วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

ซีพีเอฟเดินหน้าพิทักษ์สิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล ดูแลพนักงานปลอดภัยจากโควิด-19



     บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  รุกสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพและ     อาชีวอนามัย รวมทั้งสิทธิมนุษยชนของพนักงานในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานทุกคน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตอาหารปลอดภัย และร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหาร  

    นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจด้วยหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการเคารพในสิทธิมนุษยชนในทุกระดับ ดำเนินงานตามหลักสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซีพีเอฟได้ยกระดับมาตรการป้องกันโรคในระดับสูงสุดมาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานอย่างเต็มที่ ไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยตระหนักดีว่า พนักงานทุกคนเป็นฟันเฟืองสำคัญของบริษัทในการผลิตอาหารคุณภาพปลอดภัยได้โดยไม่หยุดชะงัก จึงระดมทุกสรรพกำลังในการสื่อสารผ่านสื่อทุกรูปแบบและทุกช่องทางให้พนักงานทุกคนได้เข้าถึงและเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มาตรการและแนวปฏิบัติในการป้องกันโรค รวมถึงการดูแลสุขภาพตนเองมาอย่างต่อเนื่อง



   ล่าสุด ซีพีเอฟ ได้จัดทำบทเรียนออนไลน์ เป็นภาษาต่างๆ รวมทั้งกัมพูชา และเมียนมาเกี่ยวกับการระบาด      โควิด-19 เพื่อเสริมความรู้พนักงานทุกคน ได้เข้าใจถึงสถานการณ์ แนวปฏิบัติตนในการป้องกัน รวมถึงมาตรการต่างๆ ของบริษัทเพื่อให้มั่นใจกับพนักงานว่าบริษัทฯ ให้ความสำคัญและยกระดับมาตรการป้องกันโรคในระดับสูงสุด เพื่อให้พนักงานทุกคนได้ทำงานและใช้ชีวิตปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี กระตุ้นให้พนักงานทุกคนเฝ้าระวัง ช่วยเหลือและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่รู้ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรหากเกิดความเสี่ยง 

    “ซีพีเอฟได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยา ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้คำแนะนำรวมถึงแนวปฏิบัติในการป้องโรค และให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน โดยแปลเป็นภาษาต่างๆ ให้ครอบคลุมพนักงานทุกคน ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของซีพีเอฟในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการผดุงสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังตลอดเวลา” นางสาวพิมลรัตน์กล่าว 



    ซีพีเอฟ ร่วมมือกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (มูลนิธิ LPN) คอยให้ความช่วยเหลือพนักงานทุกคน โดยเฉพาะพนักงานที่เป็นชาวกัมพูชาและชาวเมียนมาได้สอบถามหรือเสนอแนะผ่าน ศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ รับสายได้ทุกภาษาไม่ว่าไทย เมียนมา และกัมพูชา ขณะเดียวกัน มูลนิธิ LPN ยังร่วมกับซีพีเอฟ เดินหน้าจัดอบรมในหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยพื้นฐานให้แก่พนักงานในสถานประกอบการซีพีเอฟทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยในปีนี้มูลนิธิฯ จะจัดอบรมในรูปแบบการอบรมออนไลน์ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรค โดยมีการเพิ่มข้อมูลข่าวสารและส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน

    ทั้งนี้ มูลนิธิ LPN ยังได้สื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางสื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์  ให้ความรู้และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ แก่กลุ่มพี่น้องแรงงานต่างชาติ เผยแพร่ด้วยภาษากัมพูชา และภาษาเมียนมา เพื่อให้ทั้งแรงงานต่างชาติในประเทศไทยและครอบครัวแรงงานที่อยู่ในต่างประเทศเข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย รวมถึงมาตรการดูแลพนักงานของบริษัทเอกชนของไทย เป็นช่องทางเสริมที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับแรงงานต่างชาติและครอบครัว 

    ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ซีพีเอฟ ได้เดินหน้าส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงอาหารคุณภาพและปลอดภัยกับแรงงานต่างชาติที่เป็นพนักงานของบริษัททุกคน โดยสนับสนุนอาหารให้แก่เพื่อนพนักงานที่ต้องเฝ้าระวัง พนักงานต่างชาติที่ให้ความร่วมมืออยู่ในสถานที่พักไม่เดินทางกลับต่างประเทศ เป็นต้น และร่วมมอบอาหารพร้อมทานและอาหารให้แก่มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ภายใต้ “โครงการ CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19”เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องแรงงานต่างชาติที่ต้องหยุดงานและกักตัวในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมสนับสนุนการควบคุมการแพร่ระบาดโควิดในระลอกที่ผ่านมาอีกด้วย./

 

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564

“กรมปศุสัตว์ย้ำชัดไทยปลอด ASF มั่นใจระบบป้องกันโรคแกร่ง คาดส่งออกหมูปีนี้โตต่อเนื่อง”


 

นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ในสุกร ที่เริ่มต้นจากประเทศจีนเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินมาตรการป้องกันในทันที โดยสั่งการให้กองสารวัตรและกักกันเข้มงวดตรวจสอบการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากจีนและประเทศในกลุ่มเสี่ยง อาทิ เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า ฯลฯ ด้วยการตรวจตลอด 24 ชั่วโมง ทางด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยาน ท่าเรือ และชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน กัมพูชา สปป.ลาว พม่า มาเลเซีย ให้กำลังพลเจ้าหน้าที่สลับสับเปลี่ยนกันจากทั่วประเทศ สินค้าส่วนใหญ่ที่จากการตรวจสอบอย่างเข้มงวด พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ติดมากับสัมภาระ (Hand carry) ขณะเดียวกันกรมฯยังเดินหน้ามาตรการเชิงรุกเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในฟาร์มเลี้ยงสุกรทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้การขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมระดมกำลังความสามารถของผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ นักวิชาการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงความร่วมมือจากเกษตรกรทุกคน ทำให้ไทยยังคงสถานะ ประเทศปลอดโรค ASF” ได้อย่างเข้มแข็ง



อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีการปล่อยข่าวหมูไทยเป็นโรค ASF โดยเฉพาะในพื้นที่ติดกับประเทศกัมพูชา เพื่อหวังกดราคาหมูให้ต่ำลง ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว พบว่าเป็นการพบเชื้อ ASF จากหมูที่ลักลอบนำเข้า ซึ่งไม่ใช่หมูจากประเทศไทย ทางฝ่ายไทยยืนยันกับหน่วยงานสุขภาพสัตว์และการผลิตราชอาณาจักรกัมพูชา (GDAHP) ว่ายังไม่มีการแพร่เชื้อนี้ในไทย พร้อมอธิบายแนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังโรค ASF ที่ดำเนินการอย่างเข้มงวดมาอย่างต่อเนื่องตลอดเกือบ 3 ปี ส่งผลให้ยอดส่งออกหมูมีชีวิตเพิ่มขึ้น 340% โดยเฉพาะกัมพูชาซึ่งเดิมเป็นตลาดส่งออกสุกรมีชีวิตอันดับ 1 ของไทย มีหมูที่ส่งออกไปกัมพูชากว่า 58% ทำให้ทางการกัมพูชาได้ผ่อนปรนให้ผู้ส่งออกไทยสามารถส่งหมูไปเพิ่มอีก 6 ราย จากเดิม 5 ราย รวมทั้งหมดเป็น 11 ราย โดยไม่มีการจำกัดปริมาณโควตาแล้ว คาดว่าการส่งออกหมูปีนี้โตต่อเนื่อง และจะเป็นปีทองของผู้เลี้ยงอีกปีหนึ่ง



"กรมปศุสัตว์ย้ำว่า แม้ไทยจะปลอดจาก ASF แต่ยังคงเพิ่มมาตรการคุมเข้ม ASF เหมือนกับการคุมโควิด-19 มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่ มียุทธศาสตร์หมูสะอาด การเดินหน้ามาตรฐานจุดจำหน่ายสินค้า "ปศุสัตว์ OK" ที่กระจายกว่า 7,000 จุดทั่วไทย ที่สำคัญจากการเก็บตัวอย่างสินค้าปศุสัตว์ในสถานที่จำหน่ายทั่วประเทศมาตรวจสอบ กว่า 1,500 ตัวอย่าง ผลปรากฎว่า ยังไม่มีสินค้าปศุสัตว์ใดที่ให้ผลโควิดเป็นบวก จึงขอให้ผู้บริโภคมั่นใจว่ากรมปศุสัตว์ได้ตรวจสอบตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงสถานที่จำหน่ายก่อนถึงมือผู้บริโภค ทั้งสินค้าหมู ไก่ เป็ด ไข่ เนื้อโค และแนะนำให้เลือกซื้อจากผู้ผลิตมาตรฐาน ได้รับรองจากกรมปศุสัตว์ และต้องรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เท่านั้น ไม่ทานอาหารสุกๆดิบๆ" อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

ทั้งนี้ การส่งออกหมูมีชีวิต จากข้อมูลของกรมปศุสัตว์ พบว่าในปี 2563 ไทยรวม 2.45 ล้านตัว มูลค่า 16,814 ล้านบาท โดยตลาดกัมพูชาอันดับ 1 ปริมาณ 1.49 ล้านตัว มูลค่า 9,856 ล้านบาท ส่วนการส่งออกสุกรแช่แข็งและแปรรูป ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ในปี 2563 มีมูลค่า 3,420 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 265% จากปี 2562 โดยมีตลาดฮ่องกง เป็นตลาดอันดับ 1 มูลค่า 3,246 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 356% และกัมพูชาเป็นอันดับ 2 มูลค่า 59.91 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 259%

วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2564

รพ.สนาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบอาหารจากใจซีพีเอฟ เสริมเสบียงแพทย์-พยาบาล ต้านภัยโควิด



      บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าเสริมเสบียงอาหารแก่แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ล่าสุดมอบอาหารพร้อมทานและน้ำดื่ม แก่โรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นกำลังใจในการปฎิบัติหน้าที่และลดภาระการจัดเตรียมอาหารแก่บุคลากรทางการแพทย์



       รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า โรงพยาบาลสนาม ม.แม่โจ้ จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้สงสัย และผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีเตียงรองรับผู้ป่วย 420 เตียง ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้าพักกว่า 300 ราย ขณะเดียวกันยังมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยประมาณ 100 คนต่อวัน สิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากในการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรและการดูแลผู้ป่วย คืออาหารและน้ำดื่ม ซึ่งที่ผ่านมามีภาคเอกชน ภาคประชาชน ที่มอบผลิตภัณฑ์อาหารให้กับโรงพยาบาลสนามฯ โดยเฉพาะวันนี้ซีพีเอฟที่ถือเป็นพันธมิตรทางด้านวิชาการอยู่แล้ว ในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ที่นำเอาความเชี่ยวชาญของบริษัทในการผลิตและกระจายอาหารปลอดภัย มาช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤติเช่นนี้ ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนภาระกิจของมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีกครั้ง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยได้รับประทานอาหารมาตรฐานคุณภาพปลอดภัยอย่างเพียงพอ และ



       “ขอขอบคุณซีพีเอฟ ที่เล็งเห็นความตั้งใจของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลพี่น้องประชาชนในยามวิกฤติเช่นนี้ การที่บริษัทมอบทั้งอาหารพร้อมทานและน้ำดื่มในครั้งนี้ ช่วยลดระยะเวลาในการจัดหาอาหารสำหรับทุกคนได้เป็นอย่างดี ทำให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สามารถทุ่มเทเวลาในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ และทุกคนยังมั่นใจว่าอาหารที่รับประทานนั้นมีคุณภาพมาตรฐานอย่างแน่นอน” อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าว



        ด้าน นายสุรชัย ศิริจรรยา รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟยังคงยืนหยัดส่งมอบอาหารปลอดภัยเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เมื่อปี 2563 จนถึงปัจจุบัน สำหรับการระบาดระลอกใหม่นี้ บริษัทได้สนับสนุนอาหารพร้อมทานให้แก่ รพ.สนามเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ บางบอน), ศูนย์เอราวัณ, รพ.สนามธรรมศาสตร์, รพ.สนาม จ.นนทบุรี, รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รพ.วังน้อย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา, รพ.ค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และล่าสุด รพ.สนาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมมอบอาหารพร้อมทานกว่า 20,000 แพ็ค และน้ำดื่ม 6,000 ขวด นอกจากนี้ ยังสนับสนุนวัตถุดิบจาก CPF ได้แก่ เนื้อหมูสด เนื้อไก่สด ไข่ไก่ น้ำดื่ม และข้าวสาร สำหรับปรุงเป็นอาหารพร้อมทาน ให้แก่ รพ.สนามในต่างจังหวัด อาทิ จ.นครราชสีมา, จ.สระบุรี, จ.ลำพูน, จ.สมุทรปราการ และวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร



      “บริษัทยึดถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้วยความเคร่งครัดมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดห่วงโซ่การผลิตมีการเข้มงวดทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัยอาหารในระดับสูงสุด ทำให้มั่นใจได้ว่าสามารถส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่พี่น้องประชาชนได้อย่างเพียงพอในทุกวิกฤติ และซีพีเอฟยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการดูแลทีมแพทย์พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ที่เสียสละดูแลประชาชนในห้วงวิกฤตินี้อย่างเต็มที่ โดยหวังว่าอาหารที่บริษัทส่งมอบนี้จะเป็นเสบียงเติมเต็มพลังกาย พลังใจให้กับทุกท่าน ได้มีกำลังใจในการปฏิบัติงานเพื่อคนไทยต่อไป” นายสุรชัย กล่าว 

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

รพ.ค่ายธนะรัชต์ ประจวบคีรีขันธ์ ปลื้มซีพีเอฟ ส่งอาหารจากใจเติมพลังแพทย์-พยาบาล สู้ภัยโควิด



      พ.อ.นพ. วรินทร ทานาค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ รับมอบอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” จาก นายวิระชาติ แก้วสวนจิก ผู้แทน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เพื่อเป็นเสบียงเสริมกำลังให้กับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19  



      พ.อ.นพ. วรินทร ทานาค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 20 19 ที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในปัจจุบัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 รวมถึงมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่อยู่ในกระบวนการเฝ้าระวังสังเกตอาการ และรอผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการอีกเป็นจำนวนมาก โดยจังหวัดฯจึงจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นเพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อฯในจังหวัด ซึ่งการก่อตั้งโรงพยาบาลสนาม รพ.ค่ายธนะรัชต์ เพื่อเปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยติดเชื้่อฯ สำเร็จได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่ายทั้งกองทัพบก ภาคประชาชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน  



     “วันนี้โรงพยาบาลสนาม รพ.ค่ายธนะรัชต์ ได้รับการสนับสนุนอาหารพร้อมทานจากซีพีเอฟ ที่ส่งความห่วงใยให้ทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรของโรงพยาบาล ตลอดจนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ ได้บริโภคอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ สามารถทุ่มเทเวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วงการควบคุมการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่นี้ได้อย่างเต็มกำลัง ขอขอบคุณซีพีเอฟที่ร่วมเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์มาโดยตลอด" ผู้อำนวยการ รพ.ค่ายธนะรัชต์ กล่าว 



