วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564

โครงการปันปลูก ฟ้าทะลายโจร เครือซีพี พร้อมเก็บเกี่ยวแล้ว เตรียมแจกล็อตแรกวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564


 

นายสุเมธ ภิญโญสนิท ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด (CPP) เปิดเผยว่า  โครงการปันปลูก ฟ้าทะลายโจร มีผลการดำเนินงานที่ก้าวหน้าและเป็นไปตามนโยบายของประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) นายธนินท์ เจียรวนนท์ ที่มีความตั้งใจช่วยเหลือสังคม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยาสมุนไพรไทยและใช้เสริมภูมิคุ้มกัน ในยามที่ขาดแคลนสมุนไพรฟ้าทะลายโจร  โดยจัดให้มีการปลูกฟ้าทะลายโจรบนเนื้อที่ 100 ไร่ที่ฟาร์มแสลงพัน และฟาร์มคำพราน จ.สระบุรี สถานีวิจัยแสลงพัน ของกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือซีพี ซึ่งได้เริ่มปลูกในวันแม่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา  จนถึงปัจจุบันได้ทยอยเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพรภายใต้ชื่อ ปันปลูกโดยจะแจกฟรีแก่ชุมชน สถานพยาบาล องค์กรต่าง ๆ รวมถึงประชาชนกลุ่มเปราะบางได้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 พ่อหลวงของแผ่นดิน และเป็นการร้อยเรียงความดีเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สอดคล้องตามค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือซีพีอีกด้วย



โครงการปันปลูก-ฟ้าทะลายโจร 100 ไร่  มีที่ตั้งอยู่ที่ จ.สระบุรี แบ่งเป็น  2 แปลง แปลงแรกตั้งอยู่ที่ฟาร์มแสลงพัน บนเนื้อที่ 30 ไร่  และอีกแปลงอยู่ที่ฟาร์มคำพราน บนเนื้อที่ 70 ไร่ โดยใช้ต้นกล้าฟ้าทะลายโจรจำนวน 1 ล้านต้นจาก 6 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปราจีนบุรี  สุโขทัย กาญจนบุรี อุบลราชธานี และ พิจิตร  โครงการนี้ผ่านการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง พันธุ์ ลักษณะดินที่เหมาะสม ปริมาณน้ำ ที่พืชต้องการ ขั้นตอนการเพาะปลูกที่เหมาะสม ทั้งเทคนิควิธีการจัดการแปลง อายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ให้ปริมาณสารสำคัญสูง โดยศึกษาร่วมกับเกษตรกรคนเก่งจากทุกพื้นที่ และมีเป้าหมายที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับเกษตรกรที่สนใจ



นายสุเมธกล่าวว่า การปลูกฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ในโครงการปันปลูกใช้เทคโนโลยีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ ใช้ข้อมูลความชื้นในดิน ร่วมกับสถานีวัดปริมาณน้ำฝน เพื่อให้พืชได้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม การปลูกแบบแถวยกร่อง มีทั้งแบบร่องเดี่ยว และร่องคู่ ได้ผลผลิตประมาณ 2 ตันต่อไร่ ทั้งนี้แปลงปลูกทั้ง 100 ไร่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP) จาก กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกกระบวนการว่าได้มาตรฐานตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยวและการบริหารจัดการ ปัจจุบันเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิต และจะนำเข้าสู่กระบวนการอบลดความชื้นด้วยโรงอบพลังแสงอาทิตย์ จากนั้นส่งมอบวัตถุดิบไปทำการบด และบรรจุเป็นแคปซูลต่อไป




นอกจากนี้ได้ดำเนินการตาม พรบ.ยาสมุนไพร อย่างเคร่งครัด โดยมีการขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร กับทางสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ที่มีข้อกำหนดด้านปริมาณสารสำคัญ คือ Andrographolide ในวัตถุดิบอย่างเคร่งครัด และใช้ห้องแล็บมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง  และตอกย้ำความมั่นใจอีกระดับจากห้องแล็บของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารมาตรฐานระดับโลกในเครือซีพี  และในส่วนการบรรจุแคปซูล ได้คัดเลือกจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน GMP PIC/S ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญของโรงงานผลิตยา  มาร่วมในโครงการฯ  รวมถึงต้องมีการฉายรังสีแกมมาทุกแคปซูล เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีอายุเก็บได้ยาวนานขึ้น ก่อนส่งมอบให้กับพี่น้องประชาชน

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

"สวนป่าชุมชน" CPF หนุนชุมชนบริหารจัดการพื้นที่ป่า ยึดหลักเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม


 

"ป่าชุมชน" พื้นที่ป่าไม้ที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และต้นไม้ บนหลักการสร้างความเท่าเทียม  ลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดประโยชน์สูงสุด  เพื่อรักษาพื้นที่ป่าและความสมบูรณ์ของนิเวศป่าไม้  สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ด้วยการวางแผน พัฒนา การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์จากป่าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนทั้งในเชิงเศรษฐกิจ  คือ  การสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน  ด้านสังคม เกิดการพัฒนาอาชีพตามศักยภาพของชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ และด้านสิ่งแวดล้อม  รักษาระบบนิเวศ ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจโดยบูรณาการแนวคิดการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ริเริ่ม "โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ"  เพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการของบริษัทมาตั้งแต่ปี  2557  ทั้งในรูปแบบของการปลูกต้นไม้  สร้างสวนป่าเชิงนิเวศ ขยายผลสู่การสร้างเครือข่ายป่าชุมชน   

