นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ
นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กล่าวถึงสถานการณ์ราคาเนื้อสุกรขายปลีกที่ปรับขึ้นว่า เป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง
จากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคภายในประเทศและนักท่องเที่ยงที่ทยอยเข้ามาท่องเที่ยว
หลังจากไทยเปิดประเทศเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
สวนทางกับปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดที่ลดลงกว่า 30% จากผลกระทบของโรค PRRS ในสุกร
ทำให้สุกรแม่พันธุ์และสุกรขุนเสียหายภาวะโรค
และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชะลอการเข้าเลี้ยงสุกรเพื่อรอดูสถานการณ์
หลังจากต้องแบกรับภาระขาดทุนมานานกว่า 3 ปี
จากกลไกตลาดที่เกิดขึ้น
ภาครัฐโดยท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
ได้มีนโยบายในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ด้วยการจัดโครงการ “พาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน” จำหน่ายหมูเนื้อแดงกิโลกรัมละไม่เกิน
130 บาท ที่คาดว่าจะเปิด 600
จุดทั่วประเทศ โดยเริ่มจำหน่ายแล้วที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี เชียงใหม่
แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น ยะลา ราชบุรี ฯลฯ
และจะดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศต่อไป
รวมถึงโครงการอาหารจานด่วนที่เปิดให้ร้านค้าทั่วไปในตลาดสดและร้านอาหารธงฟ้าจำหน่ายอาหารราคาจานละ
30-35 บาท และในห้างจานละไม่เกิน 35-40
บาท เพื่อช่วยค่าครองชีพผู้บริโภค
“การยื่นมือเข้ามาช่วยดูแลปัญหาอย่างเร่งด่วน
ด้วยนโยบายที่มุ่งช่วยเหลือทั้งผู้บริโภคและพี่น้องเกษตรกรกรไปพร้อมๆกัน
ของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สะท้อนการมองสถานการณ์อย่างรอบด้านและแก้ไขอย่างตรงจุด
ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ทำธุรกิจค้าขายยังคงเดินหน้าอาชีพของตนเองต่อไป
ผู้ค้าอาหารต่างๆยังคงค้าขายอาหารการกินได้ตามปกติโดยไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะราคา
พี่น้องประชาชนมีทางเลือกในการบริโภค
มีช่องทางการซื้อหาวัตถุดิบอาหารในราคาที่จับต้องได้
ขณะที่คนเลี้ยงหมูที่ต้องขาดทุนสะสมมาถึง 3 ปี
ก็ได้ลืมตาอ้าปาก พอมีรายได้ต่อทุนประคองอาชีพเดียวนี้ต่อไป
เกษตรกรทุกคนขอขอบคุณการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องประชาชนและอาชีพของเกษตรกรที่เข้าใจและเข้าถึงหัวใจของปัญหา
และปล่อยให้กลไกตลาดได้ทำงานซึ่งจะทำให้ราคาหมูปรับเข้าสู่สมดุลได้เอง” นายสิทธิพันธ์ กล่าว
นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กล่าวอีกว่า ผลเสียหายในช่วง 7-8 เดือนที่ผ่านมา จากราคาสุกรขุนต่ำกว่าต้นทุนทั้งประเทศมีมูลค่ารวม 8,000-10,000
ล้านบาท โดยมีราคาขายต่ำสุดที่ 56 บาทต่อกิโลกรัม
ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ปัจจุบันคาดว่าประเทศไทยจะมีการผลิตหมูขุนจำนวน 15
ล้านตัวต่อปี จากเดิมที่มีการผลิตอยู่ที่ 19-20 ล้านตัวต่อปี หรือลดลง 20-25 % โดยคาดว่าอย่างช้าอาจต้องใช้เวลา
2-3 ปี ในการเพิ่มปริมาณสุกรพันธุ์เข้าเลี้ยงใหม่
เพื่อให้มีปริมาณเนื้อสุกรสมดุลกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้แม้ราคาสุกรในปัจจุบันจะขยับตัวได้บ้าง
แต่ก็ยังไม่สามารถก้าวผ่านต้นทุนที่ต้องแบกรับในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นภาระหนี้สินภาคเกษตรที่ส่งผลต่อหนี้สินภาคครัวเรือน จึงขอความเห็นใจและความเข้าใจจากผู้บริโภค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น