      ด้าน นายวิระชาติ แก้วสวนจิก ผู้แทน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ได้ยึดปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้วยความเคร่งครัดมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเข้มงวดกับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้มั่นใจได้ว่าสามารถส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่พี่น้องประชาชนได้อย่างเพียงพอในทุกวิกฤติ ขณะเดียวกัน บริษัทได้ร่วมส่งมอบอาหารปลอดภัยให้ทีมแพทย์และพยาบาลมาตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อปี 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยนำความเชี่ยวชาญของบริษัท ในการผลิตและกระจายอาหารปลอดภัย มาช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤติเช่นนี้ 

      "ซีพีเอฟ ยังคงยืนหยัดส่งมอบอาหารปลอดภัยเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่ถือเป็นด่านหน้า เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการจัดเตรียมอาหาร และเสริมกำลังให้กับบุคลากรทุกท่านที่เสียสละตนเองทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ได้บริโภคอาหารอย่างเพียงพอ บริษัทขอร่วมเป็นกำลังหนุนภาครัฐบาลต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ได้อย่างเต็มที่" นายวิระชาติ กล่าว 

      ก่อนหน้านี้ ซีพีเอฟได้สนับสนุนอาหารให้ รพ.สนามเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ บางบอน), ศูนย์เอราวัณ, รพ.สนามธรรมศาสตร์, รพ.สนาม จ.นนทบุรี, รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รพ.วังน้อย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา, รพ.สนาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และล่าสุด รพ.ค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมมอบอาหารพร้อมทานกว่า 20,000 แพ็ค และน้ำดื่ม 6,000 ขวด นอกจากนี้ ยังสนับสนุนวัตถุดิบจาก CPF ได้แก่ เนื้อหมูสด เนื้อไก่สด ไข่ไก่ น้ำดื่ม และข้าวสาร สำหรับปรุงเป็นอาหารพร้อมทาน ให้แก่ รพ.สนามในต่างจังหวัด อาทิ จ.นครราชสีมา, จ.สระบุรี, จ.ลำพูน และ จ.สมุทรปราการ ด้วย./

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564

คู่ค้า SMEs มั่นใจโครงการ Faster Payment ของ CPF ช่วยธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิด-19


 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ สร้างความกังวลให้กับหลายภาคส่วน รวมถึงธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากยอดขายที่กำลังฟื้นตัวต้องหยุดชะงัก  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้ขยายเวลาการดำเนินโครงการ Faster Payment ลดระยะเวลาเครดิตเทอมภายใน 30 วัน จนถึงกลางปีนี้ เพื่อร่วมเสริมสร้างความแกร่งทางการเงินให้คู่ค้าธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยสามารถยืนหยัดฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้

ซีพีเอฟ ได้ดำเนินโครงการ Faster Payment มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เพื่อช่วยเหลือคู่ค้าธุรกิจ SMEs ได้รับเครดิตเทอมภายใน 30 วัน ซึ่งที่ผ่านมา โครงการฯ สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถรักษากิจการ ดำเนินธุรกิจ รักษาการจ้างงานได้อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs มั่นใจที่ขยายและปรับแผนธุรกิจรองรับยุคนิวนอร์มอล

นางสาวนฤมล แสงมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอ็มพี ยูนิฟอร์ม จำกัด ผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์มของพนักงานให้กับซีพีเอฟ กล่าวว่า วิกฤตโควิด ทำให้ยอดขายลดลงเกือบ 50% ยาวนานติดต่อกัน 3-4 เดือนส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท ตอนที่ได้รับประมูลงานผลิตเสื้อฟอร์มของซีพีเอฟมา ก็กังวลใจว่าต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โชคดีที่ซีพีเอฟมีโครงการ “Faster Payment” ลดระยะเวลาเครดิตเทอมภายใน 30 วัน เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการ SMEs  ทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้ามาเร็วขึ้นและแน่นอน ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถผ่านพ้นวิกฤติโควิดได้ และเชื่อว่าจากการขยายเวลาโครงการ ช่วยให้เรามีความแข็งแกร่ง สามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ ได้ เชื่อมั่นว่าบริษัทจะฝ่าวิกฤตระลอกใหม่ไปได้ด้วยดี



นายเสกภณ บุญเตชะธนาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอบคุณ 2562 จำกัด ผู้จัดหาวัสดุและเคมีภัณฑ์ ให้กับซีพีเอฟ กล่าวว่า โครงการ Faster Payment ของซีพีเอฟ เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SMEs เมื่อได้รับเงินรวดเร็วช่วยเสริมสภาพคล่องขอวบริษัทขนาดเล็กให้ดีขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แแน่นอน  สามารถลดภาระต้นทุนสินค้า จากการไม่ต้องกู้เงินที่มีดอกเบี้ยสูงมาใช้ดำเนินงาน ช่วยแก้ปัญหาการชำระเงิน และเปิดโอกาสให้ทางบริษัทนำสินค้าใหม่ๆมารองรับความต้องการในตลาด ซึ่งช่วยเพิ่มยอดขายของธุรกิจอีกด้วย