ศูนย์เรียนรู้สวนป่ารักษ์นิเวศ โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชรต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เป็นสวนป่านิเวศในฟาร์มสุกรแห่งแรกของไทย ที่มาจากแนวคิดพลิกพื้นที่ว่างเปล่าในฟาร์มเลี้ยงสุกรเป็นป่านิเวศในชุมชน เมื่อปี  2557 จากความมุ่งมั่นของซีพีเอฟ ที่จะสร้างธุรกิจฟาร์มสุกรรูปแบบใหม่ มุ่งเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  บนพื้นที่กว่า 30 ไร่  ที่เกิดจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และชุมชน  ร่วมพัฒนาพื้นที่ของโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ด้วยการสร้างป่านิเวศที่สมบูรณ์  เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์  มีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากในท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับชุมชน สถานศึกษาและผู้ที่สนใจ   



ศูนย์เรียนรู้สวนป่ารักษ์นิเวศ ที่นี่ เป็นแหล่งรวบรวมป่า 6 ประเภท  ได้แก่  ป่าพันธุ์ไม้หายาก ป่าชายน้ำ ป่านิเวศแนวป้องกัน ป่าเต็งรัง ป่าเศรษฐกิจ และป่าเบญจพรรณ   มีต้นไม้มากกว่า 24,000 ต้น เป็นพันธุ์พืชกว่า 200 ชนิด พันธุ์ไม้หายากกว่า 140 ชนิด  สามารถเก็บต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดตามธรรมชาตินำมาอนุบาลเพื่อขยายพันธุ์ อาทิ ต้นกระทิง หว้า ชัยพฤกษ์ และภู่นายพล  นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์สัตว์ที่อาศัยในผืนป่าอีกกว่า 70 ชนิด  ซึ่งปัจจุบัน มีฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน  คือ ศาลาชากังราว ศาลากล้วยไข่ และศาลาวนเกษตร  เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้มาเยี่ยมชม  โดยมีวิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้ฯ ที่เป็นเยาวชน เกษตรกรในโครงการฯ และตัวแทนของซีพีเอฟ ทำหน้าที่ให้ข้อมูลในแต่ละฐาน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมสวนป่าฯ โดยนำ  QR Code มาใชเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และพัฒนาโปรแกรมการศึกษาดูงาน (Integrated Learning Center) ที่เหมาะสมกับกลุ่มที่เข้าเยี่ยมชม

พิเชษฐ์ ใหญ่แก่นทราย ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร  กล่าวว่า สวนป่ารักษ์นิเวศฯ สร้างประโยชน์ให้กับชาวชุมชนอย่างมาก ทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศพืชและสัตว์  เป็นที่อยู่และขยายพันธุ์ของสัตว์ท้องถิ่น  เป็นแหล่งเรียนรู้วิธีการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ที่ช่วยสร้างจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสามารถนำไปต่อยอดปลูกในพื้นที่อื่นๆได้   ป่าที่สมบูรณ์กลายเป็นแหล่งอาหาร เปรียบเหมือนตลาดสดของชุมชน เพราะในป่ามีทั้งพืช ผัก สมุนไพร เห็ด และปลา  เป็นแหล่งเพาะกล้าไม้ป่าเพื่อจำหน่ายหรือแจกให้กับผู้ที่สนใจ พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นแหล่งพักผ่อน ออกกำลังกาย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน



ปี 2559 ซีพีเอฟต่อยอดส่งเสริมป่าชุมชนแห่งที่ 2  ใน โครงการปลูกป่านิเวศ หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าอ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา บนพื้นที่ 14 ไร่ ส่งเสริมชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า  เรียนรู้เทคโนโลยีการเลี้ยงสุกรที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม    โดยรวบรวมพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ ไม้หายาก และพืชสมุนไพรกว่า 109 ชนิด รวมพันธุ์ไม้มากกว่า 50,000 ต้น ประยุกต์หลัก การปลูกป่านิเวศตามทฤษฎีการปลูกป่าของ ศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิด้วยการปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่เหมาะกับสภาะแวดล้อมในพื้นที่ ใช้เทคนิคการปลูกต้นไม้แบบถี่ 3 ต้นต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร แบบสุ่มคละชนิดพันธุ์ไม้ ให้เหมือนป่าธรรมชาติ ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเจริญเติบโตของป่าธรรมชาติ จาก 100 ปี เหลือ 10 ปี ก่อเกิดเป็นรูปแบบป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง  สร้างระบบนิเวศที่ดี  ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการในพื้นที่  ซีพีเอฟ เกษตรกร ชุมชนใกล้เคียง  รวมทั้งปลูกจิตสำนึกคนรุ่นใหม่นักเรียนของสถานศึกษาในพื้นที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกต้นไม้   

