เรื่องฝุ่น
pm2.5 ที่โยงไปถึงหนึ่งในต้นตอคือการเผาอ้อย ทำไมชาวไร่ถึงหยุดเผาไม่ได้ มาหาคำตอบกันครับกับงานวิจัยของนักบริหารการพัฒนาการเกษตรระดับสูงรุ่นที่
61 ซึ่งเรียบเรียงโดยธัชธาวินท์ สะรุโณ เรื่อง Friendly sugar cane: แนวทางการเพิ่มมูลค่าการผลิตอ้อยที่เป็นมิตรและยั่งยืน โดยหยิบยกมาบางตอนที่เกี่ยวกับปัญหาผลกระทบจาการเผาใบอ้อย
มีดังนี้ คือ ปริมาณผลผลิตอ้อยที่มีการเผาใบจะมีประมาณ ร้อยละ 60-70 ของผลผลิตทั้งหมด ปัจจุบันเกษตรกรผู้ผลิตอ้อย หันมานิยมเผาใบอ้อยกันมาก
ทั้งนี้การเผาสามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ 1.การเผาใบอ้อยก่อนการเตรียมดิน เพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก
เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาที่ไถ 2.การเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว
สืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จะทำให้ตัดได้รวดเร็วเพราะไม่ต้องลอกกาบใบ 3,การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ
หลังจากที่มีหน่องอกแล้ว และทำให้สามารถใส่ปุ๋ยได้สะดวกยิ่งขึ้น
ละอองดาว
แสงหล้า,และ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์(2548)
ศึกษาพบว่า
การขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวอ้อยและปัญหาค่าจ้างแรงงานสูง
โดยคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตอ้อยทั้งหมดต่อฤดูปลูก
เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกษตรบางส่วนหันมาใช้วิธีการเผาใบอ้อยซึ่งจะช่วยให้สามารถตัดอ้อยได้เร็วทันฤดูเปิดหีบของโรงงานน้ำตาล
ผลกระทบจากการเผาใบอ้อย
คือ ทำให้เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชในดิน หน้าดินถูกชะล้างได้ง่าย
ธรรมชาติขาดความสมดุล การเผาใบอ้อยทำให้หนอนกอลายและหนอนกอสีชมพูเข้าทาลายอ้อยตอได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้แมลงศัตรูธรรมชาติเช่น แตนเบียน แมลงเต่าลาย อาจถูกทาลาย การเผาใบอ้อยทาให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกลุ่มหมอกควัน
ทำให้บ้านเรือนสกปรกจากฝุ่นละอองเถ้าที่ปลิวมาตกตามอาคารบ้านเรือน การสูญเสียน้ำหนักของอ้อยไฟไหม้จะสูญเสียน้ำหนักมากกว่าอ้อยตัดสด การสูญเสียคุณภาพความหวานของอ้อย จะมีค่า C.C.S.
ลดลงมาก แต่การตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้จะช่วยชะลอการลดลงของ C.C.S.