ด้าน นางสาวธิดารัตน์ เดชายนต์บัญชา รองกรรมการผู้จัดการ ด้านจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์  ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทได้ติดตามประเมินผลโครงการ Faster Payment อย่างต่อเนื่อง พบว่า โครงการนี้ช่วยเสริมให้คู่ค้าซีพีเอฟที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ของซีพีเอฟมีความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยเฉพาะการระบาดโควิดระลอกใหม่โครงการนี้ช่วยให้คู่ค้าได้รับเงินที่รวดเร็วขึ้น สนับสนุนให้ SMEs ของไทยสามารถประคับประคองกิจการและการจ้างงานในภาวะเศรษฐกิจที่แนวโน้มยังผันผวนได้อย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้  ซีพีเอฟ ยังให้การสนับสนุนและแบ่งปันมาตรการ และแนวทางการปฏิบัติในป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้คู่ค้าธุรกิจของซีพีเอฟสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถรักษาสถานภาพการผลิตและการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัยให้กับซีพีเอฟอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะช่วยป้องกันให้ห่วงโซ่การผลิตอาหารของซีพีเอฟดำเนินการได้ไม่หยุดชะงัก 



ขณะเดียวกัน ในปีนี ซีพีเอฟยังดำเนินโครงการเพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพคู่ค้าธุรกิจ โดยร่วมมือกันปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการปฏิบัติที่ดีในด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีจริยธรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน  เพื่อร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารในระยะยาว

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564

มกอช.​ ใช้มาตรการเข้ม​ ลดเสี่ยงโควิด-19​ ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ​ สร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่-ผู้ติดต่อราชการ​

  

 



     วันที่​ 23​ เมษายน​ 2564​ นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ​ (มกอช.)​ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเลขานุการกรม​ ดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์​ ในการดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส​โคโรนา​ 2019 (COVID-19)​ โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก​ นายสัตว์แพทย์​ สรวิศ ธานีโต​ อธิบดีกรมปศุสัตว์​ ส่งทีมเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจ​ โดยมอบหมาย​ นายสัตวแพทย์ ยุทธนา ชัยศักดานุกูล ผู้อำนวยการกองสารวัตรและกักกัน​ พร้อมทีมเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจ​ นำน้ำยามาฉีดพ่นเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสต่างๆ​ ทั่วบริเวณภายในอาคารและรอบสำนักงาน​ มกอช.​ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส​ รวมทั้งเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่มาติดต่อราชการ​ในสำนักงาน​ มกอช. 



     ทั้งนี้​ มกอช.​ ได้มีมาตรการป้องกันภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค​ COVID-19​

โดยปรับแผนการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด​ ให้ปฏิบัติราชการที่บ้าน​ (Work​ from​ Home)​ร้อยละ​ 80​ โดยให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง​ หากพบบุคลากรที่มีความเสี่ยงสูง​ ​ให้รีบไปตรวจหาเชื้อทันที​ และความเสี่ยงระดับรองลงมา ให้พิจารณากักตัวหรือปฏิบัติงานที่บ้าน​ 14​ วัน​ โดยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงปฏิบัติตามขั้นตอนของกระทรวงสาธารณสุข​ พร้อมทั้งเน้นย้ำให้บุคลากรปฏิบัติตามหลัก DMHTT (D : Social​ Distancing เว้นระยะห่าง​ M : Mask สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยที่ครั้งที่ออกนอกบ้านหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ​ H : Hand ล้างมือบ่อยๆ​ ด้วยน้ำและสบู่​ หรือเจลแอลกอฮอล์ T​: Testing การตรวจเร็ว​ รักษาเร็ว​ ควบคุมโรคได้เร็ว​ และ​ T​ : Thai​ Cha​ Na​ ใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ)​ อย่างเคร่งครัด​ สำหรับการจัดประชุมหรือการจัดสัมมนา​ ให้ปรับรูปแบบการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์แทน​ งดกิจกรรมรวมคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค​ ลดการเดินทางออกนอกพื้นที่สำนักงานหรือการลงพื้นที่ในต่างจังหวัด​ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทาง​



          นอกจากนี้​ ยังมีมาตรการให้เหลื่อมเวลาการปฏิบัติงาน​ โดยกำหนดเวลาการปฏิบัติงานเป็น​ 3​ ช่วงเวลา​ รวมทั้งจัดให้มีจุดคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายและควบคุมการเข้าออกภายในสำนักงานอีกด้วย​ ทั้งนี้​ เน้นย้ำให้บุคลากรในสังกัดถือปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด​ เพื่อเป็นการลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสให้ได้มากที่สุด

จับกระแสแซลมอน หรือ “ปลาส้ม”แม็คโคร ชื่อเรียกไอเท็มท็อปฮิต ในโซเชียลของคนรักสุขภาพ


 

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19   กระแสคนรักสุขภาพกลายเป็นเทรนด์ยอดฮิตในโซเชียลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะในช่วงที่กลับมาเวิร์คฟอร์มโฮม ทำงานที่บ้านกันอีกครั้งหนึ่ง  จากการสำรวจความนิยมสินค้าในสาขาต่างๆ ของ แม็คโคร พบว่า  อาหารเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอาหารทะเลสดอย่าง ปลาแซลมอน  เป็นที่ต้องการจากลูกค้าในทุกสาขาทั่วประเทศ และได้รับการกล่าวถึงในโลกโซเชียลเป็นอันดับต้นๆ ภายใต้ชื่อเรียกว่า ปลาส้ม แม็คโคร 