สมชาย พงษ์พันธ์ เกษตรกรในหมู่บ้านฯ กล่าวว่า จากผืนดินว่างเปล่าเมื่อ  5 ปีก่อน วันนี้ต้นไม้เติบใหญ่กลายเป็นผืนป่าที่สมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต สร้างแหล่งอาหารของชุมชน  ชาวชุมชนได้รับประโยชน์จากป่านิเวศฯ ที่ทุกคนร่วมกันสร้าง  เพราะให้ทั้งพื้นที่สีเขียว  ความร่มรื่น เป็นคลังอาหารของคนในชุมชน ซึ่งในพื้นที่ป่ามีทั้งไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร เห็ด ซึ่งคนในชุมชนสามารถเข้าไปเก็บมาปรุงอาหาร  เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบของชุมชน สำหรับผู้ที่สนใจ 



ซีพีเอฟ ยังให้การสนับสนุนกิจกรรมปลูกต้นไม้  ใน "โครงการปลูกป่าชุมชน"  บนพื้นที่อื่นๆ อาทิ  ฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์หนองคาย ต.หนองปลาปาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ร่วมกับ บริษัท เอซีวายซี จำกัด ซึ่งเป็นคู่ค้าของซีพีเอฟ  ปลูกฝังชุมชนทำโครงการป่าชุมชน  บนพื้นที่  178 ไร่ ติดฟาร์ม ปลูกต้นไม้ในพื้นที่กว่า 24,000 ต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นและไม้เศรษฐกิจ อาทิ  ต้นประดู่ป่า  สัก  แดง ยางนา มะค่าโมง  และพะยูง  สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนการปลูกไม้เศรษฐกิจ และสนับสนุนชุมชนอนุรักษ์ป่าและปลูกป่าเพิ่มเติม โดยในอนาคตที่นี่ จะเป็นศูนย์เพาะชำกล้าไม้ จำหน่ายกล้าไม้และเมล็ดพันธุ์ เป็นรายได้เข้ากองทุนเพื่อใช้ในการอนุรักษ์ป่าของชุมชนต่อไป          

ต้นกล้าเล็กๆที่ค่อยๆเติบโตสู่ต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงในพื้นที่โครงการสวนป่าชุมชน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการกักเก็บคาร์บอน สนับสนุนเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งสู่องค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี   2573 และสนันสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable  Development Goals :  SDGs) รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change )  ภายใต้แผนกลยุทธ์  CPF 2030  Sustainability in Action ที่มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทย  20,000 ไร่ ภายในปี 2573  โดยส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการทั่วประเทศ 5,000 ไร่ ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมให้ฟาร์มและโรงงานของบริษัทปลูกต้นไม้ ที่สำคัญ คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือโดยชุมชน สนับสนุนการดำเนินโครงการป่าชุมชนให้อำนวยประโยชน์อย่างทั่วถึง เพื่อให้ชุมชนพร้อมทำหน้าที่ดูแลรักษาป่าอย่างยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ชาวท่าเรือ อยุธยา ขอบคุณน้ำใจซีพีเอฟ ช่วยสู้ภัยน้ำท่วมต่อเนื่อง


 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ หนุนเสบียงอาหารและน้ำดื่มซีพี ในโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" เคียงข้างประชาชนชาวอำเภอท่าเรือ และเพื่อนพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยชาวซีพี-ซีพีเอฟจิตอาสา โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ช่วยคลายความเดือดร้อนด้านอาหารแก่พี่น้องคนไทยอย่างต่อเนื่อง



นายธนกฤต ทองศิริ ปลัดอำเภอท่าเรือ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ) รักษาราชการแทนนายอำเภอท่าเรือ พร้อมด้วย นางสาวนิภา สัมฤทธิ์ล้วน กำนันตำบลจำปา รับมอบ ไข่ไก่จำนวน 1,800 ฟอง และน้ำดื่มซีพี 720 ขวด จากซีพีเอฟ เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ของประชาชนชาวอำเภอท่าเรือ จากสาเหตุอุทกภัย โดยมี นายสะแวง เทียมเงิน และทีมงานจิตอาสาจากซีพีและซีพีเอฟ โรงงานอาหารสัตว์ท่าเรือ ร่วมกันส่งมอบ

เหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน จากปริมาณน้ำในแม่น้ำป่าสักที่เพิ่มสูงขึ้นจนน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ในหลายอำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างผลกระทบให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ขอขอบคุณซีพี-ซีพีเอฟ ที่เร่งเข้าช่วยเหลือพี่น้องชาวอำเภอท่าเรือ รวมถึงในหลายจังหวัดที่ประสบภัยเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงน้ำใจที่บริษัทมีต่อคนไทยปลัดอำเภอท่าเรือฯ กล่าว



ส่วนที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลจำปา อำเภอท่าเรือ นางรัชนก เพชรจำรัส ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 รับมอบ ไข่ไก่สด 1,500 ฟอง น้ำดื่มซีพี 1,200 ขวด และอาหารสำเร็จรูป เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้บรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น  โดย นายจิระ คงเขียว นำชาวซีพี-ซีพีเอฟจิตอาสา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ ลงพื้นที่ร่วมแจกจ่ายอาหารและสิ่งของแก่ผู้ประสบภัย

