กรมหม่อนไหม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานครบรอบ 10 ปี แห่งการสถาปนากรมหม่อนไหม "10 ปี หม่อนไหม
สืบสาน ต่อยอดภูมิปัญญา พัฒนาเพิ่มผลผลิต"
กรมหม่อนไหม โดยเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นประธาน และนายวสันต์ นุ้ยภิรมย์
อธิบดีกรมหม่อนไหมพร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหมให้การต้อนรับ
นายเฉลิมชัย
ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนงานหม่อนไหมว่า
นโยบายตลาดนำการผลิตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นนโยบายที่ให้แนวทางตอบโจทย์การดำเนินงานให้กับกรมหม่อนไหมได้เป็นอย่างดี ซึ่งงานกรมหม่อนไหมเป็นงานที่สำคัญมาก
เพราะเป็นงานที่ดำเนินตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ที่ทรงอนุรักษ์ส่งเสริมงานหม่อนไหมให้ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและในต่างประเทศมาโดยตลอด
กรมหม่อนไหมจึงต้องพัฒนาไหมไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ผ้าไหมไทยมีความสวยงามประณีตไม่เหมือนใคร
จึงควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
ได้เห็นถึงเอกลักษณ์ของผ้าไหมไทย
“ควรเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในสนามบินทุกแห่งและห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ
โดยเน้นที่ความหลากหลายของชนิด ลวดลาย และราคาตั้งแต่ราคาย่อมเยาไปจนถึงราคาระดับพรีเมี่ยม
เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้สนใจสามารถเลือกซื้อได้
ล่าสุดได้รับการประสานจากการท่าอากาศยานแล้วให้นำผ้าไหมไปจำหน่ายในสนามบินทุกแห่งทั่วประเทศ
นอกจากนี้ต้องมีกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้คนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศสวมใส่ผ้าไหมและใช้ประโยชน์จากผ้าไหมมากยิ่งขึ้น
โดยขยายตลาดผ้าไหมทั้งในประเทศและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น” นายเฉลิมชัย
กล่าว
ด้าน
นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า
แนวทางการขยายการตลาดผ้าไหมทั้งในประเทศนั้น
นอกจากกรมหม่อนไหมจะจัดงานตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยเป็นประจำทุกปีแล้ว
ก็จะเพิ่มการจัดตลาดนัดหม่อนไหมในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทุกสัปดาห์
ส่งเสริมการใช้ผ้าไหมเป็นชุดประชุมและรับแขกต่างประเทศ สวมใส่ชุดผ้าไหมในพิธีสำคัญๆ
และในงานเทศกาลต่าง ๆ ให้เป็นเอกลัษณ์ของชาติไทย ส่งเสริมให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐและนักเรียนนักศึกษาสวมใส่ผ้าไหมทุกสัปดาห์
รวมถึงส่งเสริมการออกแบบผ้าไหมให้มีความร่วมสมัยมาจำหน่ายมากขึ้น
เป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และทำรายได้ให้ประเทศได้ถึง 12,000 ล้านบาท
ส่วนในต่างประเทศนั้น
จะส่งเสริมขยายช่องทางการตลาดในประเทศที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย อาทิ
สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน กลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศมุสลิม
เป็นต้น โดยเน้นผ้าไหมในตลาดแฟชั่นและสินค้าแบรนด์เนม
รวมถึงผ้าไหมที่ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งในอาคาร (Home Textile) โดยมีเป้าหมายให้มีรายได้
3,000 ล้านบาทต่อปี จากเดิม 800
ล้านบาทต่อปี
โดยทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้นจะเพิ่มการส่งเสริมในตลาดนัดออนไลน์โดยให้ส่วนราชการร่วมมือกับภาคเอกชน
ผู้ประกอบการ นำผลิตภัณฑ์จำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ด้วย และเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว
กรมหม่อนไหมจะนำงานวิจัยนวัตกรรมมาปรับใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ไหมอุตสาหกรรมขึ้นอีก
20% จากเดิม มีผู้เลี้ยงไหมอุตสาหกรรม 4,000 ราย ปริมาณรังไหม 2,800 ตัน มูลค่าสินค้า 500 ล้านบาท เพิ่มจำนวนผู้เลี้ยงไหมเป็น 5,000 ราย
ปริมาณรังไหม 3,300 ตัน มูลค่าสินค้า 600 ล้านบาท นอกจากนี้จะเพิ่มผู้เลี้ยงไหมอีรี่
หรือไหมที่ไม่ได้กินใบหม่อนเป็น 2,500 ราย ปริมาณรังไหม 500 ตัน มูลค่าสินค่า 60 ล้านบาท
โดยจะส่งเสริมให้มีการจัดทำแปลงเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดรายจ่าย
เพิ่มผลผลิตรังไหมต่อไร่เป็น 150 กิโลกรัม
เพิ่มผลผลิตเส้นไหม และเพิ่มพื้นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็น 30,000 ไร่
ส่วนการแปรรูป
มีเป้าหมายจะเพิ่มรายได้ขึ้นอีก 20% เป็น 320 ล้านบาท
จากกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากใบหม่อน 150 ล้านบาท หม่อนผลสด 150 ล้านบาท และไหม 20 ล้านบาท
ซึ่งจะร่วมมือกับภาคเอกชนในการแปรรูปและจัดจำหน่าย นอกจากนี้ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
จะเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าไหม
โดยเฉพาะผ้าไหมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน 250,000 เมตร
และเพิ่มจำนวนผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผลิตผ้าไหมในกลุ่มผู้สูงวัยและคนรุ่นใหม่เป็น
10,000 รายต่อไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น