วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ทางรอด "ภัยแล้ง" กับศรแดงพืชน้ำน้อย ใช้น้ำน้อย เก็บเกี่ยวไว สร้างรายได้เร็ว



วิกฤตภัยแล้งปี 2563 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเกษตรกรอย่างน้อย 20 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 5,297 หมู่บ้าน และวิกฤตภัยแล้งนี้อาจจะลากยาวไปถึงกลางปี  บางพื้นที่นาข้าวหลายร้อยไร่ยืนต้นตายเพราะไม่มีน้ำ บางพื้นที่ภาครัฐได้ออกมาประกาศให้ชาวนางดการทำนาปรังและให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่า การปรับตัวสำหรับเกษตรกรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพื่อให้เอาตัวรอดผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งนี้ไปได้


นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไปบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง ผู้นำอันดับ 1 ด้านเมล็ดพันธุ์ผัก กล่าวว่า  วิกฤตภัยแล้ง หรือที่เราเรียกว่า เอลณีโญ โดยปกติจะเกิดขึ้นทุกๆ 5 ปี ถ้าจำกันได้ปี 2559 จะเป็นปีที่แล้งหนักมาก และในปี 2563 นี้วิกฤตภัยแล้งก็จะเวียนมาครบอีกรอบ โดยในปีนี้ค่อนข้างที่จะรุนแรงมาก สาเหตุมาจากปริมาณฝนที่ตกปี 2562 น้อยกว่าปกติ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมน้อย คาดกันว่า ในปี 2563 ฝนตกล่าช้ากว่าปกติ 1 – 2 เดือน คือ จะเริ่มช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม  2563 จากปกติแต่ละปีฝนจะเริ่มตกกลาง พฤษภาคม- ตุลาคม ปี 2563 และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซฃเซียส หรือราวๆ 40 กว่าองศา ฯ ทำให้แหล่งน้ำต่าง ๆ เหือดแห้งไปหมด
อย่างไรก็ดี ทางบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ได้ตระหนักเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชาวนา รองลงมาคือปลูกพืชไร่ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะว่าเป็นพืชที่ใช้น้ำมาก ปริมาณ 1,100 ลบ.ม.ต่อไร่ต่อรอบการปลูก ใช้ระยะเวลาการปลูก 100-120 วัน  จึงเป็นที่มาของโครงการ ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ในช่วงภัยแล้งโดยทางบริษัทฯได้ริเริ่มทำโครงการ ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ในช่วงภัยแล้งขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรที่ไม่สามารถปลูกข้าวหรือพืชไร่ได้ ให้หันมาปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น โดยเรามีข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างข้าวกับพืชน้ำน้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณน้ำที่ใช้ อายุเก็บเกี่ยวที่สั้นกว่า ยกตัวอย่างเช่น ปลูกข้าว 1 ไร่ใช้ปริมาณน้ำถึง 1,100 ลบ.ม. แต่ถ้าปลูกพืชน้ำน้อย เช่น แตงกวา ข้าวโพด จะใช้ปริมาณน้ำแค่ 300 – 600 ลบ.ม. และข้าวต้องใช้เวลาถึง 3-4 เดือนถึงเก็บเกี่ยวได้ แต่พืชน้ำน้อยใช้ระยะเวลา 1-2 เดือนเท่านั้น


สำหรับพืชน้ำน้อยที่เราแนะนำมีทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกันได้แก่ 1. ข้าวโพดข้าวเหนียว พันธุ์สวีทไวโอเล็ท ข้าวโพดหวาน พันธุ์จัมโบ้สวีท อัตราการใช้น้ำ 438 (ลบ.ม./ไร่)  ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 70 (วัน)  สร้างรายได้ 16,000-17,000 (บาท), 2.ฟักทอง พันธุ์ข้าวตอก 573 และประกายเพชรอัตราการใช้น้ำ 616 (ลบ.ม./ไร่) ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 75-90 (วัน)สร้างรายได้ 24,000 (ลบ.ม./ไร่), 3. ถั่วฝักยาว พันธุ์ลำน้ำชี และลำน้ำพอง อัตราการใช้น้ำ 458 (ลบ.ม./ไร่) ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 55-60 (วัน) สร้างรายได้ 60,000 (บาท)}4.แฟง พันธุ์สะพายเพชร อัตราการใช้น้ำ 551 (ลบ.ม./ไร่) ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 60-65 (วัน) สร้างรายได้ 40,000 (บาท),5. แตงกวา พันธุ์ธันเดอร์กรีน อัตราการใช้น้ำ 660 (ลบ.ม./ไร่) ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 30-32 (วัน) สร้างรายได้ 39,000 (บาท) ,6,ผักใบ ผักบุ้ง พันธุ์ยอดไผ่ 9 อัตราการใช้น้ำ 300 (ลบ.ม/ไร่) ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 21 (วัน) สร้างรายได้ 43,200 (บาท),และ 7. พริกขี้หนู พันธุ์เพชรมงกุฏ อัตราการใช้น้ำ 758 (ลบ.ม./ไร่) ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 150 (วัน) สร้างรายได้ 105,000 (บาท)
นายวิชัย กล่าวอีกว่า ทางบริษัทฯ ยังได้จัดทำโครงการ ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ในช่วงภัยแล้ง ซึ่งได้ดำเนินโครงการครั้งที่ 1 ไปเมื่อปี 2559 ภายใต้ชื่อโครงการว่า ศรแดงพืชน้ำน้อย จากร้อยสู่ล้าน” ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ในปี 2563 นี้ จึงได้ดำเนินโครงการครั้งที่ 2 เพราะมองเห็นว่า จะให้คำแนะนำเรื่องเมล็ดพันธุ์และการปลูกพืชอย่างเดียวคงไม่พอ สิ่งที่สำคัญสำหรับพืชน้ำน้อยคือเรื่องการเทคโนโลยีการใช้น้ำ วิธีการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ระบบน้ำหยด สปริงเกอร์ เราใส่องค์ความรู้นี้เพิ่มเติมเข้าไปให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อให้เกษตรกรปลูกพืชน้ำน้อยให้ผลผลิตมีคุณภาพมากที่สุด