"ขอขอบคุณน้ำใจของซีพีเอฟ ที่ระดมสรรพกำลังนำอาหารและน้ำดื่มมาช่วยดูแลประชาชน ตั้งแต่เกิดน้ำท่วมในวันแรกๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นของพี่น้องชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยได้มาก" ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 กล่าว



ขณะเดียวกัน นายสกุลยศ สามเสน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ได้มอบถุงยังชีพ ที่ประกอบด้วย ที่ประกอบด้วย ไข่ไก่สด ข้าวสาร อาหารแห้ง และอาหารสำเร็จรูป ให้กับเพื่อนพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมในอำเภอท่าเรือ จนที่พักอาศัยได้รับความเสียหาย จำนวนกว่า 30 ครอบครัว และส่งทีมงานช่างเข้าไปช่วยตรวจสอบสภาพบ้านเรือนของเพื่อนพนักงาน เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลดต่อไป

โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ ในฐานะเป็นสมาชิกของชุมชน บริษัทฯ ไม่นิ่งนอนใจเร่งช่วยเหลือทั้งเพื่อนพนักงานและชาวชุมชนรอบโรงงานอย่างรวดเร็ว โดยมีพนักงานจิตอาสาลงเรือนำไข่ไก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่มซีพี  และถุงยังชีพมอบแก่ผู้ประสบอุทกภัยได้เข้าถึงอาหารปลอดภัย และผ่านพ้นเหตุการณ์นี้ไปด้วยกันนายสกุลยศ กล่าว

โครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" ที่ซีพีเอฟในฐานะสมาชิกของชุมชนที่ทำหน้าที่ดูแลประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงสถานประกอบการ ได้ริเริ่มดำเนินมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นเกิดอุทกภัย โดยระดมสรรพกำลังส่งมอบความช่วยเหลือถึงมือพี่น้องคนไทยในหลายจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ และขอนแก่น

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

"CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" เดินหน้าช่วยพี่น้องคนไทยคลายทุกข์อย่างต่อเนื่อง


 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยังเดินหน้าส่งความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์คนไทยที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง โดยชาวซีพี-ซีพีเอฟจิตอาสา ระดมกำลังลงพื้นที่ส่งมอบอาหารและน้ำดื่ม ภายใต้โครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" ในจังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ และขอนแก่น เดินหน้ามอบวัตถุดิบประกอบอาหารแก่เทศบาลตำบลดอนพุด อ.ดอนพุด จ.สระบุรี และเร่งสำรวจความเสียหายบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา



ที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย เทศบาลดอนพุด อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี นายไพศาล ขำวงษ์ นายกเทศมนตรีตำบลดอนพุด รับมอบวัตถุดิบอาหารจากซีพีเอฟ ได้แก่ เนื้อสุกร ไข่ไก่สด และน้ำดื่มซีพี ในโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" เพื่อสนับสนุนเทศบาลตำบลดอนพุด สำหรับนำไปประกอบอาหารปรุงสุก มอบให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัย มากกว่า 200 หลังคาเรือน ใน 3 ตำบลของอำเภอดอนพุด ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีพนังกั้นน้ำคลองสาขาคลองชัยนาท-ป่าสัก บริเวณประตูน้ำเริงราง พื้นที่ตำบลสร้างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ทรุดตัวพังเสียหาย เป็นระยะทางยาวกว่า 20 เมตร ทำให้มวลน้ำไหลท่วมพื้นที่หลายอำเภอ มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง มีน้ำท่วมสูง 1-2 เมตร ส่งผลให้ชาวชุมชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม โดยมี นางจารุวิจิตร ฤทธินาคา นำทีมซีพี-ซีพีเอฟจิตอาสาร่วมมอบผลิตภัณฑ์



หลังจากประชาชนจิตอาสาร่วมกันปรุงอาหารแล้วเสร็จ นายกเทศมนตรีตำบลดอนพุด นำคณะผู้บริหารเทศบาลดอนพุด ร่วมกันมอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน เพื่อคลายความเดือดร้อนด้านอาหาให้กับพี่น้องประชาชน พร้อมขอบคุณซีพีเอฟที่สนับสนุนวัตถุดิบอาหารคุณภาพดีทั้งหมด ในภารกิจช่วยเหลือชาวดอนพุดในครั้งนี้ ขณะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน นายสกุลยศ สามเสน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ นำคณะผู้บริหาร และทีมงานจิตอาสาซีพี-ซีพีเอฟ ชมรมบำเพ็ญประโยชน์โรงงานอาหารสัตว์ท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เร่งเข้าเยี่ยมและสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่บ้านไก่จ้น ตำบลจำปา อำเภอท่าเรือ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยได้เข้าช่วยเหลือเพื่อนพนักงานและครอบครัว ตลอดจนชาวชุมชนที่บ้านถูกน้ำท่วม โดยมอบเสบียงอาหาร ทั้งไข่ไก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่มซีพี

