นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์
เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการหารือร่วมกับ Ms. Ingrid van Wees รองประธานจากธนาคารพัฒนาเอเชีย
(Asian Development Bank: ADB) เพื่อหารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมถึงมองหาโอกาสในการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กับ ADB ในอนาคต ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระยะยาวฉบับใหม่ของ
ADB (Strategy 2030) ซึ่งให้ความสำคัญในการดำเนินงาน 7 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การขจัดความยากจนและลดความไม่เท่าเทียม
(2) การเร่งความก้าวหน้าด้านความเท่าเทียมทางเพศ (3) การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการรับมือภัยพิบัติ
และเสริมสร้างความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (4) การทำให้เมืองน่าอยู่ (5) การส่งเสริมการพัฒนาชนบทและความมั่นคงอาหาร
(6) การเสริมสร้างการกำกับดูแลและขีดความสามารถของสถาบัน และ
(7) การส่งเสริมความร่วมมือและการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค
โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงหารือเกี่ยวกับแนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรการสร้างความมั่นคงอาหารอย่างยั่งยืน
และการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดผลกระทบจากภาคเกษตรที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ สศก. ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
2
โครงการที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ การจัดทำข้อมูลของศูนย์ข้อมูลการเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Big Data Center
: NABC) และการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agri-technology
and Innovation Center: AIC) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่ ADB ต้องการผลักดันภายใต้ยุทธศาสตร์ Strategy 2030
ดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับ ADB ในการพิจารณาความร่วมมือกันในอนาคต
โดยทาง ADB ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทั้ง 2 โครงการที่ สศก. ให้ความสำคัญ เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้จากการใช้ข้อมูลดังกล่าวและสามารถคาดการณ์ผลผลิตที่ตนจะได้รับ
เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอกู้เงิน ในการลงทุนการผลิตทางการเกษตรของตนได้
ซึ่ง สศก. เล็งเห็นว่าแนวคิดนี้เป็นประโยชน์และเป็นโอกาสในการร่วมมือระหว่าง สศก.
และ ADB ร่วมกันต่อไป
เลขาธิการ สศก.
ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สศก. ร่วมกับ ADB อยู่ระหว่างการเตรียมการสำหรับดำเนินงาน
“โครงการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรเพื่อเพิ่มการฟื้นตัวและความยั่งยืนในพื้นที่สูง
(Climate Change Adaptation in Agriculture for Enhanced Recovery and
Sustainability of Highlands)” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเปราะบางของพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เช่น ภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม หรือดินถล่ม
ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของชุมชนบนพื้นที่สูง
มีกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (กลางปี 2563 –
2566) ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติเงินทุนจากกองทุนเพื่อการลดความยากจนของรัฐบาลญี่ปุ่น
(Japan Fund for Poverty Reduction :JFPR) ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาอนุมัติและจะได้เริ่มดำเนินงานโครงการในช่วงเดือนกรกฎาคม
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการและประชาชนในพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้านต่างๆ
ได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การสนับสนุนเทคโนโลยี พัฒนาเครื่องมือโดยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินงานให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น