อ.ส.ค.เปิดฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมเป็นครั้งแรก พร้อมเผยเตรียมผลักดันเป็นฟาร์มสาธิตต้นแบบที่มีเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มที่ทันสมัยนำร่องแห่งแรกของประเทศ เพื่อใช้เป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรุ่นใหม่นำไปปรับใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโคนมของตัวเอง
นายพีระ ไชยรุตม์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.) กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี( ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณ อ.ส.ค.ยืมเงินจำนวน51.7ล้านบาท จากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศสำหรับลงทุนในการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง(Thai-Denmark Smart Dairy Farm) ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมานั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมของประเทศ และสำหรับใช้ในการศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฟาร์มด้วยเทคโนโลยี เช่น การสแกนเบอร์โค เพื่อเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ระบบรีดนมแบบไปป์ไลน์ที่บันทึกปริมาณน้ำนมดิบรายตัวรายวัน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (การจัดของเสียในฟาร์ม) และคำนึงถึงการกินอยู่ของแม่โคตามหลักสวัสดิภาพสัตว์
“ฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง ถือเป็นฟาร์มสาธิตเชิงธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ของอ.ส.ค. ซึ่งอ.ส.ค.มีแผนที่จะพัฒนาให้เป็น Smart Dairy Farm ใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการฟาร์ม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติและสร้างบุคลากรมืออาชีพด้านการเลี้ยงโคนม รวมทั้งเป็นฟาร์มสำหรับใช้ในการศึกษาพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฟาร์มให้มีความสะดวกและเหมาะสมกับการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรยุคใหม่ ที่สอดสอดคล้องกับหลักการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare)และถือเป็นฟาร์มสาธิตต้นแบบที่เปิดนำร่องเป็นฟาร์มแรกของประเทศไทย ”นายพีระ กล่าว
นายพีระ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงมีจำนวนแม่โครีดนมจำนวน120 ตัว มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการฟาร์ม เช่น การเลี้ยงแบบขังในคอกและใช้อาหารผสมสำเร็จที่มีมาตรฐานตรงตามความต้องการของโคการจัดการคอกพักโคและระบบระบายความร้อนที่ทำให้แม่โคอยู่สบายตามหลักสวัสดิภาพสัตว์การบริหารจัดการและเก็บข้อมูลโครายตัวในระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งระบบการรีดนมที่มีการบันทึกปริมาณน้ำนมดิบรายตัวรายวันมีระบบทำความสะอาดโดยมีเป้าหมายให้มีการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงสำหรับนักวิชาการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมปีละไม่น้อยกว่า680คนและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมกิจการฟาร์มไม่น้อยกว่า10%จากปัจจุบันบันที่60,000คนต่อปี
ด้าน ว่าที่ร้อยตรีกิตตว์ธรรศ์ จิตต์มนัส หัวหน้ากองงานฟาร์มฝ่ายวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนมอ.ส.ค.กล่าวว่า อ.ส.ค.ได้ตั้งดัชนีชี้วัดความสำเร็จ(KPI) ของโครงการฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงไว้ 12 ด้าน อาทิ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 16กก/ตัว/วันแต่ทำได้ 21.75 กก./ตัว/ เปอร์เซ็นปริมาณเนื้อนมทั้งหมด (Total Solid) ไม่น้อยกว่า 12 ทำได้ 12.51 เปอร์เซ็นไขมัน (Fat) ไม่น้อยกว่า 3.5 ทำได้ 3.87 และเปอร์เซ็นธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนย (Solid not fat) ไม่น้อยกว่า 8.5 ทำได้ 8.67 ส่วนปริมาณน้ำนมดิบสูญเสียกำหนด 0 % ทำได้ตามเป้าคือ 0% นอกจากนี้ยังได้วางเป้าหมายมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมกิจการฟาร์มไม่ร้อยกว่า ปีละ 60,000 คนแต่เพียงระยะ 4เดือนหลังเปิดดำเนินการมีผู้เข้าเยี่ยมแล้ว 14,351ราย ส่วนผลดำเนินการด้านอื่นก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน อาทิ มีบุคลากรด้านกิจการโคนมเข้าฝึกอบรมและศึกษาดูงานจนถึงปัจจุบันแล้วจำนวน 932 รายวัน องค์ประกอบน้ำนมดิบสูงกว่ามาตรฐานการรับซื้อและมีรายได้จากการขายนมจนถึงปัจจุบันทำรายได้แล้ว 4.1 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น