วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

ต้องจัดการพืชอย่างไรเพื่อรับมือภัยแล้ง


      ราก ลำต้น ใบ มีท่อน้ำเชื่อมต่อกัน เมื่อใบคายน้ำ รากจะดูดน้ำขึ้นสู่ลำต้น สู่ใบ เมื่อน้ำไม่พอพืชจะเหี่ยวเฉา คือหลักพื้นฐานของพื ใบพืชจะมีปากใบ เหมือนประตูเปิดปิดน้ำ ตามปกติปากใบจะเปิด และจะมีการคายน้ำออกไปในรูปของไอน้ำ บริเวณรูเปิดปากใบจะมีท่อลำเลียงน้ำที่ต่อกับลำต้นและราก เมื่อน้ำจากเซลล์ใบถูกคายออกไปทำให้เซลล์ใบเหี่ยวลง ก็จะเกิดแรงดึงดูดน้ำจากท่อลำเลียงน้ำเป็นผลให้น้ำเคลื่อนย้ายจากลำต้นเข้าสู่ใบ เมื่อน้ำในลำต้นน้อย ทำให้รากพืชต้องดูดน้ำจากดินเพิ่มขึ้น หมุนเวียนกันแบบนี้อย่างมีสมดุล คือ พืชจะดูดน้ำจากดิน เข้าสู่ลำต้น และไปสู่ใบ เมื่อพืชไม่ได้รับน้ำ การดูดน้ำขึ้นไปก็จะไม่มี ใบจึงเหี่ยวเฉา ถ้ามากต้นก็เหี่ยวเฉา 

      ผลกระทบจากการขาดน้ำจะช้าหรือเร็วขึ้นกับแต่ละชนิดของพืช ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังใบพืช ทำให้ใบพืชซึ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น และลมที่พัดแรง ล้วนทำให้รูเปิดปากใบเปิดมากขึ้น ทำให้มีการคายน้ำเพิ่มขึ้น และเมื่อใดที่ดินมีความชื้นน้อย น้ำไม่พอ การเหี่ยวของพืชก็จะเร็วขึ้นด้วย 
     สรุปว่าหน้าแล้ง ต้องจัดการน้ำในดินให้มีความชื้นพอเหมาะ จัดการพืชให้คายน้ำน้อยๆ  จัดการธาตุอาหารให้พืชพร้อมรับการขาดน้ำ และจัดการพืชให้พร้อมรับภาวะแห้งแล้ง 

     1. การจัดการน้ำในดินหน้าแล้ง ให้ลดการระเหยของน้ำให้มากที่สุด เช่น คลุมโคนต้นพืช จะด้วยเศษพืช ซังข้าว ใบอ้อย  หรือพลาสติกปลูกพืชก็ตามความเหมาะสม ลดแสงแดดที่ส่องลงมาที่ผิวดิน เช่น พลางแสง ให้ร่มเงาในพืชขนาดเล็ก ก็จะช่วยได้ วิธีการเหล่านี้จะช่วยให้เก็บน้ำในดินไว้ได้นาน และจะต้องผสมผสานวิธีการให้น้ำแบบต่างๆ ที่ประหยัดน้ำด้วย
      2. การลดการระเหยน้ำของใบพืช 
             1) ลดอุณหภูมิ ลดรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ที่ลงสู่พืช  เมื่อใบได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการคายน้ำจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุกๆ 10 องศาเซลเซียส เมื่ออุณหภูมิใบสูงขึ้น ไอน้ำในใบ และไอน้ำในบรรยากาศมีความแตกต่างกันมากขึ้น การคายน้ำก็จะเพิ่มมากตามไปด้วย แต่หากอุณหภูมิเกิน 30 องศาเซลเซียส ปากใบก็จะปิด หรืออุณหภูมิต่ำมากๆ ปากใบก็จะปิดเช่นกัน
             2) รักษาความชื้นรอบๆ ต้นพืชไม่ให้แตกต่างกับความชื้นของใบพืชมากนัก  เพราะการคายน้ำจะเกิดอย่างเร็วมากเมื่ออากาศรอบๆ ต้นพืชแห้ง หรือช่วงในบรรยากาศมีความชื้นน้อย ทำให้การคายน้ำเกิดได้มากและรวดเร็ว 
             3) ลดกระแสลมปะทะใบ  เมื่อใบโดนลม จะกำจัดไอน้ำที่ผิวใบออกไป การคายน้ำจะสูงขึ้น แต่ถ้าลมแรงมากๆ อัตราการคายน้ำอาจจะลดลงเพราะปากจะใบปิด        
    

    
     3.  จัดการพืชให้พร้อมรับภัยแล้ง เช่น บำรุงพืชให้มีรากสมบูรณ์ ลึกและแผ่ขยาย เพื่อให้ความสามารถดูดน้ำได้มากขึ้น ซึ่งจะต้องดูแลทั้งพืชและจัดการดินให้ร่วนซุย  ตลอดจนการเลือกพันธุ์ที่ทนทานต่อสภาพแล้งแห้ง ใช้น้ำน้อย หรือจัดรูปแบบการปลูกที่เหมาะสม เช่น ปลูกผักแบบมีหลังคา
      4. ให้ปุ๋ยชีวภาพ PGPR (rhizobacteria) จะช่วยให้พืชเพิ่มความทนทานต่อภาวะแห้งแล้ง เนื่องแบคทีเรีย การทำให้พืชมีรากสมบูรณ์ และมีแบคทีเรียช่วยให้เกิดโอร์โมนที่ทำให้พืชทนแล้งเพิ่มขึ้น 
      นอกจากนั้นพบว่าการเสริมการให้ธาตุอาหาร โพแทสเซียม  ซิลิกอน  และฮอร์โมน กรดซาลิไซลิก, ออกซิน, ยิบเบอเรลลิน, ไซโตไคนิน และ กรดแอบไซซิค จะช่วยให้พืชทนแล้งได้เพิ่มขึ้น

เรียบเรียงโดย ธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง สวพ.8 สงขลา 
อ้างอิงhttps://www.researchgate.net/publication/257828589_Plant_Drought_Stress_Effects_Mechanisms_and_Management
https://www.researchgate.net/publication/291016280_Enhancement_of_drought_stress_tolerance_in_crops_by_plant_growth_promoting_rhizobacteria
https://sites.google.com/site/chiwwithyakhxngphuchphuchdxk/home/reuxng-thi-6-kar-khay-na-khxng-phuch
http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY2.htm#stoma

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...