ฟาร์มปศุสัตว์ในระบบเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของประเทศไทยมีพัฒนาการในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่ทั่วโลกยอมรับ
หรือการคิดค้นนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์ด้วยโปรไบโอติกส์ที่ดีต่อสุขภาพสัตว์ ส่งผลถึงความปลอดภัยในอาหารสำหรับผู้บริโภคในทุกประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของผู้นำอุตสาหกรรมอย่าง ซีพีเอฟ หรือ
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล
รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตฐานฟาร์มและข้อกำหนดลูกค้า ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า
บริษัทมุ่งเน้นหลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว”
(One Health) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาใช้ในการเลี้ยงสัตว์
ควบคู่การยึดหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดี
ครอบคลุมกิจการทั้งในไทยและต่างประเทศ ให้สัตว์ได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สามารถแสดงพฤติกรรมได้ตามธรรมชาติ
ซึ่งปัจจุบันสัตว์ในฟาร์มของบริษัทฯ 100% ได้รับการเลี้ยงดูตามหลักอิสระ 5 ประการ
ภายใต้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล
นอกจากนี้
บริษัทยังยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน
จากการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการเลี้ยงสัตว์ด้วยจุลินทรีย์ที่ดีอย่าง “โปรไบโอติกส์” ช่วยจัดสมดุลลำไส้
ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วย
และไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโต ตลอดการเลี้ยงดู
ตอกย้ำการเพิ่มสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี ซึ่งดีต่อทั้งสุขภาพสัตว์ คน
และสิ่งแวดล้อม
“มาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ในอุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย
มีการตรวจสอบเคร่งครัดทั้งจากภาครัฐและประเทศคู่ค้า ดังนั้น
จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเลี้ยงสัตว์อย่างแออัด
หรือใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมากเกินความจำเป็น ตามที่มักมีรายงานกล่าวหาแบบเหมารวม
ขณะที่ซีพีเอฟมีพัฒนาการในเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง
ภายใต้เป้าหมายสำคัญคือการผลิตอาหารที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค” น.สพ.พยุงศักดิ์กล่าว
ด้าน น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร ซีพีเอฟ กล่าวเพิ่มเติมว่า
ซีพีเอฟจะเน้น "การป้องกัน" ไม่ให้เกิดโรคหรือผลกระทบใดๆต่อสุกร
โดยฟาร์มสุกรทั้งหมดของบริษัทเป็นฟาร์มระบบปิดตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์
และวางระบบการบริหารจัดการฟาร์มในระดับไบโอซีเคียวริตี้
พร้อมทั้งมีการให้วัคซีนแก่ลูกสุกรตามระยะเวลาที่สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเป็นผู้กำหนด
ส่งผลให้ปัญหาเจ็บป่วยเกิดขึ้นน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม หลักสวัสดิภาพสัตว์นั้น
หากพบสัตว์ป่วยต้องให้การรักษา ดังนั้น ในกรณีที่พบการเจ็บป่วยแล้วเท่านั้น
จึงจะมีการให้ยา โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มอย่างเข้มงวด
และมีการเว้นระยะหยุดยาที่เหนือกว่ามาตรฐานทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีการตกค้างหรือส่งผลกระทบใดๆ
ต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เมื่อถึงโรงชำแหละ
สุกรจะถูกตรวจสอบซ้ำอีกครั้งว่าปราศจากสารตกค้างจริงๆ
จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้ารับการชำแหละ
สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้อีกขั้นตอนหนึ่ง
ด้านความมุ่งมั่นในการป้องกันเชื้อดื้อยานั้น
ซีพีเอฟ ได้ยกเลิกรายการยารักษาสัตว์ ที่อยู่ในกลุ่มยาต้านจุลชีพ
ที่อาจส่งผลกระทบและเป็นยาหลักที่ใช้รักษาโรคในคน เช่น โคลิสติน
ออกจากระบบการจัดซื้อทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2559
เพื่อกันยาต้านจุลชีพที่สำคัญไว้ใช้กับคน
โดยในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จะมุ่งเน้นวิธีป้องกันโรค ตามหลักการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio-security) ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ทั้งในสัตว์และในคนไปพร้อมกัน
จากการดำเนินการด้านการป้องกันผลกระทบใดๆ
ต่อสัตว์ และดูแลสุขภาพสัตว์อย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้ซีพีเอฟได้รับการคงสถานะมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์-Animal Welfare ระดับ Tier 3
ในรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (The Business
Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW) ต่อเนื่องเป็นปีที่
2 ติดต่อกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น