ชาวซีพี-ซีพีเอฟ ยังคงเดินหน้าโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงอาหารในทุกวิกฤติ ด้วยการส่งมอบอาหารและน้ำดื่มคลายความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาวไทยในเบื้องต้น โดยระดมกำลังพนักงานจิตอาสาในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ และขอนแก่น

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564

MEAT ZERO จัดเต็ม! จับมือคู่ค้าร้านอาหาร ขนทัพเมนูเจอิ่มบุญ พร้อมโปรโมชั่นพิเศษเอาใจสายเฮลท์ตี้


 

ในยุคที่เทรนด์ของโลกเปลี่ยนไป ผู้บริโภคหันมาเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี Plant-based food (โปรตีนจากพืช) กลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยม รวมถึงประเทศไทย ในเทศกาลกินเจปีนี้ จึงเกิดการโปรตีนจากพืชมารังสรรค์จนเกิดเป็นอาหารเจ ที่สามารถรับประทานได้ง่าย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ร่วมกับธุรกิจในเครือ ได้แก่ เชสเตอร์ รวมถึงร้านอาหารคู่ค้า อาทิ นิตยาไก่ย่าง และ Wrap God จัดโปรโมชั่นอาหารเจ หลากหลายเมนู โดยใช้วัตถุดิบหลักจากแบรนด์ MEAT ZERO เนื้อจากพืช ที่ผลิตด้วยนวัตกรรม "PLANT-TEC" ทำให้ได้เนื้อทางเลือกที่มีความเหมือนเนื้อสัตว์จริง ทั้งลักษณะ รสชาติ กลิ่น ตลอดจนเนื้อสัมผัส เอาใจผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ให้ได้อิ่มอร่อยกับเมนูต่างๆ ในราคาที่เหมาะสม



เริ่มที่ "นิตยาไก่ย่าง" กับเมนูเจอิ่มอร่อยที่มีให้เลือกมากมาย อาทิ ส้มตำเจ, หมูกรอบคั่วพริกเกลือเจ คะน้าหมูกรอบเจ, น้ำตกหมูกรอบเจ และต้มยำเจ ส่วนรสชาติยังคงความอร่อยตามแบบฉบับของทางร้าน เด็กรับประทานทานได้ ผู้ใหญ่ทานดี สามารถสั่งผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ต่างๆ และช่องทางเว็บไซต์ https://nittayakaiyang.foodie-delivery.com/ ตั้งแต่วันนี้ - 16 ต.ค. 2564



ถัดมาที่ ร้าน "Wrap God" ออกแบบเมนูเจแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ด้วยการนำเนื้อบด MEAT ZERO มาทำมีทบอลเจ จนกลายเป็นเมนู 'เคบับมีทบอลเจ' ชิ้นโต แป้งนุ่มห่อพร้อมผักหลากหลายชนิด ชิ้นละ 139 บาท และมักกะโรนีมีทบอล ซอสปรุงครบรสราดบนมักกะโรนี สัมผัสความอร่อยง่ายๆ ในราคาเพียง 139 บาท นอกจากนี้ยังมีไส้กรอกผงกระหรี่เจ ราคา 119 บาท และมักกะโรนีซอสเนื้อเจ ราคา 109 บาท สามารถรับประทานได้ที่ ร้าน Wrap God ทุกสาขา ทั้ง เจริญกรุง บางรัก, เดอะมอลล์งามวงค์วาน และเดอะมอลล์บางกะปิ รวมถึงช่องทางแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ Grab, Foodpanda, LineMan และ Robinhood ตั้งแต่          วันนี้ - 18 ตุลาคม 2564 ติดตามรายละเอียด ตลอดจนโปรโมชั่นเพิ่มเติม ได้ที่https://www.facebook.com/wrapgodthailand

ณะที่ ร้าน เชสเตอร์แกะกล่องเมนูใหม่สำหรับเทศกาลกินเจปีนี้โดยเฉพาะ ได้แก่ ข้าวกะเพราหมูกรอบ ZERO และ สปาเก็ตตี้กะเพราหมูกรอบ ZERO’ พร้อมโปรโมชั่น ชุดข้าวกะเพราหมูกรอบ ZERO พิเศษ 129 บาท (จากราคาปกติ 209 บาท) อิ่มอร่อยพร้อมเฟรนช์ฟรายส์ขนาดปกติ และเป๊ปซี่ 22 ออนซ์ 1 แก้ว และชุดสปาเก็ตตี้กะเพราหมูกรอบ ZERO พิเศษ 129 บาท (จากราคาปกติ 209 บาท) อร่อยฟิน คู่กับเฟรนช์ฟรายส์ขนาดปกติ กับเป๊ปซี่ 22 ออนซ์ 1 แก้ว สำหรับโปรโมชั่นนี้ เฉพาะสั่งช่องทางเชสเตอร์เดลิเวอรี่ ผ่าน www.chesters.co.th หรือโทร 1145 เท่านั้น หากใครที่ต้องการสั่งแบบอาหารจานเดี่ยวมีให้บริการเช่นกัน เพียงจานละ 105 บาท ตั้งแต่วันนี้ - 13 ตุลาคม 2564 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด 