            ด้าน นายอิสระ วงศ์อินทร์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด กล่าวเพิ่มเติม ว่า  สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทางเกษตรกรนำองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับพืชน้ำน้อยที่เรามอบให้ไปใช้จริงๆ เราจึงมีการจัดการประกวดนี้ขึ้นมาโดยเราจะจัดขึ้นภาคละ 1 จุด คือภาคเหนือ : ที่จังหวัดเชียงราย อำเภอพญาเม็งราย,ภาคอีสาน : ที่จังหวัดนครราชสีมา,ภาคใต้ตอนบน : ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์,และภาคกลาง ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในโครงการนี้ จะมีการประกวดด้วย โดยหลักเกณฑ์ในการประกวดต้องเป็นเกษตรกรที่ทำนาหรือปลูกพืชไร่อยู่เจ้าหน้าที่ภาคสนามจะทำการคัดเลือกเกษตรกรขึ้นมาจำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่ภาคสนามให้ความรู้การปลูกพืชน้ำน้อยคือ ระบบน้ำหยด การคลุมแปลง การปลูกพืชน้ำน้อยผ่านแปลงตัวอย่าง เกษตรกรต้องนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับแปลงของตนเอง โดยต้องใช้ 1.ระบบน้ำหยด 2.การคลุมแปลง 3.การปลูกพืชน้ำน้อยไปใช้ โดยมีเจ้าหน้าที่ภาคสนามเป็นพี่เลี้ยง โดยค่าใช้จ่ายด้านระบบน้ำหยด การคลุมแปลง เมล็ดพันธุ์ บริษัทฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ โดยเกณฑ์การประกวด จะพิจารณาดูว่าเกษตรกรได้นำสิ่งที่ให้ไป ไปใช้ประโยชน์เต็มที่หรือไม่ปริมาณผลผลิตที่ได้ ความสวยงามตรงความต้องการของตลาดหรือไม่ของรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ รางวัลที่ 1 ของรางวัลมูลค่ารวม 18,500 บาท,รางวัลที่ 2 ของรางวัลมูลค่ารวม 12,000 บาท,และรางวัลที่ 3 ของรางวัลมูลค่ารวม 6,500 บาท ทั้ง 3 รางวัลนี้จะมีชุดระบบน้ำหยด เมล็ดพันธุ์ผัก ให้เกษตรกรสามารถนำไปต่อยอดการทำเกษตรต่อไปได้


            “อีสท์ เวสท์ ซีดเราเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์อันดับ 1 สายพันธุ์ที่เราพัฒนามาต้องตอบโจทย์ปัญหาของเกษตรกรได้ และปัญหาภัยแล้งก็เป็นปัญหาหนึ่งที่เรานำมาพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความทนแล้ง 3 สายพันธุ์ที่แนะนำมีดังต่อไปนี้ ข้าวโพดข้าวเหนียว พันธุ์สวีทไวโอเล็ท และ ข้าวโพดหวาน พันธุ์จัมโบ้สวีท เคลือบเมล็ดด้วยสารเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้มีรากฝอยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นหาอาหาร หาน้ำได้ดีกว่าพันธุ์การค้าอื่นๆ พริกขี้หนู พันธุ์เพชรมงกุฎ เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาให้มีความทนแล้งโดยเฉพาะ ผลผลิตได้คุณภาพดีแม้อยู่ในสภาพอากาศแล้ง ส่วนเมื่อเกษตรกรปลูกแล้วขายที่ไหน ศรแดงจะเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาด้านตลาดของผลผลิตสำหรับพืชน้ำน้อย เพราะเรามีเครือข่ายกับทางพ่อค้าและแม่ค้าที่ซื้อขายผลผลิต เราจะเป็นคนประสานงานให้ในกลุ่มเฟสบุค ซึ่งทางเกษตรกรสามารถนำผลผลิตตัวเองไปโพสขายได้ โดยตรง มี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลูกแตง มะระ บวบ ศรแดง กลุ่มปลูกข้าวโพดศรแดงและกลุ่มปลูกพริกศรแดง ซึ่งในกลุ่มเหล่านี้จะเป็นที่รวมตัวกันของพ่อค้า แม่ค้า ผู้รับซื้อผลผลิต อีกทั้ง ทางบริษัท ฯ มีพนักงานภาคสนามอยู่ทั่วประเทศ ที่พร้อมให้ความรู้ คำแนะนำ พร้อมทั้งแนะนำตลาดสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ได้”นายอิสระ กล่าวทิ้งท้าย
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...