เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในหลวงรัชการที่ 10 ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563
องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
ในฐานะหน่วยงานที่สานต่อภารกิจ
สนับสนุนพัฒนาองค์ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อให้การเลี้ยงโคนม เป็นอาชีพที่มั่นคง
ยั่งยืน
และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรโคนมไทยมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 60ปี
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังคงทรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ในขณะนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดงาน “วันโคนมแห่งชาติ” โดยมี มร.นีล กุนา
ซันเดอการ์ด ปูชนียบุคคลของวงการโคนมไทยเข้าเฝ้า ณ พลับพลาพิธีเปิดงาน อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ ทำการแทน ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
(อ.ส.ค.) กล่าวว่า การเสด็จมาเปิดงาน “วันโคนมแห่งชาติ” ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น
ทรงสร้างความปลาบปลื้มให้พสกนิกรชาวไทยและเกษตรกรชาวโคนมเป็นอย่างมากและจดจำภาพความประทับใจแห่งประวัติศาสตร์วันนั้นได้จนถึงทุกวันนี้
ซึ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของพระองค์ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด
พระราชปณิธานของในหลวงรัชการที่ 9 ในมิติ
โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับ “โคนมอาชีพพระราชทาน” ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9
เป็นผู้ทรงพระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่เกษตรกรไทยไว้เพื่อส่งเสริมอาชีพโคนมให้แก่เกษตรกรไทยให้มีรายได้และอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
(พระยศในขณะนั้น) ทรงรับเป็นพระราชภารกิจสำคัญ
ที่จะดูแลประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
และบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้ได้มากที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
นายสุชาติ
กล่าวด้วยว่า สำหรับ “อาชีพการเลี้ยงโคนม”
เกิดจากพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงเล็งเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคนมที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคง ดังพระราชดำรัสในตอนหนึ่งว่า “การเลี้ยงโคนมก็เป็นอาชีพที่ดีสำหรับคนไทย เหมาะกับประเทศ และถ้าใช้หลักวิชาที่เหมาะสม
ก็จะทำให้มีความเจริญและมีรายได้ดี” จึงก่อเกิด “อาชีพการเลี้ยงโคนม”
ซึ่งอาชีพนี้ก่อกำเนิดขึ้น เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2503 ครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” เสด็จประพาสทวีปยุโรปประทับแรมอยู่
ณ ประเทศเดนมาร์ก
ทรงให้ความสนพระทัยในกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์กเป็นอย่างมาก
จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ว่าด้วยการร่วมมือด้านวิชาการการเลี้ยงโคนมระหว่างประเทศไทยและประเทศเดนมาร์กขึ้น
และลงนามสัญญาการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางวิชาการการเลี้ยงโคนมจากนั้นมา
และได้มีการจัดตั้งโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยขึ้น
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากปี 2505 จวบจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2563 อาชีพการเลี้ยงโคนม
อาชีพพระราชทานที่เกษตรกรไทยได้สืบสาน รักษา ต่อยอด
ให้คงอยู่จากรุ่นสู่รุ่นอย่างมั่นคงและยั่งยืน จากพระราชปณิธานของ “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร”
(รัชกาลที่ 9) เข้าสู่รัชสมัยปัจจุบัน ใน “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม
บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” (รัชกาลที่ 10)
ทรงสานต่อพระราชปณิธานให้ “อาชีพการเลี้ยงโคนม”
ของเกษตรกรไทยยังสืบสาน ต่อยอดกิจการโคนมโดย อ.ส.ค
นายสุชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า อ.ส.ค.
มุ่งมั่นเดินหน้าพันธกิจขององค์กรสืบสานพระราชปณิธาน “โคนมอาชีพพระราชทาน” ส่งเสริมสหกรณ์และเกษตรกรโคนมให้ดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคง
สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนเกษตรกรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
ให้องค์ความรู้ด้านการประกอบกิจการโคนม การบริหารจัดการฟาร์มโคนม
การบริหารจัดการด้านอาหารในฟาร์มโคนม ตลอดจนการดูแลสุขภาพโคนม
การพัฒนาและปรับปรุงพันธ์โคนมเพื่อยกระดับเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer เสริมศักยภาพด้านผลผลิตให้แก่เกษตรกรโคนม รวมถึงการพัฒนาฟาร์มโคนมด้านต่างๆ
เพื่อผลักดันให้เกษตรกรมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมนมที่มีอัตราการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น
ด้วยผลผลิตที่มีคุณภาพ ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นในทุกปี
พร้อมผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางข้อมูลและอุตสาหกรรมนมแบบครบวงจรในระดับสากลและสนับสนุนแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมครอบคลุมอย่างครบวงจรด้านกิจการโคนม
ตลอดจนให้การสนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์นมแปรรูปจากน้ำนมดิบของเกษตรกรไทย
มาเป็นผลิตภัณฑ์นมภายใต้แบรนด์ตราไทย-เดนมาร์ค
ให้ประชาชนคนไทยได้มีผลิตภัณฑ์นมโคสดแท้ 100ไม่ผสมนมผง
ได้บริโภคผลิตภัณฑ์นมที่ดี มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น