ในช่วงที่ผ่านมา แม็คโคร นำเข้าแซลมอนเป็นอันดับหนึ่งในตลาดค้าปลีกของไทย โดยมาจากแหล่งผลิตชั้นนำที่ปลอดภัย อาทิ  นอร์เวย์ ออสเตรเลีย ชิลี  นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายของรูปแบบการขายมากที่สุดแห่งหนึ่ง นั่นคือ มีการแล่ชิ้นขนาดเล็ก-ขนาดใหญ่ หรือขายทั้งตัวขนาด 4-6 กิโลกรัมต่อตัว  ตามรูปแบบความต้องการของลูกค้าและผู้ประกอบการร้านอาหาร  และยังมีความโดดเด่นในเรื่อง ความสด ใหม่ สะอาด ปลอดภัย จากความสม่ำเสมอในการนำเข้าตรงจากแหล่งผลิตชั้นนำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ด้วยกระบวนการขนส่งที่ควบคุมอุณหภูมิเคร่งครัด ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางภายใต้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพื่อให้สินค้าคงคุณภาพและความสดจนถึงมือลูกค้า 



แนวโน้มการเติบโตของ ปลาแซลมอนหรือ ปลาส้ม แม็คโครที่ชาวโซเชี่ยลเรียกกัน นอกจากแหล่งผลิตที่ดี การควบคุมคุณภาพตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ยังมีปัจจัยด้าน ราคาที่จับต้องได้ ทำให้ ปลาส้ม แม็คโครได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  สาวกปลาส้มทั้งหลายจึงปักหมุดที่นี่ เอาไว้เป็นจุดหมาย เมื่อถึงอาหารเพื่อสุขภาพ ประกอบกับ คุณค่าทางอาหารของแซลมอน เป็นแหล่งโอเมก้า 3 และโปรตีน  ที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ  รวมทั้งรสชาติที่นำไปเป็นวัตถุดิบในการทำชาบู ปิ้งย่าง หรือพลิกแพลงทำเมนูได้หลายอย่าง  ทำเองได้ไม่ยาก ตั้งแต่ส้มตำจนถึงสเต็ก ต่างเป็นเหตุที่ส่งผลให้ ปลาแซลมอนถูกผู้คนพูดถึงอีกครั้ง 




ส่วนเรื่องความปลอดภัย แม็คโคร ร่วมมือกับกรมประมง วางแนวปฎิบัติสำหรับการจำหน่ายอาหารทะเลปลอดภัย ป้องกันโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ เพื่อเฝ้าระวังขั้นสูงสุดในการคัดเลือกสินค้าและควบคุมคุณภาพ ตลอดห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย พร้อมรณรงค์บริโภคแบบปรุงสุกเพื่อสุขอนามัยด้วย

ม. รังสิต เปิดสอน “ธุรกิจกัญชา” ครบวงจร จบได้ภายในเวลา 3 ปีครึ่ง พร้อมมอบทุนการศึกษา 2 ทุนผู้สนใจต่อยอดทำธุรกิจอาหาร

 
 



รศ.ดร.บัญญัติ เศรษฐฐิติ คณบดีคณะนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและอาหาร ม.รังสิต เป็นวิทยาลัยที่ถูกก่อตั้งโดยดำริของท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เพื่อให้เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศไทย อีกทั้งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูง ทั้งในเรื่องของปริมาณผลผลิต และเรื่องของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้ไปได้ไกลทัดเทียมสินค้าจากนานาประเทศให้ประเทศไทย เป็นการคืนกำไรให้แก่แผ่นดิน ด้วยการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและความเข้าใจเชิงบูรณาการ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้



ในปีการศึกษา 2564 นี้ คณะเทคโนโลยีอาหาร ม. รังสิต ได้เปิดสอน “ธุรกิจกัญชา” ครบวงจร ในหลักสูตร ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งสามารถจบได้ภายในเวลา 3 ปีครึ่ง โดยจะได้เรียนวิชาการเป็นผู้ประการ การตลาดดิจิตัล  เทคนิคการปลูกกัญชา การใช้ประโยชน์จากสารสกัดกัญชา การนำกัญชามาใช้ในอาหารประเภทต่างๆ และกฎหมายที่ต้องรู้ เกี่ยวกับกัญชา นอกจากเรื่อง กัญชาแล้ว ที่นี่ยังสอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และ เครื่องดื่ม เพื่อทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบของตัวเอง และ ทดลองขายจริง  โดยเชื่อว่า “การเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติ” นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย ยังมีทุนการศึกษามอบให้สำหรับผู้ที่สนใจต่อยอดทำธุรกิจอาหารที่เกี่ยวข้องกับกัญชา/กัญชง อีกจำนวน 2 ทุน ผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่ ผศ. วนิดา โอศิริพันธุ์ คณะเทคโนโลยีอาหาร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต 081-844-6462







คนรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่น มีจินตนาการ มีความตั้งใจ มีความฝัน อยากมีธุรกิจอาหารเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร  หรือ ใครที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรในอนาคต.. มาที่ ม. รังสิต “เราพร้อมสานฝันและ สร้างอนาคตไปด้วยกัน”รศ.ดร.บัญญัติ กล่าว

 

 

CPF ไม่ทิ้งคนไทยยามวิกฤติ ลุยแจกผลิตภัณฑ์อาหาร‘รพ.สนาม’ต่อเนื่อง หนุนภารกิจเจ้าหน้าที่สู้โควิด

 


      สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกนี้ กำลังเข้าสู่ภาวะขั้นวิกฤติ ซึ่งขณะนี้ทุกภาคส่วนได้เร่งผนึกกำลังร่วมมือร่วมแรงร่วมใจเพื่อช่วยทำให้วิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไปให้ได้ไวที่สุด

      CPF หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เป็นอีกองค์กรเอกชน ที่ไม่เคยทอดทิ้งคนไทยในทุกภาวะวิกฤติ หากย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่า CPF เป็นบริษัทลำดับต้นๆของประเทศเสมอ ที่เข้าผนึกกำลังภาครัฐยื่นมือเข้าช่วยเหลือประชาชนพี่น้องชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการณ์ใดๆ ก็ตาม ตั้งแต่ น้ำท่วม ไฟไหม้ป่า น้ำแห้งแล้งขาดแคลน รวมทั้ง มอบบ้านมอบอาหารแก่ผู้ยากไร้ และอื่นๆ อีกมากมาย จนกระทั่งมาถึงภาวะวิกฤติของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งปี 2563 ที่ผ่านมา โดยในปีที่แล้วนั้น CPF ได้ร่วมมอบน้ำและอาหาร ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ให้แก่คนไทยทั้งประเทศไปแล้วมากกว่า 200 ล้านบาท 



      สำหรับการระบาดระลอกนี้ ก็เช่นกัน CPF ไม่รีรอที่จะเข้าดำเนินการช่วยเหลือในทันที โดยระดมสรรพกำลัง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ให้แก่โรงพยาบาลสนามเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ บางบอน) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) และโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 12,880 แพ็ค พร้อมทั้งน้ำดื่มอีกนับหมื่นขวด 

      ล่าสุด CPF ได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ “ไข่ต้มสมุนไพร” จำนวน 3,000 แพ็ค ให้แก่โรงพยาบาลสนามจังหวัดนนทบุรี เพื่อสนับสนุนภารกิจและเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์อีกทั้งเจ้าหน้าที่ ให้ได้มีเวลาปฏิบัติภารกิจดูแลผู้ติดเชื้อและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสให้ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องจัดเตรียมอาหาร



      CPF ไม่เคยหยุดที่จะดำเนินการช่วยเหลือสังคม แม้ในช่วงหนึ่งก่อนหน้านี้ที่การระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทุเลาเบาบางลงไปบ้างแล้ว แต่ CPF ยังคงเดินหน้าอย่างไม่ย่อท้อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนคนไทยในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง นับเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนที่ดำเนินการ โดยมุ่งมั่นพัฒนาและดำเนินนโยบายตาม 3 เสาหลักแห่งความยั่งยืน นั่นคือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่ ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์ คือสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชน และต่อบริษัทเป็นลำดับสุดท้าย

วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564

มกอช. เปิดอบรมออนไลน์ เตรียมความพร้อมผู้ตรวจประเมินสำหรับอาจารย์ผู้สอน (Train Of The Trainer) ขับเคลื่อนนโยบายถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบรับรองของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


 

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การเตรียมความพร้อมผู้ตรวจประเมินสำหรับอาจารย์ผู้สอน (Train Of The Trainer) ครั้งที่ 1 ในรูปแบบออนไลน์ (Online) เพื่อสร้างองค์ความรู้และเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการตรวจประเมินและรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices : GAP) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organics) สำหรับอาจารย์ผู้สอน (Train Of the Trainer) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอดและสื่อสารให้กับนักศึกษาได้ต่อไป โดยมี อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จำนวน 70 ราย เข้าร่วมอบรม ณ ห้องประชุม 511 อาคาร 5 มกอช.



นายพิศาล กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 มกอช. ได้จัดให้มีพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาหลักสูตรผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือนี้จะเป็นการร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการอบรม เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการตรวจประเมินและรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตรให้กับอาจารย์ผู้สอน ทั้งนี้ โครงการพัฒนาหลักสูตรผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ในระดับมหาวิทยาลัย นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายการถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบรับรองของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยในหลักสูตรจะมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ หลักเกณฑ์การปฏิบัติตามมาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices : GAP) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organics) รวมถึงทักษะการตรวจประเมินตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้อบรมมีศักยภาพพร้อมก้าวไปสู่อาชีพผู้ตรวจประเมินได้ อย่างไรก็ตาม การก้าวสู่การเป็นผู้ตรวจประเมินนั้น ต้องใช้เวลาในการเตรียมตัว ทั้งทักษะ ความรู้เฉพาะด้าน รวมถึงการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการตรวจเพิ่มเติมให้ครบถ้วน เป็นไปตามคุณสมบัติที่หน่วยงานรับรองมาตรฐานต้องการด้วย 



มกอช. คาดหวังว่าอาจารย์จากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ ถ่ายทอด และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายที่สำคัญของประเทศ รวมถึงผลักดันให้มาตรฐานสินค้าเกษตรของประเทศไทยก้าวไปอย่างมั่นคงเลขาธิการ มกอช. กล่าว

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564

ซีพีเอฟ ผนึกพลังสู้ศึกโควิดระลอกใหม่ เร่งส่งอาหารจากใจให้โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เป็นแห่งที่ 3

   


   

