วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

กรมส่งเสริมการเกษตรเตือนอากาศร้อนและแล้งระวังหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดระบาด



นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะประธานศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ในช่วงสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งนี้ จากการติดตามรายงานสถานการณ์การระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดของกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย ตาก แพร่ และลพบุรี อยู่ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นจนถึงระยะสร้างเมล็ด มักพบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ซึ่งนอกจากข้าวโพดแล้วหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดยังมีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว ข้าวฟ่าง อ้อย ฝ้าย ทานตะวัน และถั่วเหลือง เป็นต้น


ลักษณะของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน มีขนาด 3.24 เซนติเมตร มีแถบสีขาวที่ขอบปีกคู่หน้า กลางปีกมีแถบลักษณะเป็นวงรีสีน้ำตาล เพศเมียมีสีและลวดลายจางกว่าเพศผู้ เพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบพืช แต่ละกลุ่มจะมีไข่ประมาณ 100200 ฟอง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม เพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 1,5002,000 ฟอง ระยะไข่ 23 วัน ระยะหนอน 1422 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3.24 เซนติเมตร ส่วนบนของหัวมีแถบสีขาวเป็นรูปตัว Y หัวกลับ ส่วนหลังและด้านข้างมีแถบสีขาวตามยาวลำตัวปล้องท้องก่อนปล้องสุดท้ายมีจุดสีดำ 4 จุด เรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัวหนอนจะเข้าดักแด้ในดิน ระยะดักแด้ 713 วัน จึงออกเป็นตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่ได้ 1021 วัน วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ใช้เวลาประมาณ 3040วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว การเข้าทำลายตัวหนอนจะทำลายข้าวโพดตั้งแต่อายุประมาณ 7 วัน จนกระทั่งออกฝัก โดยกัดกินยอดและใบข้าวโพดแหว่งหรือกัดกินทั้งใบ ช่อดอกตัวผู้ ฝัก เมล็ด ตัวหนอนหลบซ่อนแสงอยู่ที่ยอดหรือโคนกาบใบ หากหนอนทำลายในระยะต้นอ่อนจะทำให้ต้นข้าวโพดตาย หากหนอนทำลายในระยะต้นแก่ข้าวโพดจะไม่เจริญเติบโต หากหนอนทำลายฝัก ฝึกจะลีบเล็กไม่สมบูรณ์




กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบกลุ่มไข่หรือตัวหนอนให้เก็บทำลายทิ้ง และในการกำจัดหนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟักออกจากไข่ให้ฉีดพ่นด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อบีทีสายพันธุ์ไอซาไว (Bacillus thuringiensis var. aizawai) หรือสายพันธุ์เคอร์สตาร์กี้ (Bacillus thuringiensis var. kurstaki) อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 4-7 วัน และควรพ่นในตอนเย็นจะเกิดประสิทธิภาพการทำลายสูงสุด สำหรับในแปลงที่ไม่ใช้สารเคมี ให้ใช้แมลงตัวห้ำ เช่น แมลงหางหนีบ มวนเพชฌฆาต หรือ มวนพิฆาต หากพบการระบาดขอแนะนำให้ใช้สารเคมี เช่น สไปนีโทแรม (กลุ่ม 5) ฟลูเบนไดอะไมด์ คลอแรนทรานิลิโพรล (กลุ่ม 28 )  และอีมาเมกตินเบนโซเอต (กลุ่ม 6)  เป็นต้น อัตราตามคำแนะนำในฉลากสารเคมี และต้องสลับกลุ่มสารเคมีทุก 30 วัน (1 รอบวงจรชีวิต) เพื่อป้องกันไม่ให้หนอนดื้อสารเคมี ในการพ่นสารเคมี ให้เน้นการพ่นละอองสารเคมีลงกรวยยอดมากที่สุด ซึ่งจะเกิดประสิทธิภาพในการทำลายหนอนมากสุด ส่วนในฤดูกาลปลูกต่อไปขอแนะนำให้เกษตรกรกรไถพรวนและตากดินเพื่อกำจัดดักแด้ที่อยู่ในดิน ทั้งนี้ ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีไซแอนทรานิลิโพรล 20% เอสซี (กลุ่ม 28) อัตราตามคำแนะนำในฉลากสารเคมี หรือหากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวก.หนุนงานวิจัย “ไข่ผำ”...ขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย      ขานรับนโยบาย รัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาค...