อ.ส.ค.
จัดกิจกรรมเก็บเกี่ยวหญ้าหว่านเมล็ดพันธุ์พืช
ในโครงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กิจการโคนม
แบบครบวงจรภาคเหนือตอนบน จ.ลำปาง มุ่งพลิกวิกฤติเป็นโอกาส
เตรียมใช้ประโยชน์ในที่ดินสำหรับก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์
นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ
ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธี
เก็บเกี่ยวหญ้าหว่านเมล็ดพันธุ์พืช
ในโครงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบน
ณ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง(โครงการปลูกสร้างแปลงหญ้าอาหารสัตว์) ว่าตามที่
อ.ส.ค.มีแผนจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์และศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบน
ที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เพื่อรองรับปริมาณน้ำนมดิบ ในโซนพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ช่วยส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์โคนม และเกษตรโคนมภาคเหนือตอนบนให้ได้แหล่งเรียนรู้
ศึกษาดูงานด้านกิจกรรมโคนม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่กลุ่มเกษตรกรโคนมนั้น
แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างศึกษาโครงการและอยู่ขึ้นตอนเสนองบประมาณในการก่อสร้าง
อ.ส.ค. จึงมีแนวคิดที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินโครงการดังกล่าวบนพื้นที่จำนวน 150 ไร่ แบ่งเป็นแปลงหญ้ารูซี่ 100 ไร่ และแปลงหญ้าแพงโกล่า 50 ไร่
เพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์ที่มั่นคงให้เกษตรกรในพื้นจังหวัดลำปางและใกล้เคียงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรและสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่จังหวัดลำปางและบริเวณจังหวัดใกล้เคียง
นำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ป้อนอุตสาหกรรมโคนมในพื้นที่ภาคเหนือต่อไป ซึ่งนอกจากเป็นการสร้างรายให้กับ อ.ส.ค.
เพิ่มขึ้นแล้วยังเป็นการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน (SME) อีกทางหนึ่งด้วย
โดยเฉพาะสหกรณ์โคนมในเครือข่าย อ.ส.ค.นั้น
ปัจจุบันในพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีอยู่ด้วยกัน 9 แห่ง
โดยแนวทางดำเนินงาน อ.ส.ค.
เตรียมขอความร่วมมือไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ลำปาง
กรมปศุสัตว์ในการขอสนับสนุนพันธุ์หญ้าดังกล่าวใช้สำหรับปลูกต่อไป
นายสุชาติ ได้กล่าวต่ออีกถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์และศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจร
ภาคเหนือตอนบนด้วยว่า หากดำเนินการสร้างสำเร็จจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนแบบครบวงจร
เนื่องจากโรงงานดังกล่าวจะช่วยรองรับปริมาณน้ำนมดิบ
และเพิ่มศักยภาพการผลิตของเกษตรกรโคนมในเขตภาคเหนือ ตลอดจนส่งเสริมกลุ่มสหกรณ์โคนม
และกลุ่มเกษตรกรโคนม ให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากการจัดตั้งโรงงานแปรรูปน้ำนมดิบ
รวมทั้งศูนย์การเรียนรู้กิจการโคนมที่ให้ประโยชน์แก่เกษตรกรแบบครบวงจร
ซึ่งประกอบไปด้วยศูนย์ Feed Center แหล่งสนับสนุนอาหารโคนมในราคาต้นทุนต่ำ
ศูนย์เลี้ยงโคนมทดแทน เพื่อแบ่งเบาภาระของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทดแทน
มาเลี้ยงยังศูนย์แทน
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อสร้างให้คนรุ่นใหม่สานต่ออาชีพเลี้ยงโคนมของครอบครัว
และ Smart Farm อีกด้วย”
ด้าน นายชวลิต ขาวปลอด หัวหน้าสำนักงาน
อ.ส.ค.ภาคเหนือตอนบน กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ
และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบนด้วยว่า
ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางและรูปแบบโครงการจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมและศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบนฯ
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อเสนอแนะให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่
โดยในแนวทางการบริหารพื้นที่ช่วงแรกเป็นการบุกเบิกพื้นที่ เพื่อปลูกพืชอาหารสัตว์
เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลำปาง และดำเนินการพัฒนาศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบนฯ
ควบคู่กันไปเพื่อเป็นการสร้างกิจกรรมในการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่
โดยพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบนในพื้นที่สถานีพัฒนาที่ดินลำปาง
เนื้อที่ 75-3-35 ไร่ ซึ่งทำข้อตกความร่วมมือ (MOU)กับกรมพัฒนาที่ดิน และพื้นที่อ.ส.ค. เช่ากรมธนารักษ์เนื้อที่ 79 ไร่ โดยจ่ายค่าเช่าที่ดินราชพัสดุในอัตราค่าเช่าปีละ 196,569.- บาท สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2562 โดยพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ในช่วงแรกเป็นการบุกเบิกพื้นที่เพื่อปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์
เป็นแหล่งอาหารสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลำปางและใกล้เคียง
นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ในช่วงหน้าแล้งและมีแนวคิดที่จะรับซื้อเมล็ด/ท่อนพันธุ์หญ้าจากชมรมผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์แห่งประเทศไทย
และรับซื้อปุ๋ยมูลโคจากชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคเหนือตอนบน
เพื่อเป็นการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน (SME) ตามนโยบายยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์
ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560- 2580) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในยุทธศาสตร์ที่ 1
การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านผลผลิตทางการเกษตร
และนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้แจ้งความเห็นเชิงนโยบายต่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในข้อที่
4 รัฐวิสาหกิจควรให้การสนับสนุนส่งเสริมให้มีการใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SME) ตามนโยบายรัฐบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น