วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

9 นวัตกรรมอาหารพื้นถิ่น คว้า Product Champion เวทีฉายรังสี พร้อมโกอินเตอร์ สร้างรายได้ยั่งยืนชุมชน


 

การยกระดับอาหารพื้นถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนและโอทอป ให้ได้มาตรฐานเพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะการขยายตลาดส่งออกไปต่างประเทศ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เอง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ จึงได้มีแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้เข้าถึงเทคโนโลยีการฉายรังสีในอาหารพื้นถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เปิดโอกาสในการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญกว่านั้น คือ การสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต

วันนี้ พามารู้จักผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตอาหารพื้นถิ่นที่ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ Product Champion ของ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ สทน. ได้แก่ น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง ของ นางสาวชลิตา วิจิตรสุขกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตน้ำพริกจังหวัดอุทัยธานี หลังจากได้มีแผนที่จะขยายตลาด จากน้ำพริกแบบผัดที่ทำสดๆ ซึ่งขายน้ำพริกได้เฉพาะในพื้นที่ ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษา หรือขยายไปยังพื้นที่อื่นๆได้ ประกอบกับไม่สามารถตอบโจทย์ตลาดคนรุ่นใหม่



ด้วยเหตุนี้ ทาง คุณชลิตาจึงได้นำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการผลิตจากน้ำพริกแบบผัด จนได้ออกมาเป็น น้ำพริกผงอบแห้งใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการทำ ไม่ว่าจะเป็นการสลัดน้ำมันออกและไปผ่านกรรมวิธีการอบให้แห้งอีกครั้ง ได้ออกมาเป็นน้ำพริกผง ที่ช่วยการกินน้ำพริกง่ายขึ้น บรรจุภัณฑ์ขวดที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย เวลากินก็แค่เพียง โรยลงบนอาหาร ก็สามารถรับประทานได้เลย ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวแรกของทางกลุ่ม คือ น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง ผลตอบรับออกมาดีเกินคาด ได้กลุ่มลูกค้าพนักงานออฟฟิศ และคนรุ่นใหม่ไม่มีเวลาเข้าครัว



อย่างไรก็ตาม หลังจากได้น้ำพริกผงอบแห้งที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่แล้ว แผนต่อไปของเรา คือ ต้องการขยายตลาดส่งออกต่างประเทศ โดยต้องการที่จะนำสินค้าเข้าไปวางขายในแพลตฟอร์มของอาลีบาบา ซึ่งการทำตลาดส่งออกสิ่งสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารของเราต้องปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อนใดๆ ดังนั้น เราจึงได้นำผลิตภัณฑ์ น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่องมาฉายรังสีกับทาง สทน. ในฆ่าเชื้อโรคและสารปนเปื้อนในน้ำพริก เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาออกไปเป็น 1 ปี ถึง 2 ปี อีกทั้งช่วยสร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารให้กับ น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่องเพราะการส่งออกไปขายในต่างประเทศ ด่านแรกคือ มาตรฐานความปลอดภัย และในสถานการณ์โรคระบาดทั่วโลกเช่นนี้ ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการอาหารต้องให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง



ปลาวงอบแห้ง เป็นการแปรรูปปลากระเบน โดยการนำปลามาแหล่ และตากแห้งออกมาเป็นวงกลม ผลิตภัณฑ์ปลาวงอบแห้ง รายนี้ เป็นของ นายนพดล แก้วช่วงผลิตภัณฑ์ปลาวงอบแห้ง จากจังหวัดนนทบุรี ซึ่งสินค้าปลาวงอบแห้งของ นพดลวางขายในห้างสรรพสินค้า และซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำหลายแห่ง โดยเค้าได้นำนวัตกรรมการอบโอโซน และการบรรจุแพคสุญญากาศ เข้ามาใช้ในการยืดอายุ และฆ่าเชื้อโรค เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาปลาวงอบแห้ง ให้สามารถวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตได้นาน และปลอดภัย

