14 กุมภาพันธ์ 2563
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดงานเทคโนโลยีการผสมเกสร
เพิ่มผลผลิตลำไยด้วยผึ้ง ณ แปลงใหญ่ลำไย ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งการจัดงานดังกล่าว
เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่า การใช้แมลงผสมเกสร
เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชในไม้ผลเป็นวิธีการและปัจจัยที่มีความสำคัญปัจจัยหนึ่ง
เพราะพืชเศรษฐกิจทางการเกษตรหลายชนิดรวมถึงลำไยด้วย
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
กล่าวภายหลังเปิดงานฯ ว่า กรมส่งเสริมการเกษตร
มีแนวทางที่ต้องการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตของสินค้าเกษตร ตามนโยบายสำคัญของ
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะลำไย ที่ช่วง
มกราคม เป็นช่วงที่ลำไยออกดอก และต้องทำการผสมเกสร ซึ่งกรมฯ ได้สนับสนุนให้เกษตรกร
ใช้เทคโนโลยีช่วยในการผสมเกสร เนื่องจากลำไย
เป็นพืชผสมข้ามการนำผึ้งเข้าช่วยผสมเกสร
จะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์การติดผลของลำไยมีมากขึ้น ไม่ว่าต้นลำไยจะอายุเท่าใดก็ตาม
และจะมีปริมาณมากกว่าต้นที่ไม่มีผึ้งและแมลงผสมเกสรอื่นๆ โดยปกติ
จะสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มขึ้น กว่า 78.78% นอกจากนี้ การใช้ผึ้ง จะลดการใช้สารเคมี
ชาวสวนต้องใช้สารชีวภาพต่างๆ เข้ามาช่วยในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
เพราะจะส่งผลกระทบต่อผึ้งได้
นายเข้มแข็ง กล่าวเพิ่มเติมว่า
กรมส่งเสริมการเกษตร มีแนวปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย และ ผู้เลี้ยงผึ้ง ดังนี้
สำหรับแนวทางการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ควรปฏิบัติดังนี้ 1. ทำสวนลำไยแบบเกษตรอินทรีย์
เน้นการจัดการและการใช้สารชีวินทรีย์ ในการป้องกันกำจัดศัตรูลำไย 2. ควรใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) รวมถึงการใช้สารที่มีพิษน้อยต่อผึ้ง
3. มีการสำรวจตรวจดูชนิดและปริมาณแมลงศัตรูลำไย
อยู่เป็นประจำ 4. เลือกใช้สารเคมีตามคำแนะนำและหลีกเลี่ยงการพ่นสารเคมี
ช่วงดอกลำไยบาน 5. ทำข้อตกลงกับเจ้าของผึ้ง
และแจ้งเจ้าของผึ้งหากจำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อให้เจ้าของผึ้งย้ายผึ้งก่อน และแนวทางการปฏิบัติของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง
ควรปฏิบัติดังนี้ 1. ทำข้อตกลงให้ชัดเจน
และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงแจ้งกำหนดการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช
รวมถึงพื้นที่แนวรัศมีการออกหาอาหารของผึ้งอย่างสม่ำเสมอ 2.ไม่วางรังผึ้งที่หนาแน่นจนเกินไป
และเข้าตรวจเช็คพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ
สำหรับสถานการณ์ลำไยในปีนี้
จากสภาพอากาศที่แปรปรวน ร้อนสลับหนาวและกระทบแล้งยาวนาน
ส่งผลกับการออกดอกและติดผลครั้งแรกให้ช้าลงจากปกติ อย่างน้อย 1 เดือน ทำให้ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ช้าจากเดิมอีกประมาน 1 เดือน เช่นเดียวกัน
และจาการสำรวจการผลิตลำไยใน 8 จังหวัดภาคเหนือในปี
2563 พบว่ามีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น เป็น 857,036 ไร่ มีแนวโน้มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 817 กก./ไร่
เป็นผลมาจากการที่ภาครัฐให้ความช่วยเหลือ ทั้งการกระจายผลผลิต
การส่งเสริมการแปรรูป การส่งเสริมการตลาด รวมถึงความต้องการบริโภคลำไย จากต่างประเทศมีมากขึ้น
ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกรวมถึงดูแลรักษาต้นลำไยมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น