นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์
รองอธิบดีกรมชลประทาน
ร่วมการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาจัดทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ นิเวศวิทยาทางทะเล
และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง
จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นายธรรมนูญ ศรีวรรธนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมด้วย นายสมเกียรติ แจ่มจันทร์
ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบุรี นายสันต์ จรเจริญ
ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน
และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการ เข้าร่วมประชุม ณ
ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี และผ่านระบบ Zoom
วัตถุประสงค์การประชุมในครั้งนี้
สืบเนื่องจาก กรมชลประทานได้ดำเนินการโครงการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง
ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี รวมถึงการปรับปรุงคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำต่างๆ ได้แก่ D1 D9 D18 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามการเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยดังกล่าวอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง
ระบบนิเวศและการไหลวนของกระแสน้ำ กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษา
เพื่อจัดทำรายงานโครงการศึกษาจัดทำแบบจำลองคณิตศาสตร์
นิเวศวิทยาทางทะเลและผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้การดำเนินโครงการในพื้นที่ชลประทานออกสู่ทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
และเป็นที่ยอมรับของชุมชนในพื้นที่โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการนี้
ผู้แทนจากกรมชลประทานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา
จึงได้นำเสนอผลสรุปการศึกษาความเหมาะสม ลักษณะโครงการด้านวิศวกรรม
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้กับกลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ
ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมปัจฉิมนิเทศได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
เพื่อนำไปปรับปรุงผลการศึกษาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักวิชาการ
และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นของกรมชลประทานในการพัฒนาทรัพยากรน้ำควบคู่ไปกับความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชน
สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง
จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 200,000 ไร่ ในเขตอำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอชะอำ อำเภอเมืองเพชรบุรี
อำเภอเขาย้อย และอำเภอบ้านแหลม
เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยของจังหวัดเพชรบุรี ได้กว่า 40,000
ครัวเรือน ลดความเสียหายของพื้นที่เกษตรกรรม ได้กว่า 12,000 ไร่ อีกทั้งช่วยรักษาระบบนิเวศบริเวณชายฝั่ง
ช่วยผลักดันน้ำเค็มไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของเกษตรกร นอกจากนี้มีการสร้างถนนคันคลอง
เลียบคลองระบายน้ำทั้ง 3 (D1 D9 D18) ความยาวประมาณ 20-30
กิโลเมตร ช่วยทางด้านการคมนาคม
สร้างประโยชน์ที่ยั่งยืนให้กับชาวเพชรบุรีต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น