เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออก
เผยสภาวะอากาศร้อน-ภัยแล้ง-อากาศแปรปรวณ ส่งผลหมูอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย
ทำให้อัตราเสียหายเพิ่มมากกว่า 10%
ต้นทุนซื้อน้ำ-ค่าไฟ-ค่าเวชภัณฑ์เพื่อการป้องกันโรคเพิ่มกว่า 100 บาทต่อตัว ซ้ำต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่ม
นายเสน่ห์
นัยเนตร
ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์การปศุสัตว์ภาคตะวันออก จำกัด
เปิดเผยถึงสถานการณ์การเลี้ยงสุกรว่า
จากปัญหาอากาศร้อนและภัยแล้งจนถึงอากาศแปรปรวนตลอดทั้งวันในปัจจุบัน
บางพื้นที่ร้อนอบอ้าวจนถึงมีฝนตกจากพายุฤดูร้อน ทำให้สัตว์ปรับสภาพร่างกายไม่ทัน
เกิดความเครียด กินอาหารน้อยลง ร่างกายอ่อนแอและอาจเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
การเติบโตช้าลง พบว่าอัตราการสูญเสียในฟาร์มจากภาวะอากาศดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 10% ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรต่างพยายามป้องกันโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF
ในสุกร
เพื่อไม่ให้โรคนี้เข้ามาทำลายอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูของไทยได้
ความพยายามในการป้องกัน ASF ของเกษตรกรทุกคนทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวที่ปลอดโรคนี้
แม้ว่าเกษตรกรต้องมีต้นทุนเพิ่มแต่ก็ยินดีปฏิบัติตามมาตรฐานการเลี้ยงและการป้องกันโรคที่ภาครัฐแนะนะ
พบว่าภาระค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นอีกกว่า 100
บาท ทั้งจากการใช้ยาฆ่าเชื้อพ่นป้องกันทุกวันๆละ 2 ครั้ง
และค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงงาน
“นอกจากต้นทุนที่เพิ่มจากการยกระดับการป้องกันโรคแล้ว
ภัยแล้งหนักในช่วงที่ผ่านมายังกระทบกับเกษตรกร ที่ส่วนใหญ่มีน้ำไม่เพียงพอ จึงต้องซื้อน้ำจากภายนอกมาใช้ในฟาร์มทุกวัน
ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีก 2-3%
หากเดือนมิถุนายนนี้ ยังไม่มีฝนใหญ่เข้ามาเกษตรกรต้องทุกข์กันหมด
เพราะรถขายน้ำไม่มีน้ำมาขาย
และยังมีค่าไฟเพิ่มเพราะต้องเปิดพัดลมระบายอากาศและเดินระบบอีแวปตลอดเวลา
ขณะที่สภาพอากาศแปรปรวนฉับพลันในปัจจุบันกำลังซ้ำเติมเกษตรกร ทำให้ลูกหมูอ่อนแอมาก
มักเป็นไข้หวัด ป่วยง่าย จึงมีค่าเวชภัณฑ์ในการรักษาเพิ่ม
และยังต้องแบกรับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาแพงที่ถือว่าเป็นภาระหนักมากสำหรับคนเลี้ยง
โดยปัจจุบันวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับราคาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก อาทิ
ปลายข้าวราคาสูงกว่า 12 บาทต่อกิโลกรัม และรำข้าวราคา 10-11 บาทต่อกิโลกรัม
ขณะที่ต้นทุนการผลิตปัจจุบัน 65-67 บาทต่อกิโลกรัม
ส่วนราคาขายหมูเป็นหน้าฟาร์มประมาณ 66-71 บาทต่อกิโลกรัม ” นายเสน่ห์
กล่าว
นายเสน่ห์
กล่าวอีกว่า จากปัญหาหมูล้นตลาด หรือ Over Supply ในช่วงกว่า
2 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีเกษตรกรรายย่อยหายไปจากระบบมากกว่า 50%
อย่างไรก็ตามเกษตรกรทั้งประเทศยังร่วมกันบริหารจัดการทั้งระบบ
เพื่อให้ไทยยังคงมีประชากรหมูเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ
ส่วนภาวะราคาที่ปรับขึ้นลงก็เป็นไปตามกลไกตลาดในแต่ละช่วงเวลา
ขณะเดียวกันขอฝากภาครัฐ ช่วยผลักดันเรื่องการส่งออกหมูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
ที่ยังคงมีความต้องการนำเข้าจากประเทศไทยอยู่มาก
จากความเชื่อมั่นในเรื่องคุณภาพมาตรฐานปลอดโรค ASF และมาตรฐานการผลิตของไทย
ที่ปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยได้หันมาปฏิบัตตามมาตรฐาน GAP ของกรมปศุสัตว์
ถือเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมหมูไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น