ได้
การสูญเสียน้ำตาลในขบวนการผลิต
อ้อยไฟไหม้จะสูญเสียน้ำตาลซูโครสโดยจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมาในน้ำอ้อย
ทำให้ซูโครสเปลี่ยนเป็นเด็คแทรน มีลักษณะเมือกเหนียว ทำให้กระบวนการผลิตน้ำตาล
เช่น การทำให้ใส การกรอง และการตกผลึก มีประสิทธิภาพลดลง
ทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อต้นอ้อยน้อยลงและเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อการค้าน้ำตาลในตลาดโลกในอนาคต
อาจทำให้ถูกกีดกันการค้าจากมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลก
แนวทางการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน
มีคำแนะนำการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ได้แก่ การใช้เครื่องสับใบและกลบเศษซากอ้อย
(อรรถสิทธิ์ และคณะ, 2548)
อ้อยไฟไหม้ควรตัดส่งโรงงานทันที แต่ในกรณีที่ส่งโรงงานไม่ทัน ควรตัดกองไว้ในไร่
ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าการทิ้งยืนต้นไว้ในไร่ ควรส่งเสริมการนำเอาเครื่องตัดอ้อยมาใช้ทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน
แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง
และควรกำหนดราคาอ้อยตัดสดให้สูงกว่าอ้อยไฟไหม้ในระดับที่เกษตรกรรับได้
การศึกษาพฤติกรรมการเผาใบอ้อยในพื้นที่เกษตรกร
ก่อนเก็บเกี่ยวเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการเผาใบด้วยเหตุผลหลายประการ คือ ประการแรก
เป็นการลดต้นทุนการเก็บเกี่ยว กล่าวคือ การตัดอ้อยสดถ้าใช้แรงงาน 1 คน
จะตัดได้ 2 ตัน/วัน (8ชั่วโมง) คิดตามค่าแรงงานมาตรฐานเท่ากับ
150 บาท/ตัน
ค่าจ้างมัดและขนส่ง 500 บาท/ตัน
รวมต้นทุนการเก็บเกี่ยวอ้อยสด 650 บาท/ตัน ส่วนอ้อยไฟไหม้
แรงงาน 1 คนจะตัดได้ 4
ตัน/วันเป็นค่าแรงงาน 75 บาท/ตัน ค่าจ้างมัดและขนส่ง 100
บาท/ตัน รวมต้นทุน 175 บาท/ตัน จึงเป็นการลดต้นทุนการเก็บเกี่ยวและขนส่งขึ้นรถบรรทุกถึง 485 บาท/ตัน
ประการที่สอง ในสภาวะที่แรงงานขาดแคลน
การตัดอ้อยสดจะมีความเสี่ยงทำให้อ้อยเข้าโรงงานไม่ทันฤดูการเปิดหีบ ตัวอย่างเช่น เกษตรกรปลูกอ้อย 50 ไร่ ได้ผลผลิต 750 ตัน ถ้าตัดสดด้วยแรงงานคน 10 คน จะใช้เวลาถึง 37.5 วัน
แต่การเผาก่อนตัดจะลดเวลาเก็บเกี่ยวลงเหลือครึ่งหนึ่ง
และในข้อเท็จจริงการจัดหาแรงงานของกลุ่มจะได้แรงงานมาจำนวนจำกัดประมาณ 150 คน ทำงานในพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่
หากตัดอ้อยสดทั้งกลุ่มจะใช้เวลาถึง 200 วัน
ขณะที่โรงงานเปิดรับซื้ออ้อยเพียง 150 วัน
จึงไม่สามารถเก็บเกี่ยวให้ทันส่งโรงงานได้ทัน ส่งผลให้อ้อยตัดไม่ทัน 1,000 ตัน สูญเสียรายได้ ประมาณ 9 แสนบาท
ประการที่สาม โรงงานยังคงรับซื้อผลผลิตอ้อยไฟไหม้
และโรงงานต้องการผลผลิตในปริมาณมากที่จะเข้าโรงงานแต่ละวันซึ่งการตัดโดยไม่เผาใบจะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน
การตัดอ้อยสดทำละได้เฉพาะรายที่มีพื้นที่น้อยๆ และมาตรการการเพิ่มราคาซื้ออ้อยสดเพียง
50 บาท/ตัน อ้อยไฟไหม้หัก 20 บาท/ตัน
ยังไม่คุ้มกับค่าจ้างแรงงานและการเผาใบก่อนเก็บเกี่ยวทำให้น้ำหนักลดแต่ค่าความหวานเพิ่มขึ้น
ประเด็นที่สี่
การเผาอ้อย มีทั้งชาวไร่เผาในไร่ของตนเอง และไปแอบเผาของคนอื่นให้ลามเข้ามาในไร่ของตนเอง
(เพื่อเลี่ยงการเป็นต้นเพลิง) การรีบเผาอ้อยจะทำให้สามารถส่งขายผลผลิตได้ก่อนคนอื่นสามารถได้เงินก่อน
และได้ใช้น้ำก่อนคนอื่นๆ
ประการที่ห้า
ในความเห็นของโรงงาน ยังต้องการอ้อยเขียวตัดสด ซึ่งสามารถรอส่ง(นอนค้างไร่)ได้ ถึง
