องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย
(World Animal Protection) เผยรายงานระดับโลกในเรื่องทางออกโรคพิษสุนัขบ้าในคนให้หมดไปภายในปี
ค.ศ.2030 (All Eyes on Dogs) พบว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตประมาณ
59,000 คน และเกือบ 50%
ของผู้ถูกกัดโดยสัตว์ที่อาจมีเชื้อพิษสุนัขบ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นเงินกว่า 8.6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และมีการคาดการว่าจะมีอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกถึง
67,000 คนต่อปี
หรือมีผู้เสียชีวิตมากกว่าหนึ่งล้านคนในช่วงระหว่างปีค.ศ. 2020 และ ค.ศ. 2035 ด้วยทุกวันที่
28 กันยายนของทุกปีได้กำหนดให้เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
(World Rabies Day) เพื่อเป็นการตระหนักและการสร้างความเข้าใจถึงอันตรายจากโรคพิษสุนัขบ้า
รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขและโรคสัตว์สู่คนจากเหตุการณ์โรคระบาดโควิด
19 อีกด้วย
สัตวแพทย์หญิงชนัดดา เครือประดับ
จากองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ได้เผยรายงานที่ทางองค์กรฯได้จัดทำขึ้นว่า“องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการจำนวนประชากรสุนัขอย่างมีมนุษยธรรมและทางออกสำหรับการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป
เนื่องจากที่ผ่านการกำจัดสุนัขเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
โดยเฉพาะกับสุนัขจรจัดด้วยการฆ่าสุนัขและฉีดวัคซีนในคนไม่ได้ช่วยหยุดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า
เราได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีสุนัขจำนวนกว่า 10
ล้านตัวทั่วโลกจะถูกกำจัดไปอย่างโหดร้าย หรืออาจมีผู้เสียชีวิตในแต่ละปีจากโรคนี้มีประมาณ
160 คนในแต่ละวันทั่วโลก หรือทุก ๆ 9
นาทีจะมีผู้เสียชีวิต 1 คนจากโรคนี้นั่นเอง”สัตวแพทย์หญิงชนัดดากล่าว
รายงานนี้ได้สำรวจความคิดเห็นใน 5 ประเทศได้แก่ ประเทศไทย อินเดีย จีน บราซิลและเคนยา ในเรื่อง“การสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อสุนัขจรจัดทั่วโลก” ซึ่งครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลาย เช่น จำนวนสุนัขที่มีเจ้าของ
ทัศคติต่อการกำจัดสุนัข เปอร์เซ็นต์ของการฉีดวัคซีน การทำหมัน การใส่ปลอกคน
การติดป้ายและฝังไมโครชิพ รวมไปถึงการแยกแยะว่าสุนัขนั้นมีเจ้าของหรือเป็นสุนัขจรจัด
ซึ่งพบว่ามากกว่าหนึ่งในสองที่ให้สัมภาษณ์เป็นเจ้าของสุนัขอย่างน้อยหนึ่งตัว
สำหรับในประเทศไทย
เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าในช่วง 5
ปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ป่วยจากโรคพิษสุนัขบ้าไม่ถึง 10
คน แต่ในปี 2559
มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 14 คน ส่วนในปี 2560-2562 พบผู้ป่วยจำนวนปีละ 3 คน
ชี้ให้เห็นว่ามีการควบคุมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ถึงกระนั้นตัวเลขของผู้ป่วยในแต่ละปียังไม่นิ่งอย่างที่คาดการณ์ไว้
สาเหตุหลักคือ คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และตระหนักในเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและการป้องกันอย่างถูกต้อง“ทางองค์กรฯ ได้ทำงานภายใต้โครงการ Better Lives with Dogs ซึ่งใช้แนวทาง “ด้านสุขภาพหนึ่งเดียว (One
Health) และให้การสนับสนุนแนวปฏิบัติที่เรียกว่า CNVR ได้แก่ Catch คือ การจับสุนัขและแมว N คือ Neuter การทำหมัน V คือ Vaccinate
การฉีดวัคซีน และ R คือ Return การนำกลับไปที่เดิม
สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีควบคุมจำนวนประชากรสุนัขอย่างมีมนุษยธรรมและยั่งยืน
อีกสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญคือเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างมีความรับผิดชอบ
คนและสัตว์มีความเกี่ยวข้องกัน ดังจะเห็นได้จากการเกิดโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
การดูแลให้สัตว์มีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี
เปรียบเสมือนการดูแลให้เรามีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยเช่นกัน” สัตวแพทย์หญิงชนัดดา กล่าวปิดท้าย
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงผลกําไร
ทำงานในการขับเคลื่อนสังคม นโยบาย และปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ต่างๆ
ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีบทบาทในการทำงานด้านสัตว์ในชุมชน เช่น สุนัขและแมว
โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมและจัดการประชากรสุนัขให้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้โครงการ Better Lives with Dogs ซึ่งได้เริ่มการทำงานมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบันโดยได้มีการทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ เช่น
การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคพิษสุนัขและการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างมีความรับผิดชอบ
การรณรงค์ฉีดวัคซีนให้กับสุนัขจรจร รวมถึงการสร้างสวัสดิภาพที่ดีให้สุนัข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น