วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กรมป่าไม้นำคณะผู้บริหารบ.เอกชน ดูงาน"โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง"



นายชาตรี รักษาแผน ผู้อำนวยการส่วนภาคีเครือข่ายฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว  สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้   นำคณะผู้บริหารของ บริษัท บี.กริม เรียลเอสเตท  เยี่ยมชมและศึกษาดูงานโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าที่เกิดจากความร่วมมือ 3 ประสาน    คือ ภาครัฐ  ภาคเอกชน  โดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ  และชุมชนรอบพื้นที่ ร่วมกันฟื้นฟูป่าบนพื้นที่เขาพระยาเดินธง  5,971 ไร่  ภายใต้ระยะเวลาดำเนินโครงการ  5 ปี (ปี  2559-2563)  เป็นผืนป่าแห่งแรกของประเทศไทยที่มีการนำการปลูกป่า 4 รูปแบบมาใช้ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ โดยมี  นายถนอมพงษ์ สังข์ธูป  หัวหน้าโครงการเขาพระยาเดินธง  และ นายสุธี สมุทระประภูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ ในฐานะคณะทำงานยุทธศาสตร์รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง  ให้การต้อนรับและร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกป่า ซึ่งทางบี.กริม เรียลเอสเตท  จะนำรูปแบบการปลูกป่าที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้กับแปลงปลูกป่าของบริษัทที่จังหวัดชลบุรี  




 

ปัจจุบัน ผืนป่า 5,971 ไร่ที่ได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ในโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง สามารถเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์และฟื้นฟูผืนป่าแห่งอื่น เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้  ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังได้ส่งเสริมชุมชนที่อยู่รอบพื้นที่โครงการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า  รวมทั้งสนับสนุนชุมชนปลูกผักปลอดสาร ปล่อยปลาลงเขื่อนและแหล่งน้ำสาธารณะ  เพื่อให้มีชุมชนแหล่งอาหารที่สะอาดและปลอดภัยอย่างยั่งยืน


อ.ต.ก. เปิดตลาดน้ำใจกลางกรุง ส่งตรงสินค้าคุณภาพจากเกษตรกรไทยถึงมือผู้บริโภค


   

นายศุภฤกษ์ เอี่ยมละออ รักษาการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เปิดเผยว่า ตลาดสด อ.ต.ก. เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างชาติ  ในเรื่องคุณภาพของสินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี จนได้รับการรับรองมาตรฐาน จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ตลาด อ.ต.ก. เป็น ตลาดสดน่าซื้อระดับดีมาก  และได้รับการจัดอันดับของสำนักข่าว CNN ว่าเป็นตลาดสดดีที่สุดอันดับ 4 ใน 10 ของโลก อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน รวมถึงสร้างแหล่งท่องเที่ยวใจกลางกรุงแห่งใหม่ อ.ต.ก. จึงได้เปิดตลาดเพิ่มขึ้นอีกโซนหนึ่งเป็น ตลาดน้ำ อ.ต.ก.ซึ่งอยู่ติดกับริมคลองบางซื่อ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ร่มรื่น สะดวกสบาย และมีมุมพักผ่อนริมน้ำ เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่มาจับจ่ายซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพจากเกษตรกรโดยตรง 


สำหรับสินค้าที่ขายในตลาดน้ำ อ.ต.ก. จะเน้นสินค้าที่มาจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรโดยตรง คัดสรรสินค้าในรูปแบบวิถีไทยมีเอกลักษณ์โดดเด่น จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ที่สำคัญมีการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าเกษตร  จำหน่ายผลไม้ตามฤดูกาล สลับหมุนเวียนไป และจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูป เป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้เกษตรกร ตลอดจนเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งตลาดน้ำแห่งนี้รองรับร้านค้าได้ไม่ต่ำกว่า 30 ร้านค้า มีสินค้าหลากหลายให้เลือกทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค


ทั้งนี้ จากการเปิดตลาดน้ำได้ระยะหนึ่งและเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งทาง อ.ต.ก. มีแนวคิดว่าต้องพัฒนาต่อยอดเพื่อยกระดับตลาดน้ำให้ได้รับความนิยมเทียบเท่ากับตลาดสด อ.ต.ก. รวมทั้งรองรับผู้บริโภคในรูปแบบ New Normal หลังวิกฤติไวรัสโควิด-19 ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารตลาดน้ำเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่และทำประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครู้จักตลาดน้ำ อ.ต.ก. แหล่งช้อปปิ้งสินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานเกรดพรีเมี่ยมแห่งใหม่ใจกลางกรุง

ขอเชิญชวนผู้บริโภคมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าเกษตรคุณภาพได้ที่ตลาดน้ำ อ.ต.ก. เปิดบริการทุกวัน ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวด ซึ่งการันตีความปลอดภัยทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่สำคัญยังเป็นการสนับสนุนสินค้าไทย ช่วยเกษตรกรไทยให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศและของโลกต่อไปนายศุภฤกษ์ กล่าวทิ้งท้าย

                             

 

 

 

 


วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เกษตรกรใต้ยืนหยัดดูแลผู้บริโภค ย้ำขายหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 80 บาท


          นายปรีชา กิจถาวร กรรมการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และนายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนไทย ทำให้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรทุกภูมิภาค ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ ร่วมใจกันดูแลปกป้องประชาชนไม่ให้เดือดร้อนด้านค่าครองชีพ ด้วยการให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการตรึงราคาขายหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มซึ่งเป็นต้นทางไม่ให้เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม มาโดยตลอด เพื่อให้ราคาจำหน่ายหมูหน้าเขียงที่ปลายทางอยู่ที่ 150-160 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้บริโภค และที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต่างร่วมกันบริหารจัดการการผลิตตลอดห่วงโซ่เพื่อให้มีปริมาณสุกรเพื่อการบริโภคในประเทศอย่างเพียงพอ


         “ราคาสุกรในปัจจุบันเป็นไปตามกลไกตลาด จากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ส่งผลให้กิจการและกิจกรรมหลายส่วนเริ่มเปิดดำเนินการ การจับจ่ายใช้สอยกลับมาคึกคัก ประกอบกับสถานศึกษาทั่วประเทศเปิดทำการเรียนการสอนแล้ว ยิ่งทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงทุกคนจะยืนหยัดในการผลิตสุกรให้เพียงพอกับการบริโภค ย้ำว่าประเทศไทยจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนสุกรอย่างแน่นอน ที่สำคัญจากโครงการ “เนื้อหมู...สู้โควิด” ของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรที่เริ่มดำเนินการแล้วในจังหวัดชลบุรี ด้วยการขายเนื้อหมูกิโลกรัมละ 130 บาท จากฟาร์มถึงมือผู้บริโภคไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงห้างค้าส่ง ค้าปลีก ต่างร่วมกิจกรรมทั่วประเทศ ส่งผลให้สถานการณ์ราคากลับสู่ภาวะปกติแล้ว” นายปรีชากล่าว
         นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตสุกรว่า จากปัญหาโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ที่มีการระบาดอย่างหนักโดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านทั้งจีน เวียดนาม เมียนมา ฯลฯ ทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในประเทศดังกล่าวเสียหายอย่างหนัก ปริมาณสุกรหายไปจากระบบเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อราคาเนื้อสุกรในประเทศเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว เช่น  จีนราคาหมูหน้าเขียงกิโลกรัมละ 350 บาท เวียดนาม 250 บาท และกัมพูชา 200 บาท เป็นต้น โรค ASF ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงเกิดความวิตกกังวล และตัดสินใจเลิกอาชีพเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยเกษตรกรในภาคใต้หายออกไปจากระบบถึงร้อยละ 20 ส่งผลให้ปริมาณแม่พันธุ์รวมเหลืออยู่ประมาณ 80,000 ตัว จากเดิมที่มีแม่พันธุ์มากกว่า 100,000 ตัว อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังสามารถป้องกันโรค ASF ไว้ได้ ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมนี้ และคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ประสบปัญหาขาดแคลนและเดือดร้อนจากภาวะราคาดังเช่นประเทศเพื่อนบ้าน
         ทั้งนี้ สมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ จะร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ จัด "มหกรรมหมูธงฟ้า" ส่งตรงหมูสดจากฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงสู่ผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนนโยบายการช่วยเหลือผู้บริโภค ในวันที่ 30 กรกฎาคม ศกนี้ ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพัทลุง และจัดพร้อมกันทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ในวันที่ 7 สิงหาคม โดยพื้นที่ภาคใต้เบื้องต้นจะจัดที่ จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ทยอยจัดจำหน่ายประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อวัน

สทนช. เดินเครื่องจัดทำผังน้ำ 8 ลุ่มน้ำสำคัญแก้ปัญหาน้ำในทุกมิติ คาดแล้วเสร็จทุกลุ่มน้ำทั่วประเทศภายในปี 66



สทนช. เดินเครื่องจัดทำผังน้ำ 8 ลุ่มน้ำสำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำชี มูล บางปะกง แม่กลอง สะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา และท่าจีน หลังประสบความสำเร็จจากผังน้ำต้นแบบที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำจันทบุรี เตรียมใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำยุคใหม่ มั่นใจช่วยแก้ไขปัญหาด้านน้ำในทุกมิติอย่างยั่งยืน พร้อมขยายผลให้ครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศภายในปี 66         

 
            วันนี้ (29 กรกฎาคม 2563) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการแถลงข่าวและเปิดการสัมมนา หัวข้อ เดินเครื่อง 8 ลุ่มน้ำ จัดทำผังน้ำ เครื่องมือบริหารน้ำยุคใหม่ณ ห้องสุทธิดา ชั้น 2 โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ว่า สทนช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำผังน้ำตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561   โดยเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมาได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาโครงการจัดทำแผนหลักการจัดทำผังน้ำ เพื่อกำหนดกรอบแนวทาง วิธีการศึกษาการจัดทำผังน้ำที่เหมาะสม กำหนดรูปแบบ แผนที่ผังน้ำให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและใช้ประโยชน์ได้ และได้คัดเลือกลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำจันทบุรี ศึกษาจัดทำผังน้ำเป็นพื้นที่ต้นแบบให้กับการจัดทำผังน้ำ ทั้ง  22 ลุ่มน้ำ ต่อไป และในปีนี้ สทนช. ได้ขยายผลต่อยอดการดำเนินการโดยคัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน จำนวน  8 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำท่าจีน มาดำเนินการศึกษาก่อนและจะทยอยดำเนินการให้ครอบคลุม 22 ลุ่มน้ำภายในปี 2566
            สำหรับกระบวนการในการดำเนินการศึกษานั้น จะต้องมีการศึกษาและทบทวนกายภาพของพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดินในอดีตถึงปัจจุบัน ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมือง การพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ 1. แผนที่แสดงโครงข่ายระบบระบายน้ำในปัจจุบัน ทิศทางการไหลของน้ำ วิเคราะห์สภาพและสาเหตุของการเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง 2. แผนที่แสดงระบบป้องกันน้ำท่วมและการบรรเทาอุทกภัย การบริหารจัดการอุทกภัย มูลค่าความเสียหายและวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา 3. แผนที่แสดงจุดประกาศภัยแล้ง การบริหารจัดการภัยแล้ง มูลค่าความเสียหายและวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา จากหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำแผนที่แสดงสิ่งปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานที่กีดขวางทางน้ำ ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านเพื่อนำมากำหนดขอบเขตผังน้ำ โดยใช้แบบจำลองในกรณีศึกษา อย่างน้อย 5 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 กำหนดขอบเขตผังน้ำจากสภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค (โครงข่ายถนน และช่องเปิดต่าง ๆ) ในสภาพปัจจุบัน กรณีที่ 2 กำหนดขอบเขตผังน้ำโดยมีการปรับปรุงโครงข่ายถนนและช่องเปิดต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ผังน้ำไม่ให้เกิดการกีดขวางทางน้ำ กรณีที่ 3 กำหนดขอบเขตผังน้ำโดยมีการพัฒนาโครงการที่อยู่ในแผนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความชัดเจนในการดำเนินการ กรณีที่ 4 กำหนดขอบเขตผังน้ำโดยมีการปรับปรุงโครงข่ายถนนและช่องเปิดต่าง ๆ ในพื้นที่ผังน้ำร่วมกับการพัฒนาโครงการที่อยู่ในแผนของหน่วยงานต่าง ๆ และการเสนอเพิ่มเติมโดยผู้ศึกษา กรณีที่ 5 กำหนดขอบเขตผังน้ำโดยมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การพัฒนาเมืองหรือพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญในลุ่มน้ำ  ที่อาจจะส่งผลกระทบในพื้นที่ผังน้ำร่วมกับการพัฒนาโครงการที่อยู่ในแผนของหน่วยงานต่าง ๆ และการเสนอเพิ่มเติมโดยที่ปรึกษา


            ทั้งนี้ในการศึกษาของทุกลุ่มน้ำจะต้องจัดทำแผนปรับปรุง ฟื้นฟูทางน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติที่เชื่อมโยงกับทางน้ำสายหลัก และในกรณีที่เป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำจะต้องเสนอแนะขนาดของช่องเปิดของอาคารในลำน้ำ  รวมทั้งดำเนินการศึกษาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งแสดงรายละเอียดข้อมูลของผังน้ำ ประกอบด้วย ขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมถึงตลอดทั้งสองฝั่งลำน้ำ ขอบเขตพื้นที่ผังน้ำ ขอบเขตโซนพื้นที่ในผังน้ำ (พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมระดับสูง กลาง ต่ำ ระดับต่าง ๆ) และรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีเป้าหมายในการลดความเสี่ยงต่อการดำรงชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้มีการพัฒนาในพื้นที่ผังน้ำ จะมีหลักเกณฑ์ในการพัฒนาและการก่อสร้างเพื่อลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากน้ำท่วมและความเสี่ยงจากการก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำที่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในพื้นที่ด้วย
            การศึกษาของทั้ง 8 ลุ่มน้ำในครั้งนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ16 เดือน เริ่มวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 และจะศึกษาแล้วเสร็จในวันที่ 20 กันยายน 2564  โดยจะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน คณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จำนวน 4 ครั้งต่อลุ่มน้ำ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันพิจารณา พร้อมสะท้อนปัญหาและความต้องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำผังน้ำไปใช้สนับสนุนแผนงานการป้องกันแก้ไขภัยแล้งและอุทกภัย รวมทั้งการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำได้อีกด้วยเลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เกษตรกรมีอาชีพเดียว ราคาหมูเป็นไปตามกลไกตลาด วอนผู้บริโภคเข้าใจ


 ราคาสินค้าเกษตร เป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญที่กระทบกับปากท้องต่อพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในยามที่มีวิกฤติหรือสถานการณ์ผิดปกติ อย่างช่วงหลังคลายล็อคดาวน์ ราคาสินค้าหลายตัวเริ่มขยับตัวขึ้นจากความต้องการบริโภคที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับเนื้อหมูกำลังเป็นประเด็นในขณะนี้ เดือดร้อนถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูที่กลายเป็นจำเลยซ้ำรอยผู้เลี้ยงไก่ไข่ว่าเป็นต้นเหตุของหมูแพง สาเหตุที่ทำให้เนื้อหมูในตลาดปรับเพิ่มขึ้นในขณะนี้ น่าจะมาจากความต้องการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายล็อคดาวน์ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่กลับมาเปิดดำเนินการ ผนวกกับโรงเรียนเปิดเทอม ทำให้ความต้องการเนื้อหมูในประเทศจึงฟื้นตัวตาม ทำให้เนื้อหมูหน้าเขียงปรับตัวสูงขึ้นในประวัติการณ์ ลามไปถึงผู้ประกอบการร้านอาหารต่างปรับราคาอาหาร กลายเป็นซ้ำเติมคนไทยที่มีเงินในกระเป๋าน้อยกันอยู่แล้ว
  อย่างไรก็ตาม จากการพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรเลี้ยงหมูทั่วประเทศต่างยืนยันว่าจะช่วยกันดูแลพี่น้องประชาชนไม่ให้ขาดแคลนเนื้อหมู หรือราคาปรับสูงขึ้นจนกระทบต่อค่าครองชีพของผู้คนที่ยังอยู่ในภาวะความไม่แน่นอนสูงมาก โดยในขณะนี้ เกษตรกรขายราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มอยู่ในระดับ 78-79 บาทต่อกิโลกรัม แต่ไม่ให้ไม่เกินระดับที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศได้ประกาศขอความร่วมมือกับเกษตรกรทั่วประเทศให้ขายในระดับราคานี้มาโดยตลอด ตามที่ให้คำมั่นกับกรมการค้าภายในที่ต้องดูแลผู้บริโภค ซึ่งหากไปสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูต่างบอกว่าระดับราคาที่ปรับขึ้นนี้ ก็เพียงทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรพออยู่ได้ พอต่อลมหายใจให้เกษตรกรคนเลี้ยงหมูกว่า 2 แสนรายได้ลืมตาอ้าปากได้บ้าง หลังจากราคาหมูตกต่ำตลอดในช่วงที่ประเทศประกาศล็อคดาวน์หยุดกิจกรรมทุกอย่างเพื่อหยุดเชื้อ และช่วยปลดแอกภาระการขาดทุนสะสมที่เกษตรกรต้องเลี้ยงหมูแบกมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ไม่ต้องล้มหายตายจากไปเหมือนช่วงที่ผ่านมา ซึ่งไม่เพียงช่วยคนเลี้ยงหมูให้ “ไปต่อ” ได้เท่านั้น
   ต้นทุนการเลี้ยงหมูในวันนี้อยู่ที่ 71 บาทต่อกิโลกรัม และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ต่างปรับตัวขึ้น ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ที่สำคัญเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศยังอยู่ระหว่างการทำสงครามต่อสู้กับ โรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ทำให้มีต้นทุนการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และก่อนหน้านี้ ช่วงที่มีโควิด-19 ระบาด เกษตรกรที่เลี้ยงหมูขาดทุนอย่างหนักมาหลายเดือน เพราะราคาตกต่ำมาก ที่ผ่านมามีความวิตกกังวลเรื่องโรค ASF ในสุกร ที่ระบาดในหลายประเทศ เกษตรกรทุกคนต่างเข้าเลี้ยงสุกรอย่างระมัดระวัง พบว่าสุกรในระบบของไทยหายไปกว่า 20% จากเดิมในปี 2562 ไทยที่มีสุกรในระบบประมาณ 20 ล้านตัว ที่สำคัญเกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น จากการเฝ้าระวังและป้องกัน ASF อย่างเข้มงวด ทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มถึงตัวละ 100 บาท แต่ทุกคนยินดีดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้มาทำลายอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร และเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ในห่วงโซ่ ทั้งยังเป็นการปกป้องผู้บริโภคไม่ให้ต้องได้รับความเดือดร้อนเหมือนกับประเทศอื่นในภูมิภาค เพราะเกิดภาวะขาดแคลนหมูจากโรคระบาด ASF ในสุกร จนทำให้ปริมาณหมูในประเทศเหล่านี้ลดหายไปจำนวนมาก
     แต่ถึงอย่างไรราคาหมูไทยก็ไม่ได้สูงไปกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค และปริมาณหมูก็มีมากเพียงพอกับการบริโภคในประเทศ เปรียบเทียบกับหมูเป็นหน้าฟาร์มในประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง กัมพูชาขายอยู่ที่ระดับราคาร่วม 100 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนเวียดนามราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 110 บาท ส่วนในประเทศจีนที่ในขณะนี้ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มอยู่สูงกว่า 140 บาท คิดง่ายๆ คนในประเทศเหล่านี้ต่างต้องทานเนื้อหมูในราคาที่สูงกว่าราคาหน้าฟาร์มประมาณ 2 เท่าและที่สำคัญ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูไทยทุกคนต่างตระหนักดีว่าต้องร่วมไม้ร่วมมือไม่ให้ผู้บริโภคต้องเดือดร้อนเพราะขาดแคลนเนื้อหมู ทั้งเน้นการป้องกันโรคอย่างแข็งขัน จนช่วยให้ที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศหนึ่งเดียวในภูมิภาคที่ปลอดจาก ASF และไม่เคยขาดแคลนหมูเหมือนประเทศอื่นๆ รวมทั้งยังช่วยกันประคับประคองราคาขายหมูเป็นหน้าฟาร์มให้ไม่สูงจนผิดปกติ เพราะผู้เลี้ยงหมูต่างรู้ดีว่าตัวเองมีเพียงอาชีพเดียวในการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว ไม่สามารถเปลี่ยนอาชีพเป็นอย่างอื่นได้ ขณะที่ผู้บริโภคมีทางเลือกมากมาย สามารถเลือกซื้อหาอาหารรับประทานแทนหมูได้ ทั้งปลา ปู กุ้ง ไก่ ไข่ หรืออาหารโปรตีนแทนได้อย่างไม่จำกัด ดังนั้น ผู้เลี้ยงหมูย่อมไม่ทำลายอาชีพตัวเอง ด้วยการฉวยโอกาสแค่ครั้งนี้เพียงครั้งเดียว แต่สุดท้ายวกกลับมาทำลายอาชีพตัวเองจนเจ๊งพังพาบไป

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เกษตรกรหมู ดีเดย์ 21ก.ค. ขายหมูลดค่าครองชีพ จากฟาร์มสู่ผู้บริโภคไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง


         น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สมาคมฯร่วมกับสมาชิกทั่วประเทศ จัดกิจกรรม “เนื้อหมู...สู้โควิด” จำหน่ายหมูสดลดค่าครองชีพประชาชนทุกภูมิภาคทั่วไทย ราคา 130 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อส่งตรงเนื้อหมูคุณภาพจากฟาร์มเลี้ยงถึงมือผู้บริโภค ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง นำร่องที่จังหวัดชลบุรีก่อนเป็นที่แรก ในวันที่ 21 กรกฎาคมศกนี้ และจัดจำหน่ายพร้อมกันทุกภาคในวันที่ 7 สิงหาคม ตอกย้ำความมุ่งมั่นของผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศในการดูแลประชาชน และให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการดูแลราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม ไม่ให้เกินกิโลกรัมละ 80 บาท เพื่อให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูหน้าเขียงปลายทางไม่เกิน 160 บาทต่อกิโลกรัม ย้ำว่าเกษตรกรทั่วประเทศต่างร่วมกันบริหารจัดการทั้งระบบเพื่อดูแลผู้บริโภคภายในก่อนมาโดยตลอด และการผลิตยังคงเพียงพอกับการบริโภค ไม่เคยมีปัญหาขาดแคลน


    “หมูมีชีวิตหน้าฟาร์มปัจจุบันราคาอยู่ที่ 78-79 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนสูงถึง 71 บาทแล้ว แต่เกษตรกรทุกคนยังร่วมกันตรึงราคาตามที่สัญญากับกรมการค้าภายใน แม้ว่าที่ผ่านมาจะต้องแบกรับภาระขาดทุนมานานกว่า 3 ปี และต้องเข้มงวดกับการทำตามมาตรฐานการป้องกันโรค ASF ด้วยระบบไบโอซีเคียวริตีเต็มรูปแบบ ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 100-200 บาทต่อตัว เพื่อป้องกันประเทศไทยจากโรคนี้ รวมทั้งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้เนื้อหมูที่ปลอดภัย และไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนเนื้อหมูดังเช่นประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียที่ปริมาณหมูเสียหายจากโรคนี้ จนทำให้ราคาหมูเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว” น.สพ.วิวัฒน์ กล่าว
      นอกจากนี้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและสมาชิกสมาคมฯ ได้ผนึกกำลังกับกรมการค้าภายใน  จัดหมูราคาถูกเพื่อจำหน่ายในงานธงฟ้าพาณิชย์ ที่จะจัดสินค้าราคาประหยัดลดค่าใช้จ่ายให้กับพี่น้องประชาชน ขณะเดียวกัน ห้างแม็คโคร ได้จัดโปรโมชั่นลดราคาเนื้อหมูทุกสาขาทั่วประเทศไทย ตั้งแต่วันนี้ถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เพื่อช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพของลูกค้าประชาชน

มกอช. มอบป้าย www.dgtfarm.com ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหารประสานประชา การันตีสมุนไพรอินทรีย์ Organic Thailand รายแรกของ dgtfarm.com



ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พร้อมด้วยนายไชยรัตน์ นวีภาพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี นายธีระศักดิ์ ขุมเงิน เกษตรจังหวัดลพบุรี นายสุพจน์ แก้วจรัสฉายแสง หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี และผู้แทนจากพาณิชย์จังหวัด ลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี ตรวจเยี่ยม พบปะเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ ไร่ทหารสานประชา พร้อมพบปะเกษตรกร เพื่อรับฟังปัญหาและให้คำแนะนำ เกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน และการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน การเพิ่มช่องทาง การจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ปลอดภัย ที่ได้มาตรฐานผ่านตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ www.dgtfarm.com โดยมีนางพิมพ์ชญา ภาฮุย ประธานกลุ่มวิสาหกิจวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหารสานประชา ให้การต้อนรับ และนำเยี่ยมชม แปลงสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ ณ ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี


โอกาสนี้ เลขาธิการ มกอช. ได้มอบป้าย www.dgtfarm.com ให้กับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหารประสานประชา โดยนางพิมพ์ชญา ภาฮุย ประธานกลุ่มฯ เป็นผู้แทนรับมอบป้าย เพื่อแสดงถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ ประเภทสมุนไพรอินทรีย์ Organic Thailand รายแรกของ dgtfarm.com ที่สมาชิกกลุ่มฯ ได้นำสินค้าสมุนไพรแปรรูป ขมิ้นชัน และฟ้าทะลายโจร นำมาเข้าระบบตลาดสินค้าออนไลน์ www.dgtfarm.com




ดร.จูอะดี กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหารสานประชา ตั้งอยู่ที่ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สมาชิกกลุ่ม มีทั้งหมดจำนวน 9 คน มีเนื้อที่ทำการเกษตร 20 ไร่ ทำการเกษตรผลิตสมุนไพร อินทรีย์ ชนิดสมุนไพรขมิ้นชันพันธุ์แดงสยามและฟ้าทะลายโจร ซึ่งได้รับการรับรอง Organic Thailand ตั้งแต่ปี 2560 และกลุ่มฯ มีลูกข่าย ที่มีความพร้อมทำเกษตรอินทรีย์จำนวน 100 คน อยู่ในจังหวัดลพบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันกลุ่มฯ ได้แปรรูปสมุนไพรขมิ้นชันพันธุ์แดงสยาม และฟ้าทะลายโจร ส่งให้องค์การเภสัชกรรม บริษัทไทยเฮิร์บ และบ้านรักขมิ้น รวมถึงเป็นสมาชิก ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ www.dgtfarm.com ด้วย

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

แม็คโคร ร่วมกับกรมการค้าภายใน รับซื้ออินทผลัมกว่า 15 ตันจากสวนนิมิตใหม่



บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำนโยบายเคียงข้างเกษตรกรไทย ผนึก กรมการค้าภายใน รับซื้อ อินทผลัมจากศูนย์วิปัสสนานิมิตใหม่ กว่า 15 ตันอย่างทันท่วงที  หลังโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรง  พร้อมส่งทีมวางแนวทางสร้างมาตรฐานปลอดภัยตลอดกระบวนการผลิต บรรจุ เพื่อการจำหน่ายผ่านระบบธุรกิจค้าส่งสมัยใหม่ในระยะยาว
นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ปัจจุบัน อินทผลัมสด ได้รับความนิยมบริโภคมากขึ้น และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกสร้างรายได้ ด้วยราคาดี และมีความต้องการสูง แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ผลผลิตมีแนวโน้มล้นตลาดสูงเนื่องจากขาดช่องทางการจัดจำหน่าย แม็คโคร จึงได้ร่วมกับ กรมค้าการภายใน  รับซื้ออินทผลัมสดจาก ศูนย์วิปัสสนานิมิตใหม่สังเวชนียสถาน ซึ่งในเฟสแรกรับซื้อในปริมาณ 10-15 ตัน และเตรียมวางแผนการพัฒนาร่วมกันในเฟสต่อไป


แม็คโคร ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมการค้าภายในและทราบว่า ผลผลิตที่ศูนย์วิปัสสนานิมิตใหม่ฯ มีปริมาณมาก จึงมาช่วยรับซื้อและปัจจุบันได้วางจำหน่ายอินทผลัมจากสวนนี้ที่แม็คโครแล้ว  โดยทีมงานได้ลงพื้นที่ คัดเลือกผลผลิตที่เหมาะสมกับลูกค้าแม็คโคร แนะนำการใช้สารเคมีและระยะเก็บเกี่ยวปลอดภัย, การคิดคำนวณต้นทุนของสินค้าตั้งแต่เริ่มออกผลผลิต ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว ผลิต หีบห่อทีร่วมกันออกแบบ ตลอดการขนส่งจนถึงศูนย์กระจายสินค้าของแม็คโคร อีกทั้งยังได้วางแผนล่วงหน้าร่วมกันเพื่อความเหมาะสมกับแผนการจัดจำหน่าย ส่งเสริมความพร้อมด้านบุคลากรและอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมเพียงพอด้วย


“สำหรับอินทผลัมที่แม็คโครรับซื้อจากศูนย์วิปัสสนานิมิตใหม่ฯ มี 2 พันธุ์คือ พันธุ์บาฮี (ผลสีเหลือง) และพันธุ์โคไนซี่ (ผลสีแดง) บรรจุในกล่องขนาด  500 กรัม แม็คโคร ยังวางแผนพัฒนาการรับซื้อสินค้าจากศูนย์วิปัสสนานิมิตใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้าจะทำงานร่วมกับศูนย์ฯ ในเรื่องปริมาณผลผลิตของแต่ละช่วงเพื่อให้แม็คโครได้เตรียมแผนการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงได้ในระยะยาวนางศิริพร กล่าว

กรมประมงจัดกิจกรรม ปล่อยกบลงนา ปล่อยปลาลงหนอง ฟื้นฟูลำคลองธรรมชาติ สร้างแหล่งอาหารให้ชุมชน



             ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานกิจกรรม ปล่อยกบลงนา ปล่อยปลาลงหนอง ฟื้นฟูลำคลองธรรมชาติณ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เพื่อเป็นการขยายพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง และเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนบางรายไม่ได้รับการจ้างงานต่อจึงทำให้ต้องกลับถิ่นที่อยู่อาศัยไปประกอบอาชีพเกษตรกรรม การลงนา ลงหนองน้ำ จึงเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของพี่น้องประชาชนชาวไทย ที่ใช้แสวงหาสัตว์น้ำจากธรรมชาติเพื่อการบริโภคและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน  ปัจจุบันสัตว์น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะลดจำนวนน้อยลง ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการจับสัตว์น้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์จนธรรมชาติไม่สามารถผลิตได้ทันต่อความต้องการรวมถึงความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งจากกิจกรรมของมนุษย์ ต่างล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดน้อยลงทั้งสิ้น


ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมประมง จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย สำนักงานประมงจังหวัดปทุมธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปทุมธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำปทุมธานี และศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดภาคกลาง (พระนครศรีอยุธยา) กำหนดจัดกิจกรรม ปล่อยกบลงนา ปล่อยปลาลงหนอง ฟื้นฟูลำคลองธรรมชาติขึ้น เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ และช่วยสร้างให้มีแหล่งอาหารให้กับราษฎรในพื้นที่ โดยกิจกรรมนี้จะปล่อยพันธุ์ปลาและกบนา ที่ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี พบได้น้อยลงเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและจากกิจกรรมของเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการปลูกพืช การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการตัดวงจรการแพร่ขยายพันธุ์และมีส่วนทำลายพันธุ์กบในธรรมชาติทั้งสิ้น  อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ ทางสำนักงานประมงจังหวัดปทุมธานีจึงดำเนินการคัดเลือกพื้นที่นาอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นพื้นที่นำร่องสำหรับดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้



 กิจกรรมในวันนี้ กรมประมงได้คัดเลือกศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เป็นพื้นที่จัดกิจกรรม โดยได้มีการปล่อยพ่อแม่พันธุ์กบ จำนวน 20 คู่ ลงในนาข้าว และปล่อยพันธุ์ปลาแก้มช้ำ และปลาตะเพียนทอง จำนวน 100,000 ตัว ลงแหล่งน้ำสาธารณะบริเวณใกล้เคียงพร้อมให้คำแนะนำข้อมูลทางวิชาการในด้านการเพาะเลี้ยงกบ ซึ่งหลังจากนี้ทางกรมประมงจะจัดส่งนักวิชาการลงพื้นที่ติดตามการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเป็นระยะเพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่อไป


เกษตรกรโอด เลี้ยงหมูขาดทุนสะสม 3 ปี ซ้ำต้นทุนสูงเหตุป้องกัน ASF เข้ม ยืนยันราคาหมูหน้าฟาร์มไม่เกิน 80 บาท



นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยถึงสถานการณ์สุกรในปัจจุบันว่า ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกรทั่วประเทศยังคงยืนราคาที่ 78-79 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประกาศราคาแนะนำ โดยเกษตรกรภาคเหนือยืนยันให้ความร่วมมือรักษาระดับราคาสุกรขุนไม่ให้เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่ให้สัญญากับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ไว้ว่าจะร่วมกันดูแลพี่น้องประชาชนไม่ให้มีปัญหาขาดแคลนสุกร และไม่ให้ราคาสูงจนกระทบค่าครองชีพประชาชน โดยระดับราคาดังกล่าวถือว่าเกษตรกรพอมีรายได้กลับมาต่อทุนเพื่อเลี้ยงสุกรในรุ่นถัดไปเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงสุกรยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ต่างปรับตัวขึ้น ตามความต้องการใช้ที่เพิ่ม ที่สำคัญเกษตรกรทั้งประเทศยังต้องต่อสู้กับ โรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ทำให้มีต้นทุนการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ กล่าวอีกว่าปัจจุบันการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะห้างร้านต่างๆที่กลับมาเปิดดำเนินการ ผนวกกับโรงเรียนเปิดเทอม ขณะที่ปริมาณผลผลิตหมูขุนออกสู่ตลาดน้อยลง หมูเป็นที่จับมีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ เน้นย้ำให้กลุ่มผู้เลี้ยงรักษาระดับราคาภายในประเทศเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน แม้ว่าเกษตรกรจะมีต้นทุนการเลี้ยงหมูสูงถึง 71 บาทแล้วก็ตาม แต่ทุกคนก็พร้อมตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไว้ที่ไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม และพร้อมให้ความร่วมมือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ในการจัดกิจกรรมจำหน่ายหมูลดค่าครองชีพประชาชนทั่วไทยสู้ภัยโควิด เพื่อส่งตรงหมูสดจากฟาร์มถึงมือผู้บริโภค โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง พร้อมกันทุกภูมิภาค วันที่ 7 สิงหาคม ศกนี้
หมูไทยราคาไม่ได้สูงไปกว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่ต้องรับมือกับโรค ASF ที่ระบาดอย่างหนักอย่างจีน เวียดนาม เมียนมา ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จากการขาดแคลนหมูอย่างหนัก เพราะภาวะโรค ช่วงนี้ที่ราคาหมูขยับขึ้นตามกลไกตลาด ขอให้ประชาชนเข้าใจและเห็นใจเกษตรกรที่ต้องเผชิญปัญหาราคาหมูตกต่ำจากผลผลิตล้นตลาดนานกว่า 3 ปี หากเห็นว่าหมูราคาสูงทุกท่านยังมีทางเลือกรับประทานโปรตีนอื่นๆทดแทนได้ ทั้งปลา ไข่ ไก่ แต่พวกเรามีอาชีพเลี้ยงหมูอาชีพเดียวเท่านั้น ขอให้กลไกตลาดได้ทำงาน หากถูกควบคุมมากจนเกินไปเกษตรกรอาจไม่สามารถไปต่อในอาชีพนี้ได้นายสุนทราภรณ์ กล่าว

มกอช. มุ่งยกระดับเกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้มาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค – หนุนใช้ DGTFarm.com



ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ภาคการเกษตรของประเทศไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมาก ประเด็นการพัฒนา    การเกษตรจึงเป็นประเด็นที่ภาครัฐให้ความสำคัญ และได้บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรของไทยสามารถยกระดับการผลิตให้เข้าสู่มาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในประเทศและนานาชาติ พัฒนาสินค้าเกษตร โดยเน้นให้เกิดการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมในการผลิต และการจัดการให้สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ตลาดโลกและวิกฤติภัยธรรมชาติต่างๆ ส่งผลให้การเกษตรของไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน


ทั้งนี้ เกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางการผลิตที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญ เพราะด้วยหลักการของเกษตรอินทรีย์ที่ให้ความสำคัญทั้งความปลอดภัยอาหารและความสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกษตรอินทรีย์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ประเทศ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีนโยบายให้สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ให้แพร่หลาย มากยิ่งขึ้น โดยให้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์บูรณาการร่วมกันในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการนี้ให้เกิดความสำเร็จตามเป้าประสงค์


ดร.จูอะดี กล่าวอีกว่า มกอช. ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดการรับรองระบบงาน การควบคุมการส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร ซึ่งรวมถึงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของไทย จึงได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง รู้เท่า ก้าวไกล เกษตรอินทรีย์ไทยเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร การตรวจรับรองตามมาตรฐาน และการแสดงเครื่องหมายการรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจและยกระดับเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand รวมถึงส่งเสริมและให้ความรู้เกษตรกรในการใช้ช่องทางการตลาดออนไลน์ DGTFarm.com โดยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของวิทยากรผู้ประสบความสำเร็จในวงการเกษตรอินทรีย์ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ            มีการขยายรูปแบบธุรกิจจากการทำเกษตรเป็นการแปรรูป การทำร้านอาหาร และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวจนเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรจำนวนมาก และผู้ประกอบการศูนย์กระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่เชื่อมโยงสินค้าเกษตรอินทรีย์จากที่ต่างๆ ส่งต่อให้กับธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมที่ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรจำนวนมากเกิดรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้น

มกอช. ได้ดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ เช่น การส่งเสริมให้ความรู้ด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่น่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค และช่องทางการจำหน่ายสินค้ามาตรฐานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ DGTFarm.com ตลอดจนการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคและผู้สนใจผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างอุปสงค์สินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้นเลขาธิการ มกอช.กล่าว

                               


“ประพัฒน์” กระตุก CPTPP ผลประโยชน์ภาคเกษตรไม่ชัดเจน ผูกขาดขอบเขตกว้าง รัฐต้องรอบคอบ ละเอียด ครบรอบด้าน



       นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบด้านการเกษตรและพันธุ์พืชเพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นในประเด็นผลกระทบด้านการเกษตรกรรมจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ (สผ.) 419  อาคารรัฐสภา  สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ศึกษาเนื้อหาในความตกลง CPTPP ตลอดจนศักยภาพเงื่อนไขความพร้อมของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยยิ่งมีความห่วงกังวล หากรัฐบาลจะตัดสินใจเข้าเป็นภาคีสมาชิก เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบอย่างกว้างขวางต่อภาคเกษตร และแน่นอนเกษตรกรรายย่อยที่ยากจนมีความด้อยโอกาสในด้านต่างๆ รวมทั้งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ การพึ่งพาตนเองในด้านพันธุ์พืชส่งผลไปยังความมั่นคงด้านอาหาร เนื่องจากความตกลง CPTPP มีข้อบัญญัติว่าให้ประเทศสมาชิกต้องเข้าร่วมอนุสัญญา UPOV 1991 ซึ่งการเข้าร่วมจะส่งผลให้ไทยต้องปรับปรุงพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ให้สอดคล้องซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงอธิปไตยคนในชาติด้วย


ทั้งนี้ สภาเกษตรกรแห่งชาติมีความเห็นว่าความตกลง CPTPP มีขอบเขตกว้างขวางมากถึง 30 เรื่อง/ข้อบท และประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับยังไม่ชัดเจน นอกจากนี้ประเทศสมาชิกความตกลงฯ 11 ประเทศ มีเพียงเม็กซิโกกับแคนาดาเท่านั้นที่ยังไม่เปิดเสรีทางเศรษฐกิจกับประเทศไทย นอกนั้น 9 ประเทศล้วนเปิดเสรีทางเศรษฐกิจกับประเทศไทยภายใต้กรอบความตกลงต่างๆไปก่อนหน้าแล้วทั้งสิ้น (กดอ่านข้อมูล : https://bit.ly/3je8fqb)

 รัฐบาลไม่ควรรีบเร่งจนขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ ละเอียด รอบด้าน และต้องมีมาตรการเพื่อสร้างเสริมศักยภาพเป็นเงื่อนไขความพร้อมของเกษตรกรกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมเป็นเบื้องต้นก่อน ถึงเวลานั้นจะเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกภายหลังเพื่อให้เกษตรกร ประชาชน และประเทศชาติได้สามารถเข้าถึงและได้รับผลประโยชน์จากความตกลง CPTPP ได้อย่างเต็มที่ในวันที่เข้าเป็นภาคีสมาชิกก็ไม่สายเกินไปนายประพัฒน์ กล่าว

                            

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

คกก.มาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นชอบ 4 ร่างมาตรฐาน

     คกก.มาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นชอบ 4 ร่างมาตรฐาน ถั่วเขียวผิวดำ-กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์-คอกแมว-สารพิษตกค้าง”เตรียมประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป


    นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 2/2563 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติม               ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับมาตรฐานทั่วไป (ฉบับที่...) พ.ศ. ... โดยให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี” และคำว่าว่า “เกษตรอินทรีย์” รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าบริการตรวจสอบมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัคิ ทางการเกษตรที่ดี (GAP) 16 ชนิด และเกษตรอินทรีย์ (Organic) 16 ชนิด สำหรับสินค้าเกษตรประเภทปศุสัตว์ และแก้ไขเพิ่มเติมค่าใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และเกษตรอินทรีย์ (Organic)
          ทั้งนี้ คกก.มาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นชอบ 4 ร่างมาตรฐาน ถั่วเขียวผิวดำ-กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์-คอกแมว-สารพิษตกค้าง”เตรียมประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป
         นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 2/2563 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติม ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับมาตรฐานทั่วไป (ฉบับที่...) พ.ศ. ... โดยให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี” และคำว่าว่า “เกษตรอินทรีย์” รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าบริการตรวจสอบมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัคิ ทางการเกษตรที่ดี (GAP) 16 ชนิด และเกษตรอินทรีย์ (Organic) 16 ชนิด สำหรับสินค้าเกษตรประเภทปศุสัตว์ และแก้ไขเพิ่มเติมค่าใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และเกษตรอินทรีย์ (Organic)
   ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้ให้ความเห็นชอบแผนการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร ปี 2564 จำนวน 20 เรื่อง และแผนการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร 3 ปี (พ.ศ.2564-2566) นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อดำเนินการประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไปของประเทศต่อไป ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ถั่วเขียวผิวดำ 2. กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ 3. การปฏิบัติการทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับคอกแมว และ 4 .สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด 
        “อย่างไรก็ดี ขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤติโรคระบาด อาทิ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไป มาตรฐานสินค้าเกษตรจะมีความสำคัญมากขึ้น จึงได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการกำหนดมาตรฐานให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค” รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าว 


     ด้าน ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า สำหรับสาระสำคัญของร่างมาตรฐานใหม่ 4 เรื่อง คือ 1. ถั่วเขียวผิวดำ เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตถั่วงอกที่มีคุณภาพ ซึ่งการจัดทำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรถั่วเขียวผิวดำ เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต และการปฏิบัติต่อถั่วเขียวผิวดำในขั้นตอนต่างๆ รวมถึงการเก็บรักษาและการขนส่ง ต้องปฏิบัติถูกสุขลักษณะ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในเวทีการค้าระหว่างประเทศ 2. กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีการผลิตกระถินสับและกระถินป่น เพื่อจำหน่ายให้กับผู้เลี้ยงสัตว์และโรงงานผสมอาหารสัตว์ ปีละไม่น้อยกว่า 60,000 ตัน และมีการแปรรูปเป็นกระถินสับ กระถินป่น และกระถินอัดเม็ดส่งจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี แต่กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ที่จำหน่ายทั่วไปมีลักษณะทางกายภาพและสัดส่วนของปริมาณใบ กิ่ง และลำต้นแตกต่างกัน ทำให้คุณภาพมีความผันแปร จึงได้กำหนดมาตรฐานกระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ ที่ผ่านการเตรียมและบรรจุหีบห่อใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) กระถินสับ เป็นผลิตภัณฑ์กระถินสำหรับอาหารสัตว์ที่ได้จากการนำส่วนต่างๆ ของกระถินสดมาสับและทำให้แห้งด้วยวิธีการที่เหมาะสม 2 กระถินป่นเป็นผลิตภัณฑ์กระถินสำหรับอาหารสัตว์ที่ได้จากการนำใบกระถินแห้งหรือกระถินสับมาบดละเอียดตามขนาดที่ต้องการ และ 3) กระถินอัดเม็ด เป็นผลิตภัณฑ์กระถินสำหรับอาหารสัตว์ที่ได้จากการนำกระถินป่นมาอัดเป็นเม็ดตามขนาดที่ต้องการ  3. การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับคอกแมว ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้นิยมเลี้ยงแมวหลากหลายพันธุ์ ทำให้มีผู้ประกอบการคอกแมวเพิ่มมากขึ้น และการดำเนินธุรกิจคอกแมวที่มีอยู่ในปัจจุบันบางแห่งยังขาดการพัฒนาจัดระเบียบให้เข้าสู่ระบบที่ดี ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพแมว สวัสดิภาพสัตว์และป้องกันการระบาดของโรคที่สำคัญ เช่น โรคไข้หัดแมว โรคพิษสุนัขบ้า โดยร่างมาตรฐานครอบคลุมข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับคอกแมวเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ลักษณะคอกแมว การจัดการคอกแมว บุคลากร การจัดการเลี้ยงและ/หรือเพาะพันธุ์ สุขภาพแมว การขนส่ง และการบันทึกข้อมูล เพื่อให้แมวมีคุณภาพ สุขภาพ และพันธุกรรมที่ดี โดยคำนึงถึงสุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม และ 4. สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (มกษ. 9002-2559) เป็นมาตรฐานที่มีการกำหนดค่า MRLs ในสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นอาหารและอาหารสัตว์ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการผลิต การค้า และการควบคุมตรวจสอบสินค้าเกษตรที่ผลิต นำเข้า และส่งออก ซึ่งสินค้าเกษตรของไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ และข้อมูลด้านวิชาการที่ใช้ในการพิจารณากำหนดค่า MRLs ยังไม่ครอบคลุมสินค้าเกษตรทุกชนิด โดยเฉพาะพืชเขตร้อน เช่น Imidaclopid Thiamethoxam ใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งสับปะรด เพลี้ยแป้งสับปะรดสีเทาที่เป็นศัตรูพืชของสับปะรด Carbaryl ใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งส้ม ที่เป็นศัตรูพืชของมังคุด และสารผสม Fluopyram+Trifloxystrobin ใช้เพื่อป้องกันกำจัดโรคผลเนาในลำไยจากเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae และโรครำแป้งในมะม่วงที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Oidium mangiferea
      “ที่ผ่านมา มกอช. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน มีมาตรฐานที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรไปแล้ว 356 เรื่อง” เลขาธิการ มกอช. กล่าว คณะกรรมการฯ ยังได้ให้ความเห็นชอบแผนการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร ปี 2564 จำนวน 20 เรื่อง และแผนการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร 3 ปี (พ.ศ.2564-2566) นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อดำเนินการประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไปของประเทศต่อไป ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ถั่วเขียวผิวดำ 2. กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ 3. การปฏิบัติการทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับคอกแมว และ 4 .สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด 
   “อย่างไรก็ดี ขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤติโรคระบาด อาทิ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไป มาตรฐานสินค้าเกษตรจะมีความสำคัญมากขึ้น จึงได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการกำหนดมาตรฐานให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค” รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าว 
     ด้าน ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า สำหรับสาระสำคัญของร่างมาตรฐานใหม่ 4 เรื่อง คือ 1. ถั่วเขียวผิวดำ เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตถั่วงอกที่มีคุณภาพ ซึ่งการจัดทำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรถั่วเขียวผิวดำ เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต และการปฏิบัติต่อถั่วเขียวผิวดำในขั้นตอนต่างๆ รวมถึงการเก็บรักษาและการขนส่ง ต้องปฏิบัติถูกสุขลักษณะ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในเวทีการค้าระหว่างประเทศ 2. กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีการผลิตกระถินสับและกระถินป่น เพื่อจำหน่ายให้กับผู้เลี้ยงสัตว์และโรงงานผสมอาหารสัตว์ ปีละไม่น้อยกว่า 60,000 ตัน และมีการแปรรูปเป็นกระถินสับ กระถินป่น และกระถินอัดเม็ดส่งจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี แต่กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ที่จำหน่ายทั่วไปมีลักษณะทางกายภาพและสัดส่วนของปริมาณใบ กิ่ง และลำต้นแตกต่างกัน ทำให้คุณภาพมีความผันแปร จึงได้กำหนดมาตรฐานกระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ ที่ผ่านการเตรียมและบรรจุหีบห่อใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) กระถินสับ เป็นผลิตภัณฑ์กระถินสำหรับอาหารสัตว์ที่ได้จากการนำส่วนต่างๆ ของกระถินสดมาสับและทำให้แห้งด้วยวิธีการที่เหมาะสม 2 กระถินป่นเป็นผลิตภัณฑ์กระถินสำหรับอาหารสัตว์ที่ได้จากการนำใบกระถินแห้งหรือกระถินสับมาบดละเอียดตามขนาดที่ต้องการ และ 3) กระถินอัดเม็ด เป็นผลิตภัณฑ์กระถินสำหรับอาหารสัตว์ที่ได้จากการนำกระถินป่นมาอัดเป็นเม็ดตามขนาดที่ต้องการ  3. การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับคอกแมว ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้นิยมเลี้ยงแมวหลากหลายพันธุ์ ทำให้มีผู้ประกอบการคอกแมวเพิ่มมากขึ้น และการดำเนินธุรกิจคอกแมวที่มีอยู่ในปัจจุบันบางแห่งยังขาดการพัฒนาจัดระเบียบให้เข้าสู่ระบบที่ดี ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพแมว สวัสดิภาพสัตว์และป้องกันการระบาดของโรคที่สำคัญ เช่น โรคไข้หัดแมว โรคพิษสุนัขบ้า โดยร่างมาตรฐานครอบคลุมข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับคอกแมวเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ลักษณะคอกแมว การจัดการคอกแมว บุคลากร การจัดการเลี้ยงและ/หรือเพาะพันธุ์ สุขภาพแมว การขนส่ง และการบันทึกข้อมูล เพื่อให้แมวมีคุณภาพ สุขภาพ และพันธุกรรมที่ดี โดยคำนึงถึงสุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม และ 4. สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (มกษ. 9002-2559) เป็นมาตรฐานที่มีการกำหนดค่า MRLs ในสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นอาหารและอาหารสัตว์ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการผลิต การค้า และการควบคุมตรวจสอบสินค้าเกษตรที่ผลิต นำเข้า และส่งออก ซึ่งสินค้าเกษตรของไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ และข้อมูลด้านวิชาการที่ใช้ในการพิจารณากำหนดค่า MRLs ยังไม่ครอบคลุมสินค้าเกษตรทุกชนิด โดยเฉพาะพืชเขตร้อน เช่น Imidaclopid Thiamethoxam ใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งสับปะรด เพลี้ยแป้งสับปะรดสีเทาที่เป็นศัตรูพืชของสับปะรด Carbaryl ใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งส้ม ที่เป็นศัตรูพืชของมังคุด และสารผสม Fluopyram+Trifloxystrobin ใช้เพื่อป้องกันกำจัดโรคผลเนาในลำไยจากเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae และโรครำแป้งในมะม่วงที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Oidium mangiferea
      “ที่ผ่านมา มกอช. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน มีมาตรฐานที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรไปแล้ว 356 เรื่อง” เลขาธิการ มกอช. กล่าว

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...