MEAT ZERO เป็นนวัตกรรมเนื้อจากพืช ที่ ซีพีเอฟทุ่มเทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อทางเลือกมาเป็นเวลามากกว่า 2 ปี โดย CPF RD Center ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไต้หวัน จนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารอาหารอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ให้เส้นใยอาหารสูง ดีต่อลำไส้และกระเพาะอาหาร ทั้งยังไม่มีโคเลสเตอรอล ดีต่อระดับไขมันในเลือด ขณะเดียวกันยังดีต่อใจของผู้ที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ มีวางจำหน่ายแล้วในเซเว่นอีเลฟเว่น แม็คโคร โลตัส และห้างโมเดิร์นเทรดชั้นนำทั่วประเทศ

มกอช. ก้าวสู่ปีที่ 19 เดินหน้าขับยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต


 

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. เป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยกำหนด ตรวจสอบ รับรอง ควบคุม และส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพ สินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อให้มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก โดยที่ผ่านมา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจงานให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านเกษตรปลอดภัย และการพัฒนาระบบนิเวศเกษตร ซึ่งให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต



ด้านเกษตรปลอดภัย ในปีที่ผ่านมา มกอช. มีผลการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร จำนวน 15 เรื่อง ทำให้ปัจจุบันมีมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร                   ที่ประกาศใช้แล้ว รวม 376 เรื่อง การตรวจประเมินเพื่ออนุญาตและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน : หน่วยรับรอง 24 ราย หน่วยตรวจ 5 ราย และห้องปฏิบัติการ 104 ราย การติดตาม/กำกับดูแลการบังคับใช้มาตรฐานบังคับที่มีผล บังคับใช้แล้ว 7 เรื่อง : ออกใบอนุญาตผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก 1,677 ฉบับ ส่งเสริมการนำมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารไปใช้ : ขยายการเรียนรู้ด้านมาตรฐานในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 41 แห่ง ถ่ายทอดความรู้ในการผลิตตามมาตรฐาน GAP แก่เกษตรกร 8 แห่ง การสร้าง/พัฒนาบุคลากรด้านการตรวจประเมินรองรับการถ่ายโอนภารกิจการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า และขยายผล            การใช้งานระบบตรวจสอบย้อนกลับ QR Trace โดยมีผู้สมัครใช้งานเพิ่มขึ้น รวม 2,117 ราย รวมถึงการ             เข้าร่วมประชุม/เจรจาเพื่อร่วมกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ อาทิ การประชุมคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ ครั้งที่ 43 Codex Alimentarius Commission และการประชุมคณะกรรมการโคเด็กซ์ในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาระบบการตรวจสอบและการรับรองสินค้านำเข้าและส่งออก (CCFICS) สาขาสมุนไพรและเครื่องเทศที่ใช้ในอาหาร (CCSCH) สาขาสารปนเปื้อนในอาหาร (CCCF) เป็นต้น การประชุม ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement (TF AFSRF) การประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) การประชุมคณะกรรมาธิการมาตรการสุขอนามัยพืช ภายใต้อนุสัญญา IPPC ที่ให้การรับรองร่างมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสุขอนามัยพืช (ISPMs) รวม 11 เรื่อง เป็นต้น การเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร : ตรวจรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้ามาตรฐาน Q Restaurant มากกว่า 2,858 ร้าน, Q Market 1,129 แผง, Q Modern trade 757 แห่ง และตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ DGTFarm.com ที่มีสินค้ากว่า 710 ประเภท นอกจากนี้ มกอช. ยังมีโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร ตามมาตรฐาน GAP การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมมาตรฐาน และการยกระดับมาตรฐาน แหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP



ด้านการพัฒนาระบบนิเวศเกษตร ได้ดำเนินโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งเป็น หนึ่งในภารกิจงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่              การยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน GAP การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมมาตรฐาน และการยกระดับมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของ มกอช. คือ การลงนามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรค และตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สาม ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในห้วงการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อาเซียน-จีน ครั้งที่ 7 โดย มกอช. ได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรหารือกับฝ่ายจีน ส่งผลให้มีด่านนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น จำนวน 16 ด่าน ซึ่งนับเป็นผลงานความสำเร็จระดับประเทศ

ทั้งนี้ ในปี 2564 นี้ มกอช. ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2564 “สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทเปิดใจใกล้ชิดประชาชน ระดับดีเด่นจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหาราชการ (กพร.) โดยผลงานการทำงานร่วมกับภาคประชาชนในกระบวนการจัดทำมาตรฐานบังคับ ทุเรียนแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก นำไปสู่การจัดทำมาตรฐาน เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง (มกษ. 9046-2560) ส่งผลให้มีพื้นที่ปลูกทุเรียนที่ได้รับการรับรอง GAP เพิ่มสูงขึ้น และสามารถส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็ง ไปยังตลาดโลกได้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 6,400 ล้านบาท นับเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ความสำเร็จในการบริหารราชการของ มกอช. อย่างเป็นรูปธรรม

