วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
การ์ดตก พบโรคใบด่างระบาดกว่าแสนไร่ ชี้ต้นตอปลูกพันธุ์อ่อนแอ ใช้ท่อนพันธุ์ติดโรค
เกษตรกรแปลงใหญ่ไม้ดอก จ.เลย ปรับตัวช่วงโควิด-19 เปิดเพจขายไม้มงคลออนไลน์สร้างรายได้สู่ชุมชน
ซีพีเอฟ เคียงข้างคนไทยสู้ภัยโควิด-19 ส่งเสริมอาหารมั่นคง หนุนการเข้าถึงอาหารปลอดภัย
วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เกษตรฯ เผยสถานการณ์ลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือ ปี 2563 เพิ่มขึ้น พร้อมวางแผนบริหารจัดการผลผลิต
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563
อ.ส.ค. เปิดท่องเที่ยว“ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค” สไตล์ New Normal
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563
แม็คโคร ชูนโยบาย “เคียงข้างเกษตรกรไทย” ย้ำหลัก 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน บูรณาการภาครัฐ ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ชูนโยบาย “แม็คโครเคียงข้างเกษตรกรไทย” ตอกย้ำหลัก 3
ประโยชน์สู่ความยั่งยืน พร้อมบูรณาการภาครัฐ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตร เพิ่มขีดความสามารถเกษตรกร
ปักธงธุรกิจสู่ศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ
นางศิริพร เดชสิงห์
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด
(มหาชน) กล่าวว่า แม็คโครให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาผลผลิตจากเกษตรกรไทยทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง
ภายใต้นโยบายสำคัญขององค์กร ‘แม็คโครเคียงข้างเกษตรกรไทย’ ยึดหลัก 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน” อันได้แก่ ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ เกษตรกร
และลูกค้าของแม็คโครตามลำดับ โดยในแต่ละปีเราได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรใน 3 บริบทหลัก ๆ อันได้แก่ 1.การให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องความต้องการของตลาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดธุรกิจร้านอาหารที่เป็นลูกค้าส่วนใหญ่ของแม็คโคร
ที่มีความต้องการผลผลิตคุณภาพ มีความสม่ำเสมอเป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง
อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการดำเนินนโยบาย “การตลาดนำการผลิต”
ของภาครัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน
2.ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ
ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ จัดการอบรมให้ความรู้
พัฒนาและเลือกสายพันธุ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ปรับปรุงกระบวนการเพาะปลูก
เก็บเกี่ยว ขนส่ง ตลอดจนการตรวจสอบย้อนกลับ
ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลตลอดห่วงโซ่อุปทาน
โดยมีเกษตรกรที่ได้รับการอบรมไปแล้วกว่า 1,200 คน และ 3.การเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายรวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด
เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการบริโภคสินค้าเกษตรไทย ของประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ
ผ่านแม็คโคร 134
สาขาทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาวะปกติ และในภาวะวิกฤติเช่น
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด – 19 ส่งผลให้สินค้าเกษตรส่งออกได้น้อย
จึงเกิดภาวะล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ เป็นต้น โดยในปีนี้ แม็คโครได้รับซื้อผลิตผลทางการเกษตรจากเกษตรกรไทยโดยตรง
มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มากว่า 20%
“แม็คโคร มองการพัฒนาสินค้าเกษตรแบบครบวงจร
เนื่องจากเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด การจัดจำหน่าย รู้ความต้องการของลูกค้า
เราจึงได้นำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไปถ่ายทอดและเน้นการทำงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อเป้าหมายที่สำคัญ คือ เกษตรกรต้องมีรายได้เพียงพอ มั่นคง
สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ระยะยาว
อีกทั้งยังขานรับนโยบายการตลาดนำการผลิตของภาครัฐ บูรณาการความร่วมมือกับ
กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้แพลตฟอร์มกลาง ‘เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด’ อย่างต่อเนื่อง
ในการสร้างศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ
เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของแม็คโคร
นางศิริพร ยังกล่าวอีกว่า การดำเนินตามพันธกิจและนโยบายที่ชัดเจนและเข้มแข็งของแม็คโคร
จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม เกิดการกระจายรายได้
สร้างความเข้มแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก
สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยในอาหาร ในระยะยาวให้กับประเทศไทย
วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563
นักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม. เกษตร ผลิต ‘เตาย่างกึ่งอบไร้ควัน KU’ เวอร์ชั่นล่าสุด เครื่องมือสร้างอาชีพที่ยั่งยืน
อาหารปิ้ง
ย่าง เป็นอาหารการกินที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน
และได้รับความนิยมทุกระดับกลุ่มผู้บริโภค ร้านอาหารปิ้ง ย่าง
มักจะเลือกใช้เตาปิ้งย่างที่ใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิงหลัก เพราะได้กลิ่นหอมจากถ่าน
แต่ปัญหาที่พบคือ ถ่านเชื้อเพลิงกระจายตัวในเตาไม่สม่ำเสมอ
ทำให้การสุกของอาหารแต่ละชิ้นสุกไม่พร้อมกัน “เตาย่างกึ่งอบไร้ควัน KU” เวอร์ชั่นล่าสุด ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ประกอบการ
และยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ผลงานวิจัยและพัฒนาของ
ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจกรรมนิสิต และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักวิจัยได้แก่ นายธนัตถ์
ศรีสุขสันต์ และน.ส.ต้องใจ สัตราศรี ซึ่งทำการพัฒนาทุกองค์ประกอบตั้งแต่
การพัฒนาสูตรหมักไก่ย่าง กระบวนการใช้งานเตา การพัฒนาสูตรน้ำจิ้มไก่ย่าง และปลาเผา
ไปจนถึงการทดลองประกอบธุรกิจจริง (ออกขายอาหารปิ้งย่าง ตามตลาดนัด)
รวมถึงการออกงานเพื่อการเผยแพร่ผลงานและทดสอบการตลาดอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค
ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา
หัวหน้าทีมนักวิจัย กล่าวว่า เตาย่างกึ่งอบไร้ควัน KU ประกอบด้วย
แผ่นสเตนเลส ฉนวนความร้อน สำหรับห่อหุ้มสเตนเลส
(ฉนวนเส้นใยเซรามิคทนความร้อนได้มากกว่า 600 องศาเซลเซียส)
กระจกสำหรับปิดเตาย่าง (กระจกทนความร้อน 500 องศาเซลเซียส)
มอเตอร์ไฟฟ้า และพัดลมดูดอากาศ ทำการออกแบบเป็นถังรูปทรงกระบอก ขนาด กว้างxยาวxสูง = 844 x 890 x 1,640
มิลลิเมตร ด้านนอกเตาย่าง หุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน
พร้อมติดระบบดูดควันสำเร็จรูปในตัวมีฝาปิดไม่ให้ ควันออก
ตัวเตาย่างจะวางขนานกับพื้น ตั้งอยู่บนขาตั้งที่แยกออกจากกันได้
เพื่อความสะดวกในการขนย้าย ภายในเตาย่างทรงกระบอก จะมีวงล้อที่มีเดือย 6 รู รอบวง เพื่อรองรับการเสียบของแกนเหล็กสเตนเลสสำหรับใส่อาหารที่จะย่าง
คือ ไก่ หรือ ปลา ในเตานี้จะมีแกนเหล็กทั้งหมด 6 แกน 1 แกนเหล็ก จะใส่ไก่ได้ 2 ตัว
สามารถย่างไก่ได้ครั้งละ 12 ตัว (ปลาเผา 1 ตัว ต่อ 1 แกนเหล็ก)
โดยวงล้อจะหมุนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
นอกจากนี้
ยังมีถาดสำหรับใส่ถ่านเชื้อเพลิง 2 ถาด
ภายในเตาย่างมีถาดใส่ถ่านเชื้อเพลิง 1 ถาด
พร้อมล้อเลื่อนเพื่อความสะดวกในการดึงออกมาเปลี่ยนถ่านเชื้อเพลิง โดยจะอยู่ตรงแกนกลางของเตาย่างทรงกระบอก
ส่วนอีก 1
ถาดสำหรับใส่ถ่านเชื้อเพลิงจะอยู่ด้านล่างนอกเตาย่าง
เวลาย่างไก่จะได้รับความร้อนและสุกพร้อมกัน ทั้ง 2 ด้าน
โดยไม่เสียเวลาในการพลิกไก่
การทำงานของ
‘เตาย่างกึ่งอบไร้ควัน KU’ ขณะย่างไก่
เมื่อไก่หมุนมาอยู่ในตำแหน่งแนวดิ่ง น้ำมันจากไขมันของไก่ในช่วงนี้
จะหยดใส่ผนังเตา แล้วน้ำมันจะไหลลงไปยังร่องเอียง เพื่อลำเลียงน้ำมันไปในถังใส่น้ำมันทั้ง
2 ด้านของเตา
โดยน้ำมันดังกล่าวจะไม่หยดใส่ถ่านเชื้อเพลิงที่อยู่นอกเตาย่าง ทำให้ไม่มีควัน
ส่วนฝาปิด-เปิดเตาทำด้วยกระจกจึงมองเห็นไก่ย่างภายในเตา เพื่อสังเกตอาหารที่ย่างว่าสุกหรือยัง
มีปุ่มสวิตช์สำหรับปิด-เปิดพัดลมดูดอากาศ
และมีปุ่มสวิตช์สำหรับปิด-เปิดมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อหยุดการหมุนของวงล้อ
เพื่อที่จะดึงแกนเหล็กนำไก่ที่สุกแล้วออกจากเตา
หรือนำไก่ดิบเสียบในแกนเหล็กใส่เข้าไปในเตาย่าง ส่วนระบบดูดควันสามารถดูดควันได้เกือบ
100% และสามารถต่อท่อดูดควันออกไปนอกร้านได้
จุดเด่นของ “เตาย่างกึ่งอบไร้ควัน KU” สามารถย่างไก่สุกทั่วถึงภายในโดยที่ยังคงความชุ่มฉ่ำและมีรสชาติดี
หนังกรอบ ที่สำคัญไม่เกิดรอยไหม้ ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารย่างที่สดใหม่ต่อเนื่องทุก
6 - 8 นาที
ประหยัดถ่านเชื้อเพลิงได้มากกว่าเตาย่างแบบเปิดทั่วไป 2 - 3
เท่า โดยไก่ย่างจะใช้เวลาในการย่าง 30 - 45 นาที
ส่วนปลานิลเผา ใช้เวลา 10 - 12 นาที สามารถย่างไก่และปลาเผาได้
20 ตัว / ชั่วโมง และที่สำคัญคือ
ลดการใช้แรงงานมีความสะดวกสบาย ลดความร้อน และขนย้ายสะดวก
ผู้ประกอบการ
และผู้สนใจ “เตาย่างกึ่งอบไร้ควัน KU” สำหรับย่างไก่
ปลา และอาหารอื่น ๆ ติดต่อได้ที่ ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โทรศัพท์ 08 1927 0098 และคุณธนัตถ์ ศรีสุขสันต์ โทรศัพท์ 08 3030 6609
องค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ เดินหน้าโครงการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชี้เป็นการทรมานสัตว์และไม่ใช้การอนุรักษ์ที่แท้จริง
คุณปัญจเดช
สิงห์โท ที่ปรึกษาด้านนโยบาย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เปิดเผยว่า จากข้อมูลจำนวนเสือในประเทศไทย ที่อยู่ในกรงเลี้ยงพบว่ามีอยู่ประมาน
1,500 ตัว ส่วนใหญ่เป็นเสือโคร่งเบงกอล
หรือเสือโคร่งไซบีเรีย ซึ่งไม่ใช่สายพันธุ์ท้องถิ่น โดยพบว่ามีการผสมพันธุ์เสือในกรง
และทำให้จำนวนเสือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงกว่า 200
ตัวในรอบสิบปีที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่เพื่อการอนุรักษ์
แต่เป็นการเร่งเพิ่มจำนวนเสือ
เพื่อนำเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ใช้สัตว์ป่าเพื่อความบันเทิง นอกจากนี้
ข้อมูลจากการศึกษาด้านต่างๆ ยังทำให้พบว่า
การผสมพันธุ์เสือที่เกิดขึ้นอย่างไม่ถูกต้องนี้
เป็นไปเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทางการค้า ทั้งเสือที่มีชีวิตและชิ้นส่วนของเสือ
เพื่อใช้ทำยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในสถานะละเมิดอนุสัญญาไซเตส
(CITES) ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ห้ามมิให้มีการค้าทั้งเสือที่มีชีวิต
ชิ้นส่วน หรือผลิตภัณฑ์ และเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2561
คณะกรรมการอนุสัญญา CITES ได้มีหนังสือแจ้งเตือนมายังรัฐบาลไทย
เพื่อให้ออกมาตรการในการควบคุมปริมาณเสือที่อยู่ในกรงเลี้ยง
เนื่องจากมีมากเกินความจำเป็น และอาจมีการลักลอบค้าอย่างผิดกฎหมายได้
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก
จึงได้ดำเนินโครงการการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรง เพื่อเป็นการยุติการทารุณกรรมสัตว์จากกระบวนการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสม
ทั้งขนาดของกรง สถานที่เลี้ยง อาหาร รวมทั้งการฝึกเสือเพื่อนำมาแสดง
เป็นภาพรวมที่ทำให้เสือแต่ละตัวต้องพบกับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
นับตั้งแต่ลูกเสือที่ถูกพรากจากแม่ตั้งแต่ยังเล็ก
เพื่อให้แม่เสือมีโอกาสผสมพันธุ์อีกครั้งได้เร็วขึ้น ซึ่งตามปกติ
ลูกเสือจะหย่านมเมื่ออายุ 4-6 สัปดาห์
และแยกจากแม่เมื่ออายุ 1-2 ปี
กลับถูกนำมาเลี้ยงโดยคนเมื่ออายุเพียงแค่ 2 เดือน
และให้อาหารที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของลูกเสือ
ทั้งยังต้องทำกิจกรรมเพื่อให้ความบันเทิงกับคน เช่น ถูกอุ้มถ่ายรูป
และป้อนนมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ลูกเสืออ่อนแอและมีสุขภาพไม่สมบูรณ์
ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการแยกลูกเสือออกมาฝึกเพื่อการแสดง เช่น การลอดห่วงไฟ หรือการจัดแสดงที่ขัดกับหลักพฤติกรรม
เช่น การขังรวมเพื่อให้ลูกเสือใช้ชีวิตร่วมกับสัตว์ชนิดอื่น เช่น
การให้กินนมจากแม่หมู เสือที่โต
จะถูกเลี้ยงด้วยโครงไก่และเนื้อหมูเนื้อวัวแล่ปรุงสุก
ซึ่งทำให้สูญเสียวิตามินตามธรรมชาติไป บางครั้ง อาหารของมัน จะเป็นอาหารสำเร็จรูปของแมวและหมา
ทำให้เสือส่วนใหญ่เกิดภาวะขาดสารอาหาร เพราะตามธรรมชาติ เสือจะกินซากสัตว์ทั้งตัว
ที่รวมเนื้อ กระดูก และหนัง เพื่อให้ได้โปรตีน ไขมันและสารอาหารที่จำเป็น
ในปริมาณสูงเท่าที่ร่างกายต้องการ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันกฎหมายภายใต้ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2560 ยังมีช่องว่างและยังเปิดโอกาส
ในการอนุญาตให้ผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยงได้ ถึงแม้กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จะมีมาตรการในการติดตามควบคุมและบังคับใช้กฎหมายในการผสมพันธุ์เสือดังกล่าว เช่น
การแยกพ่อพันธุ์กับแม่พันธุ์ การตรวจดีเอ็นเอเสือ
แต่จากข้อมูลก็ยังพบการลักลอบผสมพันธุ์เสืออย่างต่อเนื่อง
การผสมพันธุ์ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง จะมีผลเสียทางด้านพันธุกรรมที่เกิดจากการผสมเลือดชิด
ทำให้ร่างกาย ไม่สมบูรณ์ และมักจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน ด้วยเหตุนี้
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จึงทำการรณรงค์เรียกร้องให้ภาครัฐปรับเปลี่ยนนโยบาย
ให้เกิดการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง
เพื่อป้องกันการเพิ่มจานวนเสือซึ่งเป็นสัตว์ป่า ที่จะถูกนำมาใช้ เพื่อความบันเทิงและทำการค้าในรูปแบบต่างๆ
ในการรณรงค์นี้ เราต้องการผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนอย่างน้อย 10,000 ชื่อ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน
เพื่อให้เป็นการเรียกร้องที่สมบูรณ์ตามกฎเกณฑ์ที่รัฐกำหนด
“การผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยงส่วนใหญ่ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
การผสมพันธุ์เสือในกรงไม่ช่วยในการอนุรักษ์
เสือเหล่านี้ไม่สามารถที่จะอยู่ในป่าตามธรรมชาติได้
และไม่สามารถปล่อยกับคืนสู่ป่าได้ เนื่องจาก การเลี้ยงดูที่ถูกฝึกให้ใกล้ชิดกับคน
หากปล่อยกับคืนสู่ป่ามีโอกาสถูกล่าได้ง่ายมาก และในการประชุม ไซเตส เมื่อ ปี 2007
ได้ระบุว่าการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยงของสถานที่โชว์การแสดงสัตว์ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์
(Cites international regulation:2007)
ทั้งนี้ไซเตสได้สนับสนุนให้มีการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงและการผสมพันธุ์เสือเพื่อใช้ในการแสดง
ในการประชุมเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ภายใต้โครงการรณรงค์ดังกล่าว
