วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563

กรมฝนหลวงฯ เดินหน้าปฏิบัติการฝนหลวง สลายฝุ่น ตลอดจนช่วยเหลือพื่นที่เกษตรแก้ปัญหาภัยแล้ง


        นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการคลี่คลายสถานการณ์ฝุนละอองขนาดเล็กในอากาศและหมอกควันตลอดจนสถานการณ์ภัยแล้งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ค่อนข้างน้อยลง

        อีกทั้ง ในปีนี้ปัญหาภัยแล้งมีแนวโน้มเกิดขึ้นเป็นเวลานาน กอปรกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศและหมอกควัน ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ที่กำลังเผชิญปัญหาดังกล่าว ซึ่งวันนี้ (21ม.ค.2563) คุณภาพอากาศในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า มีค่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์คุณภาพเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จึงขอให้พี่น้องประชาชนป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้าน รวมถึงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานเพื่อลดปัญหาการสูดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศเข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ควรมีการป้องกันและระวังตนเองเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้รับการประสานความร่วมมือสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพอากาศ เพื่อใช้ดำเนินการภารกิจปฏิบัติการฝนหลวง ในการเร่งบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร การเติมน้ำในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณนำเก็บกักน้อยกว่า 30% ซึ่งในขณะนี้อากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรบางส่วน ยังอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง ดังนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการบูรณาการของทุกภาคส่วน ระหว่างกองทัพอากาศและข้าราชการพลเรือน เพื่อร่วมกันช่วยเหลือดูแลพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ 

            สำหรับผลการปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวานนี้ (20 ม.ค.63) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง เคลื่อนที่เร็ว จ.ระยอง และจ.สุราษฎร์ธานี ภายหลังขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่มีการร้องขอไม่มีฝนตกในพื้นที่เป้าหมาย เนื่องจากกลุ่มเมฆไม่สามาถพัฒนาตัวต่อไปเป็นเมฆฝนได้ ด้านแผนการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันที่ 21 มกราคม 2563 ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยออกประกาศเขตพื้นที่ภัยแล้ง มีจำนวน 20 จังหวัด (รวม 106 อำเภอ 592 ตำบล 2 เทศบาล 5,065 หมู่บ้าน) คือ จ.เชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครราชสีมา อุตรดิตถ์ ชัยนาท นครสวรรค์ สุโขทัย สุพรรณบุรี พะเยา และ จ.สกลนคร ขณะที่สถานการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำเก็บกักเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 14 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 107 แห่ง ทั้งนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด และร่วมกันวางแผนใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง ส่วนคุณภาพอากาศในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า มีค่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์คุณภาพเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ด้านแผนที่ปริมาณน้ำฝนสะสม 1 สัปดาห์ (14 ม.ค. – 20 ม.ค. 63) พบว่า บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้บางส่วน ปริมาณน้ำฝนสะสมต่ำกว่า 10 มิลลิเมตรและหากสภาพอากาศเหมาะสม กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะเร่งดำเนินการเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ต่างๆ ต่อไป                        
​         สำหรับการติดตามสภาพอากาศเพื่อวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า
ผลการตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์อมก๋อย สถานีเรดาร์ร้องกวางและสถานีเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยา จ.เชียงใหม่ มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 74% (อมก๋อย) 66% (ร้องกวาง) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 32% (อมก๋อย) 27% (ร้องกวาง) ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ 1.6 (อมก๋อย) 0.4 (ร้องกวาง) และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 20 กม./ชม. (อมก๋อย) 28 กม/ชม. (ร้องกวาง)
พื้นที่ภาคกลาง พบว่า ผลการตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์ตาคลี จ.นครสวรรค์ ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 57% ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 48% ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -0.9 และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 7 กม./ชม.พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการตรวจอากาศของสถานีเรดาร์ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ สถานีเรดาร์พิมาย จ.นครราชสีมา และสถานีเรดาร์บ้านผือ จ.อุดรธานี พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 74% (ราษีไศล) 55% (พิมาย) 74% (บ้านผือ) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 40% (ราษีไศล) 50% (พิมาย) 31% (บ้านผือ) ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ 5.9 (ราษีไศล) 5.2 (พิมาย) 3.4 (บ้านผือ) และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 6 กม./ชม. (ราษีไศล) 8 กม./ชม. (พิมาย) 16 กม./ชม. (บ้านผือ) พื้นที่ภาคตะวันออก ผลการตรวจวัดอากาศของสถานีเรดาร์สัตหีบ จ.ชลบุรี พบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 54% ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 70% ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -3.7 และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 12 กม./ชม. หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหน่วยเคลื่อนเร็ว จ.ระยอง ในช่วงเช้าจึงตัดสินใจขึ้นบินปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและพื้นที่ภาคใต้ ผลการตรวจวัดอากาศขอสถานีเรดาร์พนม จ.สุราษฎร์ธานี และสถานีเรดาร์ปะทิว จ.ชุมพร พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 75% (พนม) 84% (ปะทิว) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 61% (พนม) 43% (ปะทิว) ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ 0.5 (พนม) -2.6 (ปะทิว) และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 25 กม./ชม. (พนม) 31 กม./ชม. (ปะทิว)
         อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะเร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือในพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในทุกพื้นที่ทันทีเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม ทั้งนี้ สามารถแจ้งการขอรับบริการฝนหลวงได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงในทุกภูมิภาคของประเทศและสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทางเว็บไซต์/เพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...