วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566

นักวิจัย มรภ.สวนสุนันทา โชว์กลยุทธ์ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชนตามอัตลักษณ์


    ผศ.ดร.ชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และหัวหน้าโครงการวิจัย ภายใต้ทุนสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐาน (
Fundamental Fund) ประเภท Basic Research Fund ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เดินหน้าดำเนินงาน โครงการนวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มของผผลิตภัณฑ์ด้วยทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงคราม สู่เศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนพัฒนากลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวชุมชน สู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดสมุทรสงคราม




    ผศ.ดร.ชลภัสสรณ์ กล่าวว่า “โครงการนวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ด้วยทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงาร คือ เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงคราม สู่เศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้งเป็นการพัฒนากลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวชุมชนไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก จาการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ตลอดจนเป็นการบรูณาการนวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ด้วยทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงครามให้เป็นที่รู้จักและนิยมในกลุมนักท่องเที่ยวโดยทั่วกัน




    ซึ่งการศึกษาและดำเนินงานในโครงการดังกล่าวครั้งนี้ ได้มีดำเนินการศึกษานวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่ ในพื้นที่ ตำบลดอนมะโนรา และตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยได้รับความร่วมมือจาก ประชนชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชนตลอดจนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อาทิ นายบุญรัตน์ ลิ้มไพบูลย์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสร้างสรรค์ และ นายสุชล สุขเกษม ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสารภี ฯลฯ ในการสนับสนุนข้อมูลพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำเนินงานและได้นำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแนววทางความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ด้วยทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวชุมชน และยังนำไปถ่ายทอดต่อยังบุคคลที่สนใจ จนเห็นผลเป็นรูปธรรมสร้างประโยขน์ ให้ประชาชนในพื้นที่นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

    และจากข้อมูลและตัวชี้วัดของผลการดำเนินโครงการฯดังกล่าวในครั้งนี้ พบว่า สามารถลดต้นทุนรายจ่ายจากการนำเข้าวัตถุดิบในชุมชนเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ได้ถึงร้อยละ2 อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการในชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 มีการถ่ายทอดนวัตกรรมมาสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่และชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 นอกจากนี้ที่สำคัญยังพบว่ามีการนำนวัตกรรมต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาใช้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ” ผศ.ดร.ชลภัสสรณ์ กล่าว

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...