มุ่งเน้นการห้ามผสมพันธุ์เพื่อนำเสือมาใช้ในความบันเทิงเท่านั้น แต่ไม่ได้ห้ามผสมพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์
เช่น เสือสายพันธุ์ท้องถิ่น ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยานฯ
หรือสวนสัตว์ของรัฐ ที่ทำการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ เช่น
ศูนย์เพาะพันธุ์เสือของกรมอุทยานแห่งชาติฯ หรือหน่วยงานวิจัยอื่นๆ”คุณปัญจเดช กล่าว
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563
มกอช. บุกนครนายก ดึง Q อาสาแนะเกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP สนับสนุนติด Q ยกระดับด้วย QR Trace ระบบตามสอบย้อนกลับ
ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์
เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
ลงพื้นที่จังหวัดนครนายก พบเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง บ้านวังดอกไม้
พร้อมด้วยนายบุญส่ง ศิริมา ประมงจังหวัดนครนายก และนางสาวปทุมพร กรสุทธิโสภณ
เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครนายก ณ
ศูนย์เรียนรู้ด้านประมงเชิงเกษตรและท่องเที่ยวบ้านวังดอกไม้ หมู่ 7 ตำบลสาริกา
อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยเลขาธิการ มกอช. พร้อมคณะ พบปะพูดคุยและรับฟังปัญหา
พร้อมทั้งให้คำแนะนำ เกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP สนับสนุนให้ ติดตราสัญลักษณ์ Q ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ
QR Trace เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้บริโภค รวมถึง
การเพิ่มโอกาส และช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร โดยนำสินค้าเกษตรไปวางใน DGTfarm.com
ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ เพื่อยกระดับและสร้างความยั่งยืนแก่ชุมชน
ทั้งนี้ เลขาธิการ มกอช. ได้ให้คำแนะนำแก่ Q อาสา มกอช. ในการทำหน้าที่ ส่งเสริม ให้ความรู้
เป็นที่ปรึกษาด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกร
และการตรวจประเมินเบื้องต้นกับเกษตรกรในพื้นที่ในเรื่องของการเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP
เพื่อที่จะให้เกษตรกรได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและสามารถขอการรับรองได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จากนั้น เลขาธิการ มกอช. พร้อมคณะได้เดินทางไปเยี่ยมสวนส้มโอ
ของนางพันธ์ทิพย์ พุมมีดี ณ
ศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.เครือข่ายด้านประมง)
ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ ซึ่งได้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน
GAP ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร
มกษ.9001-2556 จากกรมวิชาการเกษตรแล้ว
ซึ่งนอกจากนี้ยังได้เลี้ยงปลาในกระชัง-เพราะพันธุ์ปลานิล/ปลาทับทิม
เลี้ยงปลาสลิดในบ่อดิน เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน และเพาะเลี้ยงปลาสวยงามอีกด้วย
โดยโอกาสนี้ เลขาธิการ มกอช. ได้แนะนำให้เกษตรกรติดตราสัญลักษณ์ Q ที่ส้มโอ และใช้ QR Trace ระบบตรวจสอบย้อนกลับ
เพื่อยกระดับสินค้าเกษตร พร้อมแนะนำให้นำสินค้าเกษตรไปวางจำหน่ายใน DGTfarm.com
ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสและช่องทางการจำหน่าย
ให้มากยิ่งขึ้น
สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...
-
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าปันน้ำปุ๋ยให้เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 19 มุ่งลดใช้ทรัพยากรน้ำในธรรมชาต...
-
นายสุริยะ ชูวงศ์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาบัญชีฟาร์มประจำปี 2559 เป็นผู้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาตลอดระยะเวลา 37 ปี ค...