กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเวทีเสวนา นำผู้เกี่ยวข้องกว่า 1,000 คนรับทราบแนวทางมาตรฐานการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทยเพื่อร่วมขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติตามหลักวิชาการ
ป้องกันการปนเปื้อนชั้นน้ำบาดาลและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยมีนายวราวุธ
ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นประธานเปิดการประชุม เสวนา “การเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย”
พร้อมส่งมอบ “เกณฑ์และแนวทางการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย”
ให้กับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม
กองทัพบก กองทัพไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สถาบันการศึกษา
จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเติมน้ำใต้ดินต่อไป
นายวราวุธ
ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า
จากการที่ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ลดลง
ทำให้ปริมาณการซึมของน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลน้อยลง เพราะเมื่อฝนตกลงมา
แต่ไม่มีต้นไม้คอยดูดซับชะลอการไหลของน้ำ จึงทำให้น้ำท่าไหลลงสู่แหล่งน้ำผิวดิน
แม่น้ำลำคลองอย่างรวดเร็ว และจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฝนตกหนักช่วงเวลาสั้นๆ
แล้วทิ้งช่วง
มาไวไปไวทำให้ไม่มีเวลานานพอที่จะหน่วงน้ำฝนให้ไหลซึมลงสู่น้ำใต้ดินตามธรรมชาติ
ปริมาณการเพิ่มเติมน้ำสู่ชั้นน้ำบาดาล จึงน้อยลง
เมื่อมีภาวะฝนทิ้งช่วงและปริมาณฝนลดลง
ทำให้ปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนและแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณลดลงด้วย เกิดภาวะภัยแล้งเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ
ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้น้ำบาดาลซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญในการอุปโภคบริโภคและกระบวนการผลิตของภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
ได้ถูกสูบขึ้นมาใช้เพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่
ส่งผลให้ระดับน้ำบาดาลลดลงอย่างต่อเนื่อง
และชั้นน้ำบาดาลมีโอกาสเสียสมดุลตามธรรมชาติ
ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กำหนดแนวทางแก้ไขด้วยวิธีการเติมน้ำใต้ดิน
หมายถึง นำน้ำที่เหลือใช้ในช่วงน้ำท่วมหลากหรือจากน้ำฝนที่ตกลงมาเติมลงสู่ชั้นน้ำบาดาล
ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และนำกลับมาใช้ใหม่ในช่วงเวลาที่ต้องการ
เป็นการช่วยธรรมชาติฟื้นฟูชั้นน้ำบาดาล
แก้ไขปัญหาการลดระดับลงของชั้นน้ำบาดาลให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
ช่วยระบายน้ำและลดปริมาณน้ำ ที่สำคัญรูปแบบและวิธีการเติมน้ำใต้ดินที่เหมาะสม จะเพิ่มความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณ
ทั้งนี้ การเสวนา “การเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย”
ครั้งนี้ ได้เชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทั่วประเทศ ได้แก่
ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด กลุ่มผู้ใช้น้ำจากภาคส่วนต่างๆ
รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมแล้วกว่า 1,000 คน มารับทราบนโยบายแนวทางมาตรฐานการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย
รวมทั้งร่วมเสวนาการขับเคลื่อนแนวทางมาตรฐานการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทยไปสู่การปฏิบัติ
เพื่อสื่อสารและส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้เรื่อง “การเติมน้ำใต้ดิน”
ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีมาตรฐาน
ป้องกันไม่ให้ชั้นน้ำบาดาลเกิดการปนเปื้อน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต
ไปบอกกล่าวและเผยแพร่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้รับทราบต่อไป
ด้าน นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า
ที่ผ่านมามีหลายภาคส่วนและหลายหน่วยงานมีการกล่าวถึงและดำเนินการในเรื่องของการเติมน้ำใต้ดิน
ประกอบกับประชาชนมีความเชื่อว่าการทำธนาคารน้ำใต้ดินสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมได้
จึงทำให้นิยมทำธนาคารน้ำใต้ดินกันอย่างแพร่หลาย โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ชัดได้ว่า
ธนาคารน้ำใต้ดินสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จริง
และก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีการติดตามประเมินผล ดังนั้น
ในการเสวนาในวันนี้
จึงเป็นบทสรุปที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมทำความเข้าใจและให้การยอมรับในหลักเกณฑ์และแนวทางการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย
ที่มีเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องพื้นที่ และรูปแบบวิชาการที่เหมาะสม
แหล่งน้ำที่จะใช้เติมและคุณภาพน้ำทั้งก่อนและหลังการเติม
โดยมีมาตรฐานหรือกลไกการกำกับดูแล
รวมทั้งประเมินผลกระทบและการบริหารจัดการในระยะยาวต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น