ช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
คนเลี้ยงหมูต้องเชิญปัญหาและอุปสรรคมากมาย นับตั้งแต่ปี 2560
เป็นต้นมาชีวิตคนเลี้ยงหมูก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั้ง 200,000 ราย ต่างเผชิญกับปัญหาเดียวกัน คือ ราคาหมูผันผวนขึ้นลงตาม “วัฏจักรสุกร หรือวงจรราคาสุกร” (Hog Cycle) เข้าวังวนเดิมที่ว่า
"อาชีพเลี้ยงหมูเสีย 3 ปี ดี 1
ปี" ราคาหมูตกต่ำสามปี ขณะที่ราคาดีอยู่แค่ปีเดียว
กลายเป็นภาพสะท้อนว่าการเลี้ยงหมูเป็นอาชีพที่คนเลี้ยงมีรายได้ไม่แน่นอน
เนื่องจากใช้ระยะเวลาเลี้ยงนาน มีต้นทุนสูง และในแต่ละช่วงเวลาคาดเดาราคาได้ยาก
ทำให้ตอนที่ขาดทุนเกษตรกรต้องขาดทุนอย่างหนัก วงการนี้จึงต้องเป็นคนที่เลี้ยงมานาน
และอาศัยประสบการณ์ที่มีมาแก้ไขปัญหาเพื่อให้อยู่รอด
ยิ่งปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมหมูยิ่งถูกท้าทายด้วย
โรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ที่กลายเป็นความกดดันให้คนเลี้ยงหมูต้องทำทุกวิถีทาง
เพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้เข้ามาทำลายวงการหมูไทยและภาคผู้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ตลอดห่วงโซ่การผลิตที่มีมูลค่าสูงถึง
2 แสนล้านบาทนับว่าโชคดีที่ความพยายามของทุกภาคส่วนทั้งทางภาครัฐ
เอกชน และเกษตรกรทั่วประเทศ ที่ช่วยกันเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้อย่างเข้มงวด
ด้วยการปิดทุกความเสี่ยงจนทำให้ไทยคลองอันดับ “ประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ปลอดโรค
ASF” แม้ว่าเกษตรกรต้องมีค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคที่สูงขึ้น
แต่คนเลี้ยงหมูทุกคนก็ยินดีทำตามมาตรฐานการเลี้ยงและการป้องกันโรคที่ภาครัฐแนะนำ
ทั้งที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกกว่า 100 บาทต่อตัว
จากการใช้ยาฆ่าเชื้อโรคพ่นป้องกันทุกวันๆ ละ 2 ครั้ง
ตลอดจนค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าแรงที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรทั้งหมดยังคงพยายามประคอง “อาชีพเดียว” ของพวกเขาให้ไปต่อได้
เพื่อให้ไทยยังคงมีประชากรหมูเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ
ไม่ให้ขาดแคลนอย่างที่หลายประเทศกำลังเผชิญปัญหาอยู่จากปัญหา ASF ที่ผลักดันให้ราคาหมูในประเทศนั้นๆต้องเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น
จีนที่ราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มราคาปรับขึ้นไปถึง 141
บาทต่อกิโลกรัม เวียดนาม 109 บาทต่อกิโลกรัม กัมพูชาราคา 97 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาหมูไทยอยู่ที่ 72-80
บาทต่อกิโลกรัม
ด้วยปัจจัยคุณภาพหมูปลอดโรคของไทย
ที่มีมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยทางอาหาร และยังมีราคาถูกที่สุดในภูมิภาค
ทำให้เป็นที่ต้องการของทุกประเทศที่กำลังต้องการเนื้อสัตว์เพื่อป้อนคนในประเทศอย่างเพียงพอ
เรียกว่าเพิ่งจะมีโอกาสก็คราวนี้ที่หมูไทยจะกลายเป็นทัพหน้าตีตลาดต่างประเทศ
เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหลังวิกฤติโควิด ขอเพียงแรงผลักดันของทุกฝ่ายและขอความเข้าใจจากทุกคน
โอกาสที่เปิดกว้างให้กับเกษตรกรไทยนี้
ต้องรีบคว้าก่อนที่คนเลี้ยงหมูต้องล้มหายตายจากไปอย่างที่เป็นมา และต้องไม่ลืมว่า
เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูมีอาชีพเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนอาชีพเป็นอย่างอื่นได้
ขณะที่ผู้บริโภคเป็นกลุ่มคนที่มีทางเลือก
สามารถเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดใดก็ได้ตามต้องการ ยิ่งฤดูกาลนี้
มีอาหารธรรมชาติและโปรตีนทดแทนให้เลือกมากมาย ทั้งปลา ไข่ ไก่
ที่ล้วนราคาไม่แพงทั้งสิ้น หากสามารถคว้าโอกาสนี้ไว้ได้
ไม่เพียงช่วยให้คนเลี้ยงหมูทั่วประเทศกว่า 200,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรรายย่อยมากถึง
90% หรือราว 180,000 ราย
สามารถก้าวผ่านภาระขาดทุนสะสมตลอด 3 ปีไปได้เท่านั้น
ประโยชน์ยังต่อเนื่องถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์
ทำให้ราคาพืชผลกลับมาดีอีกครั้ง
ถือเป็นเรื่องที่ควรสนับสนุนให้หมูกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญ
ในการนำพาประเทศไปสู่ความมั่งคั่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น