นายนพดล เล่าว่า หลังจากนั้น ได้มีการนำสินค้าไปร่วมออกบูทในงานแสดงสินค้าอาหาร ThaiFex ของกระทรวงพาณิชย์ มีผู้ส่งออกหลายราย สนใจ ผลิตภัณฑ์ปลาวงอบแห้งของเรา แต่ติดปัญหาเรื่องการผลิตได้มาตรฐาน ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน เพราะแค่การอบโอโซน ไม่สามารถการันตีด้านมาตรฐานการส่งออกได้ เนื่องจากการอบโอโซนฆ่าได้เฉพาะสารปนเปื้อน แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีการฉายรังสีเข้ามาช่วย เราจึงได้มาร่วมกับทาง สทน. เพื่อนำปลาวงอบแห้ง มาฉายรังสีในการฆ่าเชื้อโรค และยังสามารถยืดอายุการเก็บรักษาเพิ่มได้เป็น 12 เดือน และ 18 เดือน ทำให้ได้ปลาวงอบแห้งที่มีคุณภาพ และเก็บได้นานขึ้น รองรับการส่งออกปลาวงอบแห้ง ที่มีแผนจะส่งออกไปยังประเทศในแถบยุโรป และอเมริกาในอนาคตอันใกล้นี้

ครั้งแรกคนไทยรู้จัก กบแดดเดียวนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่น

ผลิตภัณฑ์ แปรรูปปลาหมอ และกบแดดเดียว กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดลพบุรี โดยประธานกลุ่ม นายวัชระ หินดีเล่าถึง ผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาหมอ และกบแดดเดียว ว่า ที่มาของการรวมกลุ่มทำปลาหมอ และกบแดดเดียว แบรนด์ คิดฮอตในครั้งนี้ เกิดขึ้นมาจาก ในพื้นที่ชาวบ้าน เลี้ยงกบ และเลี้ยงปลาหมอ กันเป็นจำนวนมาก ก็เลยเกิดความคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเรามารวมกลุ่มกันสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการแปรรูปกบและปลาหมอ เพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้นทั้งในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ ทำให้กลุ่มของเราเป็นรายแรกที่นำกบมาทำเป็นกบแดดเดียว ที่ได้มาตรฐานซึ่งยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน



หลังจากได้กบและปลาหมอแดดเดียว เรามีปัญหาเรื่องการจัดเก็บ ที่ไม่สามารถเก็บได้นาน เราจึงได้นำผลิตภัณฑ์ของเราเข้าร่วมในโครงการ สทน. เพื่อนำกบและปลาหมอแปรรูปของเรามาฉายรังสี ฆ่าเชื้อและสารปนเปื้อน เป็นนวัตกรรมในการถนอมอาหารให้มีอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น เพื่อให้เราสามารถส่งออกกบและปลาหมอแดดเดียวที่ได้คุณภาพ และมาตรฐานไปต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องติดปัญหาเรื่องการเก็บรักษา และมาตรฐานการส่งออก และสุดท้าย คือ การที่เราได้ช่วยเหลือเครือข่ายชุมชน ผู้เลี้ยงกบ และปลาหมอ ให้มีรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืนต่อไป

อาหารหมักดองเพื่อสุขภาพ สูตรลดโซเดียม ลดน้ำตาล

นายฉลาด สมบุณยะวิโรจน์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ อาหารหมักดอง สูตรลดโซเดียมและน้ำตาลต่ำ เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล โครงการ Product Champion ในครั้งนี้ ได้มาเล่าถึง ผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง สูตรลดโซเดียมและน้ำตาลต่ำ ว่าเป็นนวัตกรรมอาหารหมักดอง เพื่อสุขภาพที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และเรายังได้จดอนุสิทธิบัตรเอาไว้แล้ว โดยต้องการที่เจาะกลุ่มตลาดคนรักสุขภาพที่ปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้น ทั่วโลก โดยแนวทางของเราต้องการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ แต่ติดปัญหาในเรื่องของอายุการเก็บรักษา และถ้าต้องยืดอายุ ด้วยการใส่สารกันบูด ซึ่งจะไม่ตรงกับคอนเซ็ปต์ของเราในการเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ก็เลยเลือกนำผลิตภัณฑ์ของเรา มาผ่านการฉายรังสี เพราะหลังจากได้ศึกษาถึงความปลอดภัย เทคโนโลยีการฉายรังสี ยิ่งทำให้เรามั่นใจว่า การฉายรังสี ช่วยตอบโจทย์ด้านการส่งออกของเราได้อย่างแน่นอน

