มติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย
เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 ได้กำหนดให้ 2 สารเคมีทางการเกษตร ได้แก่
พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามใช้และห้ามครอบครอง
จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรไปหาสารทดแทนใหม่
และนำเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาใหม่อีกครั้ง
นายสุกรรณ์
สังขวรรณะ นายกสมาคมเกษตรปลอดภัย เปิดเผยว่า “ประเด็นสารเคมีเกษตรได้เคยนำเสนอข้อมูลให้แก่คณะกรรมการวัตถุอันตราย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวมนัญญา
ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องหมดแล้ว ในที่ประชุมร่วมกับเกษตรกร รมช. เกษตรฯ
บอกเสมอว่ากรมวิชาการเกษตรยังหาสารทดแทนไม่ได้ ซึ่งเกษตรกรก็พูดไปหลายครั้งแล้วว่า
ปัจจุบันยังไม่มีสารทดแทนหรือเครื่องมือใดที่จะมาทดแทนสารพาราควอต ได้
ทั้งในแง่ประสิทธิภาพและราคา สารเคมีเกษตรอื่น ๆ เช่น ไกลโฟเซต กลูโฟซิเนต
ก็ไม่สามารถนำมาใช้แทนพาราควอตได้ เพราะคุณสมบัติต่างจากสารพาราควอตอย่างสิ้นเชิง
ส่วนสารชีวภัณฑ์สำหรับกำจัดวัชพืช
กรมวิชาการเกษตรก็ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่ามีปลอมปนพาราควอตเข้าไปด้วย
และยังไม่มีสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชใดได้ขึ้นทะเบียน”
นอกจากนี้
ในที่ประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตราย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ
ได้ชี้แจงถึงแนวทางการช่วยเหลือและเยียวยาโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วยการประกันราคาและการขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมนั้น
เป็นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
เพราะการนำงบประมาณแผ่นดินมาให้เกษตรกร
เพื่อใช้ซื้อสารเคมีเกษตรในการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือ
บริษัทผู้ค้าและร้านค้าสารเคมีเกษตร ส่วนเกษตรกรยังต้องใช้สารเคมีเช่นเดิม
แถมฉีดพ่นบ่อยขึ้น จ้างแรงงานเพิ่มขึ้น หากเป็นเช่นนี้เกษตรกรจะไหวได้อย่างไร
และที่บอกว่าอาจให้กระทรวงสาธารณสุขปรับกฎระเบียบสารตกค้าง
เพื่อให้สามารถนำเข้าถั่วเหลืองได้ หากดำเนินการจริง
ก็เป็นการเอื้อกลุ่มนายทุนนำเข้ากลุ่มเดียว
และแก้ปัญหาเพียงด้านเดียวให้เฉพาะกลุ่มผู้นำเข้าถั่วเหลืองเท่านั้น ทั้งนี้
การปรับค่าสารตกค้างดังกล่าวให้สูงขึ้นเป็นกรณีพิเศษจริง ย่อมแสดงว่า ที่ผ่านมา
กระทรวงสาธารณสุข และ NGO กำลังพูดไม่จริงเรื่องที่ห่วงใยผู้บริโภคคนไทย
ดั้งนั้น ถ้าเป็นเช่นนี้ ควรแบนไกลโฟเซตไปด้วยเลย
การปรับค่าสารตกค้างไกลโฟเซตให้สูงขึ้นเพื่อให้อเมริกาและบราซิลส่งถั่วเหลือง
ผู้นำเข้าก็จะได้ไม่มีปัญหา
เป็นเพียงการหาเหตุผลเพื่อใช้ยกเลิกสารเคมีเกษตรบางรายการ โดยกระทรวงสาธารณสุข และ
NGO ไม่ได้ห่วงใยผู้บริโภคอย่างแท้จริงอยู่แล้ว
และที่สำคัญไม่ได้มองผลกระทบต่อเกษตรกรไทย อุตสาหกรรมการเกษตร
และอุตสาหกรรมการส่งออกของไทย เมื่อมีการปรับค่าสารตกค้าง
เกษตรกรไม่สามารถยอมรับได้ เพราะเท่ากับว่ามีการปฏิบัติสองมาตรฐาน
สำหรับมาตรการจำกัดการใช้สารเคมีเกษตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ระบุว่า ไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะเกษตรกรไม่ให้ความร่วมมือ และยังมีปัญหาในทางปฏิบัตินั้น ในความเป็นจริง เกษตรกรให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
เห็นได้จากการเข้าร่วมอบรมความรู้การใช้สารกำจัดวัชพืชตามหลักสูตรของกรมวิชาการเกษตรและมาตรการจำกัดการใช้ไปแล้วกว่า
500,000 ครัวเรือนเกษตร แต่โครงการดังกล่าว เพิ่งเริ่มต้นในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.
2562 เปิดให้เกษตรกรทั่วประเทศเข้าอบรมในระยะเพียงไม่กี่เดือน
และยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เหลือเกษตรกรอีกกว่า 1 ล้านครัวเรือนที่รอการอบรม
แต่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กลับก็บอกว่าไม่ประสบความสำเร็จ
ท่านควรไปหาข้อมูลมาว่าที่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะหน่วยงานราชการที่สร้างเงื่อนไข แล้วปฏิบัติไม่ได้
หรือเป็นเพราะเกษตรกร
“ท้ายที่สุด สมาคมเกษตรปลอดภัยและเครือข่าย
อยากให้เรียกร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรีหามาตรการลดผลกระทบให้เกษตรกรโดยด่วน
หากยังยืนยันจะออกประกาศกระทรวงฯ ให้สารพาราควอตเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ท่านคิดว่า ณ เวลานี้ เกษตรกรยังทุกข์ยากไม่พอหรือ
รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต้องออกมาบอกว่าจะให้เกษตรกรทำอย่างไรกับฤดูกาลปลูกที่จะถึง
จะให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำอย่างไรมากกว่าที่จะตั้งงบเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกร
เพราะพวกเราไม่ต้องการให้ท่านเอาภาษีของประชาชนมาอุ้มเกษตรกรในเรื่องนี้
เพราะมันต้องใช้งบประมาณมหาศาล
หน้าที่ของท่านคือต้องช่วยให้เกษตรกรประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง
ดีกว่าให้เกษตรกรไปหาวิธีการเองไปตายเอาดาบหน้า และผมขอบอกไปถึงเกษตรกรทุกคน
อย่าไปหลงเชื่อพวกบริษัทขายสารเคมีว่ามีสารทดแทนพาราควอตได้
และขอเตือนทุกบริษัทอย่าหากินกับความยากลำบากของเกษตรกร
ส่วนบรรดาผู้นำเข้าถั่วเหลืองหรืออาหารทั้งหลาย ก็ให้คิดถึงเกษตรกรด้วย
อย่ามองแต่ตนเองฝ่ายเดียว” นายสุกรรณ์
กล่าวสรุป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น