วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

"แปลงใหญ่มะม่วงโชคอนันต์” อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ดินแดนมะม่วงพันล้าน




มะม่วงที่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสุโขทัยมีมูลค่าหลายล้านบาท จนได้ชื่อว่าสุโขทัยดินแดนมะม่วงพันล้าน โดยเฉพาะมะม่วงโชคอนันต์ ที่ได้รับรางวัลแปลงใหญ่ดีเด่นระดับประเทศ โดย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เดินทางไปเยี่ยมชมแปลงใหญ่มะม่วงโชคอนันต์ ตำบลน้ำขุม อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย พร้อมเป็นประธานในงานแถลงข่าว "เกษตรแปลงใหญ่ เพื่อเกษตรไทยมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารงานส่งเสริมการเกษตรปี 2563


ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ โดยร่วมกับหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานแปลงใหญ่ ได้ดำเนินการอบรม ประชุม กำกับ ติดตาม สนับสนุนงาน ในแปลงใหญ่ 17 จังหวัด ภาคเหนือ จึงมีกลุ่มแปลงใหญ่เกิดขึ้นทั้งหมด 812 แปลง รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นการเพิ่มโอกาส การเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร โดยสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดสุโขทัย ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย ได้อนุมัติสินเชื่อให้กับกลุ่มแปลงใหญ่ จำนวน 6 แปลง วงเงิน 50,000,000
สำหรับแปลงใหญ่มะม่วงโชคอนันต์ มีพื้นที่การปลูกมะม่วง 699.50 ไร่ มีสมาชิก 66 ราย ผลิตมะม่วงภายใต้มาตรฐานสินค้า GAP มีตลาดส่งผลผลิตขายอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงมีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงโชคอนันต์บ้านคลองต่าง สินค้าที่เป็นผลผลิตจากกลุ่มฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อย.) โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จของแปลงใหญ่มะม่วงโชคอนันต์ มี 3 ส่วน คือ
1. ความเข้มแข็งของการบริหารจัดการกลุ่ม มีการส่งเสริมการจัดการผลิตมะม่วงตั้งแต่วางแผนการผลิต เก็บผลผลิตจำหน่ายและแปรรูปรวมทั้งการบันทึกข้อมูลการผลิตและผลผลิต
2. การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต
2.1 เทคโนโลยีการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่ม
2.2 การนำโดรนมาช่วยในการผลิต
3. การบริหารจัดการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ


โดยทางกลุ่มได้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (MOU) กับบริษัทเอกชน จำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท ฟรุตต้า เนเชอรัล จำกัด บริษัท แกรนด์เอเชียอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด และ 7 – eleven มีปริมาณการรับซื้อประมาณ 1,685 ตัน/ปี นอกจากนี้ยังมีตลาดต่างประเทศ จำนวน 860 ตัน ได้แก่ พม่า มาเลเซีย กัมพูชา ลาว จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เวียดนาม และตลาดแปรรูป และส่วนที่เหลือเป็นมะม่วงอุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งให้กับโรงงานแปรรูปเป็นมะม่วงอบแห้ง มะม่วงกระป๋อง มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม และข้าวเกรียบมะม่วง เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก  กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...