7 วันหลังเก็บเกี่ยว แต่ถ้าเป็นอ้อยเผาจะต้องส่งภายใน 24 ชั่วโมง โรงงานมีมาตรการเฝ้าระวังการเผาอ้อย
และมาตรการปัจจุบันเกษตรกรต้องแสดงใบแจ้งความจึงขายกับโรงงานได้
อ้อยที่เผาเกษตรกรจะต้องรีบส่งเข้าโรงงานจึงทำให้เกิดปัญหาการแซงคิว
นอกจากนั้นมีปัญหาอ้อยสกปรกจากดินโคลนเนื่องเกิดจากฝนตกในฤดูเก็บเกี่ยว
เกษตรกรให้ความเห็นว่าการรณรงค์ไม่เผาใบอ้อย
ไม่เกิดผลสำเร็จได้
เป็นการสูญเสียไม่คุ้มค่าการใช้งบประมาณภาครัฐ แนวทางการที่ให้เป็นไปได้คือการจัดหาเครื่องเก็บเกี่ยวหรือจัดหาแรงงงานและชดเชยค่าจ้างแรงงานให้แก่เกษตรกรซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากมีราคาแพงประมาณ
12 ล้านบาท
Friendly
sugar cane: แนวทางการเพิ่มมูลค่าการผลิตอ้อยที่เป็นมิตรและยั่งยืน
Friendly sugar cane: the value
added guideline for green and sustainable
ผลการวิจัย
พบว่ามีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงเทคนิคในการพัฒนาการผลิตอ้อย
ภายใต้ วิสัยทัศน์ "อ้อยได้มาตรฐานส่งโรงงาน มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี
และความยั่งยืน" โดยยุทธศาสตร์ที่1 การพัฒนาขีดความสามารถเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตอ้อยที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยการพัฒนามาตรฐานการผลิตอ้อยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำระบบน้ำหยด การพัฒนาการใช้ประโยชน์แผงพลังงานแสงอาทิตย์
พัฒนาและส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ป้องกันปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษาเครื่องจักรกลการเกษตร
การศึกษา โรงงานแปรรูปอย่างง่าย การศึกษาผลิตภัณฑ์แปรรูป การวิจัยปรับปรุงพันธุ์ การขยายผลและ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากแปลงต้นแบบ
การส่งเสริมการลดละเลิกการเผาอ้อย
มาตรการชดเชยเพื่อลด มลภาวะสิ่งแวดล้อม
มาตรการเพิ่มราคาซื้ออ้อยสดที่จูงใจ การปูองกันแบบมีส่วนร่วมการเพิ่มศักยภาพการผลิตและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่
2
การพัฒนาสถาบัน เกษตรกรและสร้างเครือข่ายธุรกิจที่เป็นมิตร ประกอบด้วยพัฒนาสถาบันเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย
พัฒนาการบริการและการดำเนินธุรกิจครบวงจร สถาบันเกษตรกรต้นแบบ เกษตรกรต้นแบบ และพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรอ้อยและน้ำตาลในปี
2562 หากนำไปขยายผลในพื้นทีร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศคือประมาณ
5 ล้านไร่ จะสร้างมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 95,800 ล้านบาท จากการเพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 11.35 ตัน/ไร่ เป็น
20 ตัน/ไร่ เพิ่มคุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำตาล ลดการสูญเสียคุณภาพระหว่างการรอคิว
ลดต้นทุนค่าแรงงาน ลดการเผาใบอ้อยจากร้อยละ 66 เหลือร้อยละ 33
มีสถาบันเกษตรกรต้นแบบจังหวัดละ 1 แห่ง ในการบริการริหารจัดการภาคการผลิตอ้อย
Smart farmers คุณภาพชีวิตเกษตรกร
ขอบคุณข้อมูล :
บทความจากงานวิจัย นบส.61 นักวิจัยประกอบด้วย
ธัชธาวินท์ สะรุโณ, วินิต อธิสุข, ปรานอม
จันทร์ใหม่, กรียาภรณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ประสพ พรหมมา, พรเทพ บุญยะผลึก, ถกล
ตติยไตรรงค์, วัชรินทร์ อ่อนนุ่ม, อนุพงษ์ ใจดี ,วิชิต นวลชื่น, ปทิตตา แก้วมณี,
ชูจิต ทองย้อย, สุเมธ วัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น