สทน. จัดประกวด Product Champion  ยกระดับอาหารพื้นถิ่น ด้วยการฉายรังสี

โดยทางสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ สทน. ได้จัดกิจกรรม โครงการ Product Champion ขึ้น เริ่มจากในพื้นที่ภาคกลาง ร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.) ประกอบด้วยมรภ.พระนครศรีอยุธยา มรภ.ธนบุรี และมรภ.ราชนครินทร์ ผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น ด้วยการฉายรังสีอาหารประจำปี 2564 โดยมีการเปิดรับสมัครผลิตภัณฑ์ อาหารพื้นถิ่นในพื้นที่ภาคกลาง 20 จังหวัด เข้าร่วมประกวดโครงการ “Product Champion” ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 179 ผลิตภัณฑ์ / 156 ผู้ประกอบการ โดยมีเกณฑ์พิจารณาที่สำคัญ คือ เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ชุมชน และสามารถใช้รังสีในการยกระดับคุณภาพหรือมูลค่า เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้



ด้าน รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ประธานในพิธีมอบรางวัล Product Champion กล่าวว่า การจัดประกวดในครั้งนี้ มีผู้ผ่านการคัดเลือก ให้ได้รับรางวัลจำนวน 9 ราย แบ่งตามจุดดำเนินการ ดังนี้ จุดดำเนินการที่ 1 มรภ.พระนครศรีอยุธยา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวชลิตา วิจิตรสุข ผลิตภัณฑ์ ปลาร้าทรงเครื่อง จ.อุทัยธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นายวัชระ หินดี ผลิตภัณฑ์ กบแดดเดียว จ.ลพบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นางเพ็ญ วิเศษศักดิ์ ผลิตภัณฑ์ ปลาช่อนแดดเดียว จ.สิงห์บุรี

จุดดำเนินการที่ 2 มรภ.ธนบุรี รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายฉลาด สมบุณยะวิโรจน์ ผลิตภัณฑ์ "อาหารหมักดอง สูตรลดโซเดียมและน้ำตาลต่ำ" กทม. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นายนพดล แก้วช่วง ผลิตภัณฑ์ ปลาวงอบแห้ง จ.นนทบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นางธัญภัทร โพธิ์ร่มไทร ผลิตภัณฑ์ กะปิ จ.สมุทรสาคร จุดดำเนินการที่ 3 มรภ.ราชนครินทร์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวกนกวรรณ ธนพัฒนากุล ผลิตภัณฑ์ ชากระวาน จ.จันทบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางสาวสุราวรรณ วงศ์ฟัก ผลิตภัณฑ์ ปลาสลิดแดดเดียว จ.ฉะเชิงเทรา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นายปกรณ์ ตั้งพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์ ข้าวตัง จ.เพชรบุรี

สำหรับผู้ชนะเลิศในแต่ละจุดดำเนินการ จะได้รับเงินรางวัล มูลค่า 10,000 บาท นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จะได้รับโล่และใบประกาศ พร้อมสิทธิพิเศษจาก สทน.ในโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมฉายรังสี หรือเรียกว่า คูปองSMEs Free 20,000 บาท ด้วย ซึ่งหลังจากนี้ นักวิจัยของสทน. จะได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการที่ชนะเลิศ เพื่อวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสีต่อไป

มกอช. ร่วมมือ สมาคมการค้าตลาดกลางฯ ลงนาม MOU หนุนนำมาตรฐานสินค้าเกษตรไปใช้ในตลาดกลาง เสริมความเชื่อมั่น สร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายสินค้าเกษตร


 

วันที่ 29 กันยายน ๒๕๖๔ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์             เป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการส่งเสริม           และสนับสนุนการนำมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ไปปฏิบัติใช้สำหรับตลาดกลาง ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และ สมาคมการค้าตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรไทย (TAWMA) โดยมี นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ นายกสมาคมการค้าตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรไทย เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุม ๕๑๑ อาคาร ๕ ชั้น ๑ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ



รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลด้านเกษตรกรรมของประเทศ รู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้           ตลาดกลางสินค้าเกษตรไทย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบห่วงโซ่คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร โดยเฉพาะการบริหารจัดการสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาด เพื่อให้สินค้าคงคุณภาพ จนถึงปลายทางผู้บริโภค โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตและจัดการการค้าสินค้าเกษตรของประเทศ ให้มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้รับความเชื่อถือ และนำพาประเทศให้ก้าวสู่การเป็นตลาดชั้นนำที่มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล



นายพิศาลฯ เปิดเผยว่า การลงนามในครั้งนี้เกิดขึ้นโดย มกอช. ได้หารือร่วมกับสมาคมการค้าตลาดกลางสินค้าเกษตรไทย ในการส่งเสริมและสนับสนุนการนำมาตรฐานสินค้าไปปฏิบัติใช้สำหรับตลาดกลาง เริ่มตั้งแต่การคัดแยกคุณภาพ ตัดแต่ง บรรจุ ตลอดจนการขนส่ง เพื่อให้สินค้าคงคุณภาพ ลดการสูญเสีย จนถึงปลายทางผู้บริโภค การวางระบบมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตรสำหรับตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรไทย ถือเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดการยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้า และสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ ความปลอดภัย รวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตได้