 อย่างไรก็ตาม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ผู้บริโภคอาจจะมีความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ทั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพียงต้องเลือกสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีเครื่องหมายรับรอง เช่น เครื่องหมาย Q เครื่องหมายออร์แกนิค ไทยแลนด์ จากร้าน ที่ผ่านการตรวจสอบควบคุมจากหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งซื้อสินค้าเกษตรหรืออาหารที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ หรือหากไปนั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร ให้สังเกตป้าย Q Restaurant ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจว่า ร้านอาหารนั้นใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย นอกจากนี้ การซื้อสินค้าจากช่องทางออนไลน์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ โดย มกอช.ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่เรียกว่า DGTFARM.COM ซึ่งเป็นแหล่งรวมสินค้าเกษตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานมาจำหน่าย ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานได้อย่างสะดวก เหมือนไปเดินเลือกซื้อสินค้าเองที่ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตและสามารถมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยอีกด้วยเลขาธิการ มกอช. กล่าว

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แม็คโคร เผย 10 อันดับผักขายดี ทุกเทศกาลกินเจ ย้ำเดินหน้าสนับสนุนเกษตรกรไทย สร้างรายได้มั่นคง ทุกสถานการณ์วิกฤต


 

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เผยผักสด 10 อันดับขายดี  ทุกเทศกาลกินเจ  เดินหน้านโยบายเคียงข้างเกษตรกรทั่วไทย สนับสนุนผักคุณภาพปลอดภัย สร้างรายได้มั่นคง พร้อมเดินหน้าลดค่าใช้จ่าย ตรึงราคาช่วยพี่น้องประชาชนคนถือศีล สู้ทุกสถานการณ์วิกฤตไปด้วยกัน 

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ในทุกเทศกาลกินเจ ผักสด และสินค้าที่ทำจากพืช จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นทั้งจากกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร และลูกค้าประชาชนที่ถือศีลกินเจเป็นประจำทุกปี โดยสินค้าผักที่ได้รับความนิยมสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย เห็ดเข็มทอง  กระหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี  มะเขือเทศท้อ ไช้เท้า เผือก ผักบุ้งจีน มะระจีน แตงร้าน  ผักกาดหอม ซึ่งเป็นผลผลิตจากเกษตรกรไทยที่ผ่านมาตรฐานคุณภาพ ปลอดภัยจากสารตกค้าง โดยแม็คโครได้สนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำให้กับเกษตรกรเพื่อรักษามาตรฐานและคุณภาพ ความปลอดภัยในสินค้าประเภทนี้ ให้สามารถส่งผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายที่แน่นอนและสร้างรายได้มั่นคงยั่งยืน



สำหรับเทศกาลเจปีนี้ เพื่อลดค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชน เราได้นำสินค้าในกลุ่มเจจำนวนมาก ทั้งผัก ผลไม้ วัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารเจ เห็ดหอม  โปรตีนเกษตร ฯลฯ มาจัดรายการลดราคา พร้อมยังมีสินค้าที่ตอบโจทย์การกินเจวิถีใหม่ด้วยชุดผักแพ็คให้ลูกค้าได้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ชุดผักพร้อมปรุง อาทิ ชุดผักชาบู ชุดผัดขิงฝอย ชุดผักน้ำพริก ชุดแกงเขียวหวาน ชุดผัดผักสามสหาย  น้ำพริกเจเมนูต่างๆ ฯลฯ โดยเรามุ่งเน้นความคุ้มค่าคุ้มราคาเป็นสำคัญ อาทิ โปรแกรมลดราคา 10 บาท เมื่อซื้อสินค้าผัก ผลไม้และชุดผักแพ็คที่ร่วมรายการครบ   3 รายการ ตั้งแต่วันนี้ถึง 12 ตุลาคม



แม็คโคร มุ่งมั่นในการดำเนินนโยบายเคียงข้างเกษตรกรไทยมาอย่างต่อเนื่อง มีคู่ค้าที่เป็นเกษตรกรรายย่อย จำหน่ายผ่านแม็คโครกว่า 7,500 ราย พร้อมจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างโอกาสให้เกษตรกรส่งผลผลิตขายโดยตรงได้มากขึ้น รวมถึงแม็คโครยังมีทีมพี่เลี้ยงเกษตรกร ประจำภูมิภาคต่างๆ คอยทำหน้าที่ในการลงพื้นที่หาผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อยที่มีคุณภาพ และร่วมกันพัฒนาเพื่อให้เกิดการทำเกษตรที่ยั่งยืนในระยะยาว 



ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า เทศกาลกินเจปีนี้อาจไม่คึกคักเหมือนที่ผ่านมา เพราะพี่น้องประชาชนยังมีความกังวลในเรื่องการใช้จ่าย แม็คโครจึงได้ทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยลดค่าครองชีพ ให้ทุกคนสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบถือศีลกินเจได้ตลอดเทศกาล และยังเป็นการสนับสนุนผลผลิตการเกษตร ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไทยให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันนางศิริพร กล่าวทิ้งท้าย

พิศาล นำทีมไทยประชุม Ad hoc Codex Intergovernmental Task Force on Antimicrobial Resistance ครั้งที่ 8


 

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พร้อมด้วยสัตวแพทย์หญิงธนิดา หรินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ กรมปศุสัตว์ นำทัพผู้แทน มกอช. กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร อย. และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมการประชุม Ad hoc Codex Intergovernmental Task Force on Antimicrobial Resistance ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 4-9 และ 13 ตุลาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยมีผู้แทนประเทศสมาชิกและผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมกว่า 300 คน จากทั่วโลก



