็น Vegan
หรือ Plant Based “ไข่ผำ” ถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก
และคาดว่าในปีนี้จะสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์เติบโตได้ถึง 10% และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า
สวก.ยังมีงานวิจัยต่างๆ ที่ภาคเอกชนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี
ทั้งเรื่องของพืชผัก พืชไร่ สมุนไพร ข้าว ประมง หรือปศุสัตว์ ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนเกษตรกรให้เพาะเลี้ยงผำคุณภาพสูงโดยการทำ
Contact Farming กับเกษตรกรผู้ผลิตอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นงานวิจัยที่มีการเชื่อมโยงผู้ผลิตวัตถุดิบต้นทางเติบโตไปด้วยกัน
“ไข่ผำ” จึงถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพ
โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่ยังเข้าไม่ถึงแหล่งโปรตีน สวก. เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้ จึงได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยังผู้ประกอบการในระดับ
SME ซึ่งได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์จากไข่ผำในงาน THAIFEX– Anuga Asia 2023 ระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ
ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค
เมืองทองธานี
งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก
“ไข่ผำ” พืชน้ำโปรตีนสูง
หรือ Super Food แนวคิดเรื่องอาหารด้านสุขภาพและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
อุตสาหกรรมอาหารสำคัญ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคการเกษตรของประเทศ
สู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ความต้องการ และการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้บริโภค ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอาหารและอาหารแห่งอนาคต
สามารถสร้างรายที่ยั่งยืนให้เกษตรกร
ตามแนวคิดของ สวก.
ที่สนับสนุนการสร้างมูลค่าอาหารด้วยงานวิจัย...สร้างโอกาสใหม่ในตลาดโลก
สนใจสามารถติดตามข่าวสาร
ผลงานวิจัย เพื่อเศรษฐกิจ
และการพัฒนา หรือขอรับทุนวิจัยได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
(องค์การมหาชน) หรือ สวก. https://www.arda.or.th/ ช่องทางการติดต่อเพิ่มเติม เฟซบุคแฟนเพจ : www.facebook.com/ardathai
www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
Youtube : www.youtube.com/@ardathailand
บล็อกองค์ความรู้ด้านการเกษตรอย่างง่าย
ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย: http://blog.arda.or.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น