 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผนึกกำลังเครือซีพี เดินหน้าส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพปลอดภัย ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” แก่โรงพยาบาลสนาม เพื่อเป็นกำลังเสริมบุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัครที่เสียสละได้บริโภคอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อเป็นกำลังหนุนเสริมรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ได้อย่างเต็มที่ ล่าสุด ซีพีเอฟ  นำผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานจำนวน 2,800 แพ็ค ร่วมกับ บริษัท ซีพีอินเตอร์เทรด จำกัด ในเครือซีพี นำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและขนม ส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ โดยมี รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นรับมอบจาก นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บกและประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจไส้กรอกและอาหารพร้อมทาน ซีพีเอฟ และนายเทียนชัย จูพัฒนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี อินเตอร์เทรด จำกัด  ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ



        รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กลับมาเปิดรับดูแลผู้ป่วยโควิดอีกครั้งเป็นรอบที่ 3 รองรับผู้ป่วยอาการที่ไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการประมาณ 500 เตียง ช่วยแบ่งเบาภารกิจที่หนักหน่วงของโรงพยาบาลหลักที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณธารน้ำใจของซีพีเอฟ และบริษัทในเครือซีพี ที่ไม่เคยทิ้งกัน มาร่วมสนับสนุนอาหารพร้อมทานที่สะอาดทานง่าย ให้กับทัพแพทย์-พยาบาลของโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ทีมหมอและพยาบาลสามารถทำงานและมีอาหารรับประทานอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาไปหาซื้อ และสามารถเจียดเวลาที่มีอันน้อยนิดมาพักผ่อน ช่วยเสริมพลังกายและเป็นขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยร่วมต่อสู้กับสงครามโควิดได้อย่างเต็มกำลัง สะท้อนถึง ความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อช่วยกันให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะวิกฤตครั้งนี้ได้สำเร็จ



      รศ.นพ.พฤหัส กล่าวว่า “วันนี้สถานการณ์การระบาดยังอยู่ในช่วงขาขึ้น จึงขอฝากให้ประชาชนทุกท่านช่วยกันดูแลป้องกันตัวเอง ยึดมั่นการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก และหมั่นล้างมือ เพื่อไม่ให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเป็นกำลังใจที่ดีแก่บุคลากรทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขของไทยสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ”

      ด้าน นายสิริพงศ์ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นตัวแทนของ ซีพีเอฟ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงแก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน รวมถึงของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่เสียสละพลังกาย ความรู้ ทุ่มเททุกสรรพกำลัง ช่วยกันปกป้องคนไทยได้รอดปลอดภัยจากโควิด ขณะเดียวกันยังต้องทำงานท่ามกลางความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ ในวันนี้ ซีพีเอฟ ขอส่งมอบอาหารปลอดภัย และผนึกพลังกับบริษัทในเครืออย่าง บริษัท ซีพี อินเตอร์เทรด นำเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพและขนม มาช่วยเป็นกำลังเสริมให้ทีมหมอพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลสนาม ตามนโยบายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ต้องการระดมทุกสรรพกำลังของเครือซีพีมาช่วยเหลือภาครัฐในการรับมือด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประเทศไทยเอาชนะการระบาดโควิดระลอกใหม่ได้



       ที่ผ่านมา นับตั้งแต่การระบาดโควิดระลอกใหม่เกิดขึ้น ซีพีเอฟได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานหลากหลายเมนู พร้อมติดตั้งตู้แช่เย็นให้แก่โรงพยาบาลสนามเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ บางบอน) จำนวน 8,820 แพ็ค พร้อมน้ำดื่ม 4,410 ขวด นำผลิตภัณฑ์อาหาร 1,260 แพ็คเป็นกำลังเสริมให้ทีมแพทย์และอาสาสมัคร ของศูนย์เอราวัณ นอกจากนี้ โรงงานแปรรูปอาหารนครราชสีมาของซีพีเอฟ ยังได้สนับสนุนเนื้อหมูสด เนื้อไก่สด ไข่ไก่ น้ำดื่ม และข้าวสาร ให้โรงพยาบาลสนาม สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.นครราชสีมา สำหรับปรุงเป็นอาหารพร้อมทานให้แก่ทีมแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยอีกด้วย และยังระดมส่งมอบผลิตภัณฑ์พร้อมทานให้แก่โรงพยาบาลสนามอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงพยาบาลสนามของโรงพยาบาลปากเกร็ด รวมถึงศูนย์เอราวัณ และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  เป็นต้น 

      อนึ่ง ในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำของไทย  ซีพีเอฟได้ยึดหลักปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้วยความเคร่งครัดมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเข้มงวดกับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตอาหารในทุกขั้นตอน มั่นใจได้ว่าสามารถส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภค พี่น้องประชาชนได้อย่างเพียงพอ ไม่ขาดแคลน ตามหลักปรัชญา “3 ประโยชน์” ของซีพี ที่นำความเชี่ยวชาญในการผลิตอาหารคุณภาพสูง มาช่วยเหลือสังคมและชุมชนในยามวิกฤติได้เข้าถึงอาหารคุณภาพปลอดภัยอย่างเพียงพอ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับสังคม และร่วมดูแลทุกคนให้สามารถเอาชนะโควิดรอบนี้ได้./

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...