นายพิศาล พงศาพิชณ์
เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช.
เป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยกำหนด ตรวจสอบ รับรอง ควบคุม
และส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
เพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพ สินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้ได้มาตรฐาน
รวมทั้งเพื่อให้มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
โดยที่ผ่านมา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจงานให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ทั้งด้านเกษตรปลอดภัย และการพัฒนาระบบนิเวศเกษตร
ซึ่งให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต
ด้านเกษตรปลอดภัย ในปีที่ผ่านมา มกอช.
มีผลการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร จำนวน
15 เรื่อง
ทำให้ปัจจุบันมีมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ประกาศใช้แล้ว รวม 376 เรื่อง
การตรวจประเมินเพื่ออนุญาตและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน :
หน่วยรับรอง 24 ราย หน่วยตรวจ 5 ราย
และห้องปฏิบัติการ 104 ราย การติดตาม/กำกับดูแลการบังคับใช้มาตรฐานบังคับที่มีผล
บังคับใช้แล้ว 7 เรื่อง : ออกใบอนุญาตผู้ผลิต ผู้นำเข้า
ผู้ส่งออก 1,677 ฉบับ
ส่งเสริมการนำมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารไปใช้ :
ขยายการเรียนรู้ด้านมาตรฐานในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 41
แห่ง ถ่ายทอดความรู้ในการผลิตตามมาตรฐาน GAP แก่เกษตรกร 8 แห่ง
การสร้าง/พัฒนาบุคลากรด้านการตรวจประเมินรองรับการถ่ายโอนภารกิจการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า
และขยายผล
การใช้งานระบบตรวจสอบย้อนกลับ QR Trace โดยมีผู้สมัครใช้งานเพิ่มขึ้น
รวม 2,117 ราย รวมถึงการ เข้าร่วมประชุม/เจรจาเพื่อร่วมกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ
อาทิ การประชุมคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ ครั้งที่ 43 Codex Alimentarius
Commission และการประชุมคณะกรรมการโคเด็กซ์ในสาขาต่าง ๆ เช่น
สาขาระบบการตรวจสอบและการรับรองสินค้านำเข้าและส่งออก (CCFICS) สาขาสมุนไพรและเครื่องเทศที่ใช้ในอาหาร (CCSCH) สาขาสารปนเปื้อนในอาหาร
(CCCF) เป็นต้น การประชุม ASEAN Food Safety
Regulatory Framework Agreement (TF AFSRF) การประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสุขภาพสัตว์โลก
(OIE) การประชุมคณะกรรมาธิการมาตรการสุขอนามัยพืช
ภายใต้อนุสัญญา IPPC ที่ให้การรับรองร่างมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสุขอนามัยพืช
(ISPMs) รวม 11 เรื่อง เป็นต้น
การเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร : ตรวจรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้ามาตรฐาน Q
Restaurant มากกว่า 2,858 ร้าน, Q
Market 1,129 แผง, Q Modern trade 757 แห่ง
และตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ DGTFarm.com ที่มีสินค้ากว่า 710 ประเภท นอกจากนี้ มกอช.
ยังมีโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร ตามมาตรฐาน GAP
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมมาตรฐาน และการยกระดับมาตรฐาน
แหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP
ด้านการพัฒนาระบบนิเวศเกษตร
ได้ดำเนินโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งเป็น
หนึ่งในภารกิจงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ได้แก่
การยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน GAP การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมมาตรฐาน
และการยกระดับมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของ
มกอช. คือ การลงนามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรค และตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สาม
ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในห้วงการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อาเซียน-จีน ครั้งที่ 7 โดย มกอช. ได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรหารือกับฝ่ายจีน ส่งผลให้มีด่านนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น
จำนวน 16 ด่าน ซึ่งนับเป็นผลงานความสำเร็จระดับประเทศ
ทั้งนี้ ในปี 2564 นี้ มกอช. ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2564
“สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทเปิดใจใกล้ชิดประชาชน
ระดับดีเด่น” จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหาราชการ
(กพร.) โดยผลงานการทำงานร่วมกับภาคประชาชนในกระบวนการจัดทำมาตรฐานบังคับ
ทุเรียนแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก นำไปสู่การจัดทำมาตรฐาน เรื่อง
การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง (มกษ. 9046-2560) ส่งผลให้มีพื้นที่ปลูกทุเรียนที่ได้รับการรับรอง GAP เพิ่มสูงขึ้น และสามารถส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็ง ไปยังตลาดโลกได้
คิดเป็นมูลค่ากว่า 6,400 ล้านบาท
นับเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ความสำเร็จในการบริหารราชการของ มกอช. อย่างเป็นรูปธรรม
“อย่างไรก็ตาม
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ผู้บริโภคอาจจะมีความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ทั้งนี้
ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพียงต้องเลือกสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีเครื่องหมายรับรอง
เช่น เครื่องหมาย Q เครื่องหมายออร์แกนิค ไทยแลนด์ จากร้าน
ที่ผ่านการตรวจสอบควบคุมจากหน่วยงานของรัฐ
รวมทั้งซื้อสินค้าเกษตรหรืออาหารที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
หรือหากไปนั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร ให้สังเกตป้าย Q Restaurant ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจว่า ร้านอาหารนั้นใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย
นอกจากนี้ การซื้อสินค้าจากช่องทางออนไลน์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
โดย มกอช.ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่เรียกว่า DGTFARM.COM ซึ่งเป็นแหล่งรวมสินค้าเกษตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานมาจำหน่าย
ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานได้อย่างสะดวก
เหมือนไปเดินเลือกซื้อสินค้าเองที่ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตและสามารถมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยอีกด้วย”
เลขาธิการ มกอช. กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น