นายพิศาล พงศาพิชณ์ กล่าวว่า ในการประชุมมีการแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อหาข้อสรุปในการกำหนดเอกสารแนวทางการบูรณาการการติดตามและเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่มาจากอาหาร (Guidelines on Integrated Monitoring and Surveillance of Foodborne Antimicrobial Resistance, GLIS) และเอกสารหลักปฏิบัติที่ดีในการลดและควบคุมเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่มาจากอาหาร (Code of Practice to Minimize and Contain Foodborne Antimicrobial Resistance; COP)



ทั้งนี้ ทีมไทยได้เสนอให้ที่ประชุมคำนึงถึงความแตกต่างทางทรัพยากร และองค์ความรู้ของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เพื่อให้สามารถนำเอกสารมาใช้ปฏิบัติได้จริง และไม่ก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะการปฏิบัติที่เกี่ยวกับพืช รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานด้านพืช ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกยังมีข้อมูลอยู่จำกัด เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการทำงานเพื่อลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างมีประสิทธิภาพที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อาหาร






"เอกสารทั้ง 2 ฉบับจะนำเสนอเพื่อให้ที่ประชุม CAC ทราบความคืบหน้าการดำเนินการต่อไป โดยคาดหวังว่าจะประกาศใช้ได้ภายในปี 2564 นี้ เพื่อเป้าหมายในการลดและแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืน" เลขาธิการ มกอช. กล่าว

ซีพี-ซีพีเอฟ ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วมต่อเนื่อง เร่งช่วยพนักงาน-ประชาชนชาวอยุธยา-สระบุรี


 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดยชาวซีพี-ซีพีเอฟจิตอาสา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอาหารสัตว์บกหนองแค จังหวัดสระบุรี เร่งลงพื้นที่ส่งมอบอาหาร ภายใต้โครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" อย่างต่อเนื่อง พร้อมผนึกกำลังช่วยเหลือเพื่อนพนักงานและพี่น้องประชาชนชาวอยุธยาและสระบุรี ที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน

นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก นำทีมผู้บริหารโรงงานลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่มอบไข่ไก่สด และอาหารสำเร็จรูป ในโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" เพื่อช่วยเหลือเพื่อนพนักงานของโรงงานฯ  และครอบครัวที่ประสบภัยน้ำท่วมฉับพลัน จากปริมาณน้ำในแม่น้ำป่าสักที่เพิ่มสูงขึ้นจนน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พร้อมเป็นกำลังใจให้ผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยกัน


 

ขณะเดียวกัน ได้ออกสำรวจพื้นที่และตรวจระดับน้ำในเขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ พบว่าระดับน้ำสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการไหลเข้าท่วมพื้นที่บ้านเรือนประชาชน จึงได้สั่งการให้ทีมงานจิตอาสาซีพี-ซีพีเอฟ ชมรมบำเพ็ญประโยชน์โรงงานอาหารสัตว์ท่าเรือ ระดมความช่วยเหลือเข้าดูแลทั้งเพื่อนพนักงานและพี่น้องประชาชนในพื้นที่รอบโรงงาน โดยเฉพาะในชุมชนโพธิ์ไทรซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง ชาวชุมชนต้องขนย้ายข้าวของขึ้นที่สูงให้ทันเวลากับกระแสน้ำที่กำลังเข้าท่วมพื้นที่ ทางทีมงานได้นำเหล็กจากโรงงานฯ ไปช่วยต่อเติมพื้นให้สูงขึ้นเหนือระดับน้ำท่วม และช่วยกันเร่งขนสิ่งของโดยเร็วที่สุด โดยความช่วยเหลือทั้งหมดอยู่ภายใต้แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด



นอกจากนี้ ที่จังหวัดสระบุรี นายวรพล เจียมอ่อน ผู้บริหาร CSR โรงงานอาหารสัตว์บกหนองแค เป็นผู้แทนซีพีเอฟ ในการสนับสนุนถุงบรรจุทราย ในสถานการณ์ฉุกเฉิน บริเวณคลองระพีพัฒน์ เพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในเขตชุมชนบ้านหนองจรเข้  อำเภอหนองแค  โดยปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจรเข้ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกุ่มหัก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวชุมชน ที่ร่วมกันบรรจุทรายเพื่อทำเป็นแนวกั้นน้ำจากคลองระพีพัฒน์  ได้กล่าวขอบคุณซีพีเอฟ และชื่นชมโรงงานอาหารสัตว์บกหนองแค ที่เร่งช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติงานแก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ถือเป็นการช่วยป้องกันคนทั้งชุมชนจากผลกระทบของน้ำ ที่อาจสร้างความเสียหายและความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้

สถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ ซีพีเอฟได้ส่งมอบความช่วยเหลือถึงมือคนไทยในหลายจังหวัด อาทิ อำเภอศรีเทพ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอท่าตะโก และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอโนนไทย อำเภอโนนสูง และอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา, อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ล่าสุดที่ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...