นายพิศาล พงศาพิชณ์
เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน
มกอช.
เป็นหน่วยงานที่ผ่านการรับรองสมรรถนะในฐานะหน่วยรับรองระบบงานความปลอดภัยอาหาร
โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (U.S.FDA) มีบุคลากรที่มีศักยภาพในฐานะหัวหน้าผู้ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาหารระดับภูมิภาค
และยังเป็นหน่วยงานประสานเครือข่ายฝึกอบรม Training Provider สำหรับการควบคุมเชิงป้องกันความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ ร่วมกับนิติบุคคล 18 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งการขยายเครือข่ายฝึกอบรมของ มกอช.
ทำให้ประเทศไทยมีเครือข่าย PCQI ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน
ที่มีความพร้อมต่อการจัดทำเอกสารควบคุมเชิงป้องกันในสถานประกอบการผลิตและแปรรูปเพื่อการส่งออก
ทั้งนี้ มกอช.
โดยกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (กนม.) ได้ติดตามศึกษา จัดทำข้อคิดเห็น
ตลอดจนถึงเผยแพร่ข้อมูลแนวทางดำเนินการเพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมายการปรับปรุง ความปลอดภัยของอาหารให้ทันสมัย (FSMA) ของสหรัฐอเมริกามาอย่างต่อเนื่อง
ในแต่ละระเบียบสำคัญพบว่าระเบียบว่าด้วยการทวนสอบซัพพลายเออร์ต่างประเทศ (Foreign
Supplier Verification Program: FSVP) ซึ่งเป็นระเบียบบังคับให้ผู้นำเข้าต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารระบบคุณภาพและแผนปฏิบัติภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เช่น แผนควบคุมเชิงป้องกัน และแผนการเรียกคืนสินค้า
ผู้นำเข้ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้เอกสารประกอบการลงทะเบียนในระบบบริการกลาง FSVP
Portal ของ U.S.FDA ที่สามารถตามสอบได้จนถึงผู้ผลิตขั้นต้น
(ในกรณีสินค้าสดหรือเน่าเสียง่าย) หรือผู้ประกอบการแปรรูป
ในขณะที่กระบวนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังต่างประเทศ
ทั้งในการขนส่งสินค้าทางเรือหรือทางอากาศ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการจัดหา รวบรวม
ขนส่ง เก็บรักษา ตลอดจนถึงพิธีการทางศุลกากรเพื่อนำเข้าและตรวจปล่อยสินค้าในหลายขั้นตอน
โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงจรการค้าจำนวนมาก เช่น พ่อค้าคนกลาง ผู้รวบรวมสินค้า
หรือผู้จัดหาที่ไม่ได้ดำเนินการจัดซื้อจากผู้ผลิตโดยตรง
จึงทำให้ผู้นำเข้าบางรายไม่สามารถจัดหาหลักฐานหรือเอกสารที่จำเป็นสำหรับการตามสอบได้
นอกจากนี้ ยังพบว่า U.S.FDA ไม่มีนโยบายเผยแพร่รายงานการปฏิเสธนำเข้าหรือกักกันสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งฝั่งไทยและผู้นำเข้าปลายทางในกรณีที่
เกิดปัญหาจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ FSVP ดังนั้น
มกอช. เห็นควรให้มีการสร้างเสริมองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการผลิตและแปรรูปต้นทาง
ผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ที่นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทย
และผู้ประกอบการในวงจรการค้าที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดโครงการสัมมนา “ทบทวนกฎหมาย FSMA เชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย มั่นใจส่งออกสหรัฐ”
ขึ้นผ่านระบบ Zoom เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมรวมทั้งมี
ความตระหนักต่อความสำคัญของการจัดทำ รวบรวม ตามสอบ
และรายงานข้อมูลการปฏิบัติให้สอดคล้อง
ตามกฎหมาย FSMA ตลอดวงจรการค้าระหว่างประเทศและห่วงโซ่การผลิต
รวมทั้งส่งเสริมโอกาสที่จะใช้
การตรวจรับรองเพื่อขึ้นทะเบียนภายใต้โปรแกรมการตรวจประเมินโดยหน่วยงานบุคคลที่สาม
“จากการสัมมนาครั้งนี้
จะช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการผลิตและแปรรูปต้นทาง ผู้นำเข้าในสหรัฐฯ
ที่นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทย และผู้ประกอบการในวงจรการค้าที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับพื้นฐานและความสัมพันธ์ของระเบียบสำคัญภายใต้กฎหมาย FSMA ที่เป็นกฎหมายแม่บท
ความปลอดภัยอาหารของสหรัฐอเมริกา
รวมทั้งเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญต่อกระบวนการตามสอบและจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ
เอกสารด้านการควบคุมเชิงป้องกัน ตลอดจนถึงการประสานข้อมูลระหว่างวงจรการค้า”
เลขาธิการ มกอช. กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น