นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยหลังการติดตามผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่กล้วยหอมเมืองแกน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ว่า ได้มีโอกาสร่วมประชุมกับคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วยหอม พบว่าเกษตรกรเข้มแข็งและเข้าใจในหลักตลาดนำการผลิต รวมทั้งปรับตัวใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคนิคการห่อกล้วย รวมถึงการเข้าสู่มาตรฐาน GAP ที่ปัจจุบัน มีเกษตรกรที่ได้รับมาตรฐานแล้วกว่า 70 ราย การทำระบบน้ำให้เพียงพอตลอดปี การปรับปรุงดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการใช้พันธุ์ที่ดี ปัจจุบันผลผลิตสามารถยกระดับเป็นพรีเมี่ยมได้กว่า 40% จากเดิมได้เพียง 1-2 % เน้นคุณภาพ ลดต้นทุน และขับเคลื่อนกลุ่มแปลงใหญ่ในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งจะทำให้โปร่งใส และตรวจสอบการทำงานได้และพัฒนากลุ่มอย่างเป็นระบบ
ในอนาคตวางแผนที่จะใช้โดรนในการลดต้นทุนการผลิต
รวมทั้งแนะนำเกษตรกรผลิตสารชีวภัณฑ์ใช้เอง "สำหรับแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อปี 2560 มีเกษตรกร 70 ราย พื้นที่ 320
ไร่ ผลผลิตรวม 102,400 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 4,800 กก./ไร่ (15 กก./ต้น) ลดต้นทุน เฉลี่ยต้นทุน
(รุ่นที่ 1) 36,368 บาท/ไร่ (รุ่นที่ 2) 11,022 บาท/ไร่ เพิ่มผลผลิตจาก 3,840 กก./ไร่ เป็น 4,800 กก./ไร่ คิดเป็น 20% การพัฒนาคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน GAP
จำนวน 70 ราย สามารถจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน
ด้านการตลาดปัจจุบันนอกจากขานให้บริษัท P&F TECNO CO.,LTD และยังสามารถขายให้กับบิ๊กซีเอ็กซ์ตรา สาขาเชียงใหม่ และบิ๊กซี สาขา
ดอนจั่น ตลาดเกษตรกร ศูนย์ราชการเชียงใหม่ รวมถึงตลาดอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออกต่างประเทศ
โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุดได้ประสานความร่วมมือกับบริษัทธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีความต้องการกล้วยหอมทองเฉลี่ย
1,125 ตัน/เดือน หรือ 13,500 ตัน/ปี
เรียบร้อยแล้ว นับเป็นอีกก้าวสำคัญของเกษตรกร
ที่ใช้ตลาดนำการผลิตตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประสบความสำเร็จ."
นายเข้มแข็ง กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น