ทั้งนี้ มีแผนการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะ Quick win คือแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วน โดย มกอช. และสมาคมฯ ได้กำหนดให้มีการจัดพิธีลงนามในวันนี้ รวมถึงการอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มาตรฐานสินค้าเกษตรและระบบการรับรอง รวมถึงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ การดำเนินงานในระยะที่ 1 การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานและพัฒนาต้นแบบการจัดการสินค้าเกษตร ตามมาตรฐาน  โดยนำร่องที่ ตลาดไทซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และมีความสำคัญมากต่อห่วงโซ่ของสินค้าเกษตรและอาหาร การดำเนินงานในระยะที่ 2 เป็นการจัดทำมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยและคุณภาพตลาดกลางสินค้าเกษตร และการดำเนินงานในระยะที่ 3 เป็นการเตรียมความพร้อมระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานและจัดทำระบบ Supply Chain จากนั้นจะนำต้นแบบจาก ตลาดไทขยายผลไปยังตลาดกลางสินค้าเกษตรแห่งอื่นเพิ่มเติมในปีถัดไป

            ด้านนายประดิษฐ์ฯ กล่าวว่า สมาคมฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ขาย ให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพสินค้าเกษตร โดยสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับ มกอช. ในการพัฒนาตลาดกลางต้นแบบด้านการจัดการความปลอดภัยและคุณภาพตลาดสินค้าเกษตร โดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน เช่น ผู้ซื้อจะได้รับสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานตรงกับความต้องการ ผู้ขายมีความมั่นใจในสินค้าเกษตร ส่งผลให้การซื้อขายมีความสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งตลาดมีพื้นที่จัดสรรและหมุนเวียนเพื่อการซื้อขายสินค้าเกษตรมากขึ้น ภายใต้ความเป็นธรรมในการค้าขายสินค้าเกษตร รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นทางด้านอาหารในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-๑๙ อีกด้วย

ส่องรายชื่อ 42 ผู้ประกอบการ คว้ารางวัล "PM Export Award 2021"

 

นายกฯ “พล.อ.ประยุทธ์” มอบ 42 รางวัล PM Export Award 2021 ในรูปแบบ Virtual Event ให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น ประจำปี 64 ครั้งที่ 30 เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ประกอบการไทย ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประกาศพร้อมเป็นทัพหน้าหนุนประกอบการส่งออกบุกตลาดโลกหลังโควิดคลี่คลาย  ปลื้มยอดส่งออกปี 64 เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าส่งออกทั้งปีของไทยจะไปในทิศทางที่เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ 4%

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีมอบรางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น ประจำปี 2564  หรือ Prime Minister’s Export Award 2021 ครั้งที่ 30 ในรูปแบบ Virtual Event ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของการมอบรางวัลสูงสุดของรัฐบาลที่มอบให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของประเทศและเป็นขวัญกำลังใจผู้ประกอบธุรกิจส่งออก  โดยปีนี้มีบริษัทที่เข้ารับรางวัลใน 7 สาขา รวม 42 รางวัล ดังนี้



รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกยอดเยี่ยม Best Exporter  จำนวน  9 ราย  ได้แก่

1.       บริษัท ชาเขียว จำกัด  

2.       บริษัท นิว อาไรวา จำกัด

3.       บริษัท นพดาโปรดักส์ จำกัด

4.       บริษัท ดิ สมิธ ฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

5.       บริษัท พรูเด็นเชียล แอมพรี ไทยแลนด์ จำกัด

6.       บริษัท สตาร์  ซานิทารีแวร์ (ประเทศไทย) จำกัด

7.       บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

8.       บริษัท ไทยอีสเทิร์น อินโนเวชั่น จำกัด

9.       บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด

รางวัลแบรนด์ไทยยอดเยี่ยม (Best Thai Brand) จำนวน  9 ราย  ได้แก่

1.       บริษัท นิว อาไรวา จำกัด

2.       บริษัท นพดาโปรดักส์ จำกัด

3.       บริษัท ชาเขียว จำกัด 

4.       บริษัท  ภูตะวัน  เฮิร์บ แอนด์ คอสเมติค จำกัด

5.       บริษัท  ลัคกี้เฟลม จำกัด

6.       บริษัท  ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

7.       บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด

8.       บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)

9.       บริษัท พิบูลย์ชัยน้ำพริกเผาไทยแม่ประนอม จำกัด

 

รางวัลสินค้านวัตกรรมยอดเยี่ยม (Best Innovation).จำนวน  3 ราย  ได้แก่

1.       บริษัท นิว อาไรวา จำกัด

2.       บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด

3.       บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด

 

รางวัลสินค้าที่มีการออกแบบยอดเยี่ยม (Best.Design) จำนวน  7 ราย  ได้แก่

1.       บริษัท มูนเลอร์ คอลเลคชั่น จำกัด

2.       บริษัท ดี โอ ที เอส จำกัด

3.       DOI TUNG DEVELOPMENT PROJECT

4.       บริษัท สุขภัณฑ์ ไฮโดร (ประเทศไทย) จำกัด

5.       บริษัท พร้อม ดีไซน์

6.       บริษัท พชร์ ไทป์ ฟาวนดรี้  (Potch Type Foundry)

7.       บริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด

 


รางวัลธุรกิจบริการยอดเยี่ยม (Best Services Enterprise Award)  แบ่งเป็น 4 สาขา ดังนี้

1.       สาขาโรงพยาบาล/ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง/คลินิกเฉพาะทาง (Health & Wellness)  ได้แก่บริษัท โรงพยาบาล สมิติเวช สุขุมวิท จำกัด

2.       สาขาดิจิตอลคอนเทนท์และซอฟต์แวร์ (Digital Content & Software) ได้แก่

บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

3.       สาขาธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (Printing) ได้แก่

บริษัท ทีพีเอ็น ฟู้ด แพคเกจจิ้ง จำกัด

4.       สาขาโลจิสติกส์การค้า (ELMAได้แก่

บริษัท แปซิฟิค ห้องเย็น จำกัด

รางวัลสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม (Best OTOP) จำนวน  2 ราย  ได้แก่

1.       บริษัท เจ.ที. ซิลค์ จํากัด

2.       บริษัท หมอยาไทย 101 จํากัด

รางวัลสินค้าฮาลาลยอดเยี่ยม (Best Halal) จำนวน  3 ราย  ได้แก่

1.       บริษัท เอเรคี จำกัด

2.       บริษัท ดิ สมิธ ฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

3.       บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

รางวัลผู้ประกอบการนวัตกรรมดาวเด่น Aspiring Innovation จำนวน 5 ราย  ได้แก่

1.       บริษัท ฮิลล์คอฟฟ์ จำกัด

2.       บริษัท ไทยแทฟ ฟิต้า จำกัด

3.       บริษัท เวลตี้ ม็อกกี้ อินโนเวชั่น จำกัด

4.       บริษัท ไอ พลัส คิว จำกัด

5.       บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด

พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการผลิตและบริการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาทักษะผู้ประกอบธุรกิจให้สามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งสนับสนุนและกำหนดมาตรการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและตลาด เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ สอดคล้องตามแผนแม่บทในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี งานมอบรางวัล Prime Minister’s Export Award จึงถือเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดที่ผู้ประกอบการส่งออกได้รับการรับรองจากรัฐบาล แสดงถึงภาพลักษณ์และคุณภาพมาตรฐานของสินค้าไทยในระดับสากลที่มีมายาวนาน

“งานมอบรางวัล Prime Minister’s Export Award นอกจากจะเป็นงานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการไทยที่สามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน จนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศแล้ว ทุกท่านยังนับเป็นต้นแบบที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้มองเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ในยุค New Normal ที่รัฐบาลมีความภาคภูมิใจ และขอยกย่องผู้ประกอบการที่มุ่งมั่นและตั้งใจพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง” นายกรัฐมนตรี กล่าว



ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  กล่าวว่า   จากการที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19   กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับแผนการทำงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย แสวงหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ขยายตัวเป็นบวก  โดยมีแผนขับเคลื่อนการทำงานในหลายด้าน  อาทิ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และการส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการของไทยออกสู่  ส่งผลให้การส่งออกของไทยในปีนี้ขยายตัวดีต่อเนื่อง นับเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ที่ภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจส่งออก ให้สามารถก้าวเดินได้อย่างต่อเนื่อง และก้าวเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ยุค New Normal ได้อย่างมั่นคง 

                       

        


สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...