วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เกษตรกรหมู ดีเดย์ 21ก.ค. ขายหมูลดค่าครองชีพ จากฟาร์มสู่ผู้บริโภคไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง


         น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สมาคมฯร่วมกับสมาชิกทั่วประเทศ จัดกิจกรรม “เนื้อหมู...สู้โควิด” จำหน่ายหมูสดลดค่าครองชีพประชาชนทุกภูมิภาคทั่วไทย ราคา 130 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อส่งตรงเนื้อหมูคุณภาพจากฟาร์มเลี้ยงถึงมือผู้บริโภค ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง นำร่องที่จังหวัดชลบุรีก่อนเป็นที่แรก ในวันที่ 21 กรกฎาคมศกนี้ และจัดจำหน่ายพร้อมกันทุกภาคในวันที่ 7 สิงหาคม ตอกย้ำความมุ่งมั่นของผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศในการดูแลประชาชน และให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการดูแลราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม ไม่ให้เกินกิโลกรัมละ 80 บาท เพื่อให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูหน้าเขียงปลายทางไม่เกิน 160 บาทต่อกิโลกรัม ย้ำว่าเกษตรกรทั่วประเทศต่างร่วมกันบริหารจัดการทั้งระบบเพื่อดูแลผู้บริโภคภายในก่อนมาโดยตลอด และการผลิตยังคงเพียงพอกับการบริโภค ไม่เคยมีปัญหาขาดแคลน


    “หมูมีชีวิตหน้าฟาร์มปัจจุบันราคาอยู่ที่ 78-79 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนสูงถึง 71 บาทแล้ว แต่เกษตรกรทุกคนยังร่วมกันตรึงราคาตามที่สัญญากับกรมการค้าภายใน แม้ว่าที่ผ่านมาจะต้องแบกรับภาระขาดทุนมานานกว่า 3 ปี และต้องเข้มงวดกับการทำตามมาตรฐานการป้องกันโรค ASF ด้วยระบบไบโอซีเคียวริตีเต็มรูปแบบ ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 100-200 บาทต่อตัว เพื่อป้องกันประเทศไทยจากโรคนี้ รวมทั้งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้เนื้อหมูที่ปลอดภัย และไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนเนื้อหมูดังเช่นประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียที่ปริมาณหมูเสียหายจากโรคนี้ จนทำให้ราคาหมูเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว” น.สพ.วิวัฒน์ กล่าว
      นอกจากนี้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและสมาชิกสมาคมฯ ได้ผนึกกำลังกับกรมการค้าภายใน  จัดหมูราคาถูกเพื่อจำหน่ายในงานธงฟ้าพาณิชย์ ที่จะจัดสินค้าราคาประหยัดลดค่าใช้จ่ายให้กับพี่น้องประชาชน ขณะเดียวกัน ห้างแม็คโคร ได้จัดโปรโมชั่นลดราคาเนื้อหมูทุกสาขาทั่วประเทศไทย ตั้งแต่วันนี้ถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เพื่อช